ถ้ามีคนตั้งคำถาม ว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นบริษัทที่จำเป็นต้องสร้างกำไรใช่หรือไม่ เราคงได้แต่ยอมรับในความเป็นจริง เพราะมันปฎิเสธไม่ได้เลยว่า “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ยิ่งเป็นธุรกิจที่มีการระดมเงินทุนจากมหาชน ซึ่งความขาดหวังในผลตอบแทนยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่หากจะถามว่าการที่เป็นบริษัทมหาชน ความคาดหวังในผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นค่อนข้างสูง จำเป็นหรือไม่ที่บริษัทที่จะต้องทำทุกวิธีทางเพื่อสร้างกำไรอย่างมหาศาล อันนี้ก็คงตอบได้อย่างชัดเจนว่า “ไม่” ตัวเลขกำไรสุทธิ 6.61% (ปี 2017) , 5.05% (ปี2018) และ 4.84% ในปีปัจจุบัน ตอบคำถามในตัวของมันได้ดียู่แล้วว่ากำไรของบริษัทนั้นมากมายมหาศาล แบบที่ใครๆ หลายคนชอบตั้งคำถามกับ ปตท. ว่า ปตท. กำลังทำเพื่อ … ด้วยตัวเลขกำไรนี้แปลว่า ทุกการลงทุน 100 บาท ปตท. จะได้รีเทิร์นเป็นกำไรกลับมาประมาณ 5 บาท กว่าๆ มันดูเป็นตัวเลขมหาศาลจริงหรือ? เราอาจต้องเปิดใจและยอมรับความจริง ว่า ปตท. คือบริษัทที่มีสวมหน้ากากสองใบ อยู่ในองค์กรเดียวกัน ในหน้าหนึ่ง ปตท. คือบริษัทที่มีรัฐถือหุ้นใหญ่ และมีส่วนในการควบคุมดูแล ผ่านการที่รัฐส่งคนของรัฐเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในผู้บริหาร ปตท. ในหน้าส่วนนี้ ปตท. […]
เรื่องคลิปที่มีการแชร์กันเยอะแยะในช่วงราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ในคลิปมีการหยิบเอาการสนทนาเรื่องการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป และได้มีการตีความกันไปต่างๆ นานา จึงนำมาขยายข้อมูลอีกด้าน ตามหลักการทำธุรกิจไม่ว่าธุรกิจใดๆก็ตาม ถ้ากำลังการผลิตสูงกว่าความต้องการ ผู้ผลิตมีทางเลือกอยู่สองทาง คือ 1.1 ลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ซึ่งแน่นอนจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงขึ้น และถ้าผลักภาระให้ผู้บริโภคได้ ก็ผลักภาระไป ผู้บริโภคก็ต้องซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้น 1.2 ผลิตให้เต็มกำลังการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง ผู้บริโภคก็จะได้ใช้สินค้าในราคาที่ถูกลง ส่วนสินค้าส่วนเกินความต้องการในประเทศ ก็ไปหาตลาดในต่างประเทศ (ซึ่งจะมีทั้งราคาที่สูงและต่ำกว่าราคาในประเทศ) ดังนั้นราคาส่งออกจึงมีทั้งสูงและต่ำกว่าราคาในประเทศ (ไม่ใช่ต่ำกว่าทั้งหมด) ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากขายหรือไม่ 2. นี่คือเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจที่ต้องสนองความต้องการของตลาดหลักก่อน แล้วส่วนเกินจึงเลือกว่าจะผลิตหรือไม่ ถ้าต้องการ economy of scale ก็ต้องผลิตเต็มที่ แล้วไปหาตลาดเพิ่ม ซึ่งอาจต้องใช้ราคาเป็นตัวบุกเบิกตลาด ถ้าจะมากำหนดว่าถ้าไปขายต่างประเทศราคาถูก ก็จะต้องลดราคาในประเทศให้เท่ากัน ผู้ผลิตก็มีทางเลือกที่จะลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ไม่ต้องเหนื่อยยากไปบุกเบิกตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ และผลักภาาะต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับผู้บริโภคไป 3. วิธีการอย่างนี้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตได้มากกว่าความต้องการเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ ข้าว น้ำตาล ปูนซีเมนต์ ผลผลิตส่วนเกินความต้องการล้วนแต่ต้องส่งออกทั้งสิ้น และบางครั้งก็ต้องส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายในประเทศ อย่างเช่น ข้าว เป็นต้น 4. ราคาน้ำมันที่โรงกลั่นขายก็มาหลายราคา 4.1 ราคาตามสัญญา […]
เห็นมีคนแชร์มาจากทาง LINE เต็มไปหมด โดยเนื้อหาคร่าวๆ โทษนั่น โทษนี่ โดยไม่มองบริบท เรื่องพลังงาน หรือ เนื้อหาสาระว่าแท้จริงเป็นอย่างไร ก็คงต้องเอามาแก้กันไปว่ามั่วขนาดไหน ขอตัดตอนมาในส่วนเรื่องพลังงานเท่านั้น จากดร.อาทิตย์. อุไรรัตน์ ฟังแล้วอย่าเชื่อร้อยเปอร์เซนต์ เอาไปช่วยกันคิด วิจารณ์ วิจัยวิเคราะห์ เจาะลึก ให้ความจริงประจักษ์ เมื่อประจักษ์แล้ว. อย่าเมินเฉย. ชวยกันแก้วิบัติของชาตื ” 5 ปีแห่งความทุกข์ระทมของประชาชน 5 ปีแห่งความหายนะของชาติบ้านเมือง บอกได้คำเดียวว่า หนักกว่านักการเมืองอาชีพ ชาตินี้คงจะหาผู้นำที่สร้างความบรรลัยให้ชาติบ้านเมืองมากเท่าลุงคนนี้ไม่มีอีกแล้ว โดยเฉพาะการเอื้อประโยชน์ให้เจ้าสัว/นายทุน น่าเกลียดจริงๆ “มาลองอ่านกันว่า การตั้งคำถามมีคำตอบคำตอบที่ตอบวนกันมา 5ปี“ > เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินสกปรกหลายจังหวัดเอื้อประโยชน์นายทุนเหมืองถ่านหิน ทั้งที่ทั่วโลกทยอยยกเลิก เพราะมันสกปรกมีมลพิษอันตราย คนที่โพสต์คงไม่ทราบว่า ทั่วทั้งโลกปิดบางส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินหมดอายุ และ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วยซ้ำ คนโพสต์ทราบหรือไม่ > ยัดเยียดการขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด จ.ขอนแก่น เอื้อนายทุนบริษัทน้ำมัน มีชาวบ้านคัดค้าน ก็ส่งฝ่ายปกครองไปข่มขู่ให้ยินยอม การขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด ผู้รับสัมปทานจะต้องปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายปิโตรเลียมทุกขั้นตอน […]
มีข้อมูลที่บิดเบือนอยู่มากมายในโลกโซเชียล ที่นำพาไปสู้ความเข้าใจผิด โดยเฉพาะกับ บริษัทที่ถูกโยงไปเป็นประเด็นทางการเมือง อย่าง ปตท. เกิดเป็นคำถาม “ปตท. ทำเพื่อใคร?” ทั้งเรื่องการตั้งบริษัทบนเกาะเคย์แมน การแปรรูป รวมถึงเรื่องราคาพลังงาน เรื่องราวเหล่านี้ถูกพูดถึงบ่อย และหลายคนก็พยายามตั้งคำถาม โดยไม่สนใจว่าคำตอบของคำถามเหล่านี้ ก็มีข้อมูล มีการออกมาตอบอยู่เรื่อยๆ โดยไม่มีการพยายามปิดบังอะไร ซึ่งจะขอแยกอธิบายออกเป็นข้อๆ ดังนี้ ไม่มีบัญชีลับอะไรใด เพราะ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องแสดงทรัพย์สิน รวมถึงรายรับรายจ่าย มีกรรมการ มีผู้ตรวจสอบจากภายนอกด้วย แถมยังมี สตง. รับรองบัญชีอีก ปัจจุบัน คุณไพรินทร์ หมดวาระเป็นประธาน ปตท. ไปแล้ว เกาะเคย์แมนไม่ได้เป็นเกาะฟอกเงินอย่างในหนัง เป็นการเปิดเพื่อกระจายความเสี่ยง ปัจจุบันมีกฎหมายรองรับ มีการตรวจสอบ มีการรายงานลงในบัญชี สามารถตรวจสอบได้ใน 56-1 การลงโฆษณาในสื่อ เป็นหลักของการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าสินค้าใดๆ ก็มีการประชาสัมพันธ์ การแปรรูป ปตท. เริ่มสมัยคุณชวน เมื่อประมาณ ปี 42 โดยหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ซื้อขายวันแรก […]