จากข่าว “เจอน้ำทะเลอ่าวพร้าว สารปรอทเกิน 29 เท่า” http://m.dailynews.co.th/politics/225846 เข้าใจหลักการพาดหัวข่าวนะ ตามหลัก “ข่าวร้ายขายฟรี ข่าวดีเสียตังค์” สำหรับใครที่อ่านเฉพาะพาดหัวข่าว ก็อาจจะคิดว่าสถานการณ์อ่าวพร้าวมันคงจะเลวร้ายเสียเต็มที ลองอ่านตามที่ขีดเส้นใต้และไฮไลต์ไว้ สีเขียวคือข่าวดี สีแดงคือข่าวร้าย เส้นใต้คือข้อเท็จจริงที่อยากเน้นให้เข้าใจ ถ้าจะขออนุญาตพาดหัวข่าวเสียใหม่โดยไม่เน้นความหวือหวาเข้าว่าและรู้ทัน ปตท น่าจะได้ดังนี้ “น้ำทะเลรอบเกาะเสม็ดเกือบทั้งหมดปลอดภัยจากสารโลหะหนักต่างๆ ยกเว้นที่อ่าวพร้าวพบมีสารปรอทเกินค่ามาตรฐาน 29 เท่า” ตามเนื้อหาข่าวในภาพที่ 2 สรุปสาระสำคัญได้ว่า 1. นอกจากตรวจพารามิเตอร์ดังกล่าวในภาพแล้วก็ยังมีการตรวจ PAHs ก็พบว่าไม่เกินมาตรฐาน ตรวจ TPH อันนี้ผลน่าจะออกวันนี้ (15 ส.ค.) 2. แต่ผลที่ออกมานี้ไม่ใช่ผล ณ เวลาปัจจุบัน มันเป็นการเก็บตัวอย่างตั้งแต่วันที่ 3-4 ส.ค. ถ้าเอาตัวเลขปัจจุบันก็น่าจะลดลงไปมากอยู่ (แต่ก็ไม่รู้เท่าไร) ก็แนะนำว่าถ้าเลี่ยงได้ก็อย่าไปเล่นน้ำทะเลที่อ่าวพร้าวและอ่าวทับทิมจนกว่าจะทราบผลของการเก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 8 สคที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าน่าจะทราบในวันที่ 15 สค นี้ 3. อ่าวทับทิมที่มีค่าปรอทเกินมาตรฐานนั้นไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบ แต่เกิดจากการทิ้งน้ำเสีย 4. การเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณ 3 ล้านบาทแล้ว ก็ไม่ต้องห่วงจะตามเก็บจาก PTTGC ให้ครบ ประเด็นที่อยากจะสื่อก็คือดูเหมือนจะมีคนเป็นห่วงนักการเมืองสองคนคือคุณปลอดประสพกับคุณชูวิทย์เหลือเกิน […]
ปตท. กับคำว่าเหลี่ยมทุน ทุนสามานย์ เป็นประโยคที่คุ้นตา คุ้นหูมากในยุคหลังจากการปล้นชาติ แปรรูป ปตท. ถึงอย่างนั้นแล้ว ยังไงอยากรบกวนอ่านกระทู้นี้ให้จบ และ ให้มองโดยอย่าเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล อยากให้คุณผู้อ่าน “เปิดใจ” ไม่ใช่ “ปักใจ” เชื่อแต่ข้อมูลในทางลบ จากอดีต…การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งเมื่อเดือนธันวาคม 2521 เพื่อเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ โดยเป็นการรวมกันขององค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำมันทั่วโลก และเมื่อเกิดวิกฤตอีกครั้งในปี 2533 อิรักบุกยึดคูเวต เกิดการกักตุนน้ำมันทำให้ขาดแคลน รัฐบาลตอนนั้นตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากมาก ประเทศไทยขาดแคลนพลังงานและแหล่งในการจัดการ ทำให้ต้องมีการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในกิจการน้ำมันมากขึ้น จนทำให้เกิดผู้ค้าน้ำมันรายใหม่หลายราย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยต้องทำหน้าที่เป็น “ผู้คานอำนาจ” พร้อมกับมีความจำเป็นต้องพลิกบทบาทของตนเองไปกับการแข่งขันในเชิงธุรกิจไปด้วย ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นของการพัฒนารัฐวิสาหกิจที่ต้องสร้างบรรยากาศในการแข่งขัน และเป็นจุดเริ่มต้นที่เสริมสร้างศักยภาพให้กับ ปตท. มาตั้งแต่เวลานั้น ซึ่งแตกต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่มักจะเป็นการผูกขาด ปตท.ต้องอยู่ท่ามกลางการโอบล้อมของบริษัทน้ำมันต่างชาติที่ยึดครองประเทศอยู่ ทั้งที่ตนเองมีขนาดเล็กจิ๋วมีทรัพย์สินเพียง 400 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการปรับบทบาทเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แล้วกระบวนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก็ถูกจุดชนวนขึ้น ณ ตรงนั้น การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้ ปตท. และบริษัทในเครือต้องเร่งปรับโครงสร้างขนานใหญ่ ต้องขวนขวายหาเงินไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ในภาวะเงินหน้าตักมีข้อจำกัด ซึ่งเป็นการเดิมพันที่สำคัญต่ออนาคตความมั่นคงทางพลังงานของชาติที่มีบรรษัทน้ำมันข้ามชาติที่อยู่ในสภาพได้เปรียบพร้อมยึดธุรกิจนี้ของประเทศเรา จากวิกฤตครั้งนั้น การลอยตัวค่าเงินบาททำให้หนี้สินต่อทุนของบริษัทพุ่งเป็น 5 ต่อ 1 ทำให้ยากที่จะกู้เงินเพิ่มและภาระดอกเบี้ยที่ต้องชำระเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ปตท.ต้องเลือกวิธีการที่ยืนบนลำแข้งของตนเองด้วยการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ระดมทุนจากทั้งในและต่างประเทศ กู้สถานการณ์เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานระยะยาว หรือขอเงินงบประมาณสนับสนุน กู้เงินให้รัฐค้ำประกัน […]