พอดีไปอ่านเจอบทความนึงน่าสนใจมากเพราะเขาได้พูดถึงเรื่องของการผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของ ปตท จากที่หลายๆ คนต่างตั้งข้อสังสัยเปี่ยวกับ ปตท หลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการกำหนดราคา ทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันสิงคโปร์ทั้งๆ ที่บ้านเราก็มีโรงกลั่น แล้วทำไมราคาน้ำมันบ้านเราถึงแพง แล้วอยากจะถามว่าเราทราบข้อมูลกันดีแค่ไหนว่า ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เราก็เพียงแค่อ่านข้อมูลจากสื่อต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ทราบถึงข้อมูลที่เท็จจริงกันสักเท่าไหร่ เพียงแต่เห็นเขาด่า ปตท กันเราก็เอามั้งแต่เราไม่เคยรู้ถึงข้อมูลที่มาอ้างอิงได้เลย บ้างก็ว่าปตท ปล้นประชาชน ปตท ทรราชน้ำมัน ปตท โก่งราคาน้ำมัน ไม่ใช่ว่าเราจะให้คุณมารัก ปตท แต่อย่างใด แต่เราแค่อยากให้คุณใช้เหตุและผลมาคุยกันอ้างอิงกันเพื่อทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น ไม่ใช่ว่าจะนำทุกอย่างมาเหมารวมกันไปซะหมดคิดเองเออเองตามกระแส งั้นเรามาดูเนื้อหาและข้อมูลที่เขาได้เขียนให้เราได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น จากหัวข้อที่ว่า ไม่เติม ปตท ไม่ว่ากันครับ แต่มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนดีไหม? จากที่ได้อ่านเนื้อหาจึงได้นำข้อมูลบางส่วนมาแบ่งปันกันเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม ก่อนอื่นเราจะต้องแยกความแตกต่างให้ได้ก่อนระหว่าง ธุรกิจโรงกลั่น กับ ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน สองรายนี้ถึงจะชื่อเดียวกัน แต่ถ้าว่ากันในทางบัญชีต้องดูแยกกันเป็นคนละส่วนครับ ลองดูในโครงสร้างราคาน้ำมันนะครับ http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html จากตารางผมไฮไลต์สีเขียวไว้นั้นเขาเรียกว่า “ราคาหน้าโรงกลั่น” ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจโรงกลั่นครับ จากตารางผมไฮไลต์สีฟ้าไว้นั้นเขาเรียกว่า “ค่าการตลาด” ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมันครับ ต่อมาว่ากันที่ธุรกิจโรงกลั่นอย่างที่บอกรายได้ของเขามาจากการขายราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น ถามว่าขายให้ใครก็ขายให้ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน ว่าง่ายๆก็คือขายให้ปั๊มต่างๆนั่นล่ะ ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบของธุรกิจโรงกลั่นนี้ก็คือน้ำมันดิบที่นำมากลั่นนั่นเอง ธุรกิจโรงกลั่นในบ้านเรานั่นมีอยู่ด้วยกัน 6 […]
ราคาน้ำมันที่ฉาวโฉ่ในโลกไซเบอร์อาจทำให้หลายคนปักใจเชื่อว่าเป็นราคาน้ำมันจริงๆ แต่แท้จริงแล้ว ปากต่อปาก การพูดหรือเล่าความจริงนานๆไปก็เริ่มเซ็ง จึงมีผู้ไม่ประสงค์ดีบางจำพวกบิดเบือนราคาน้ำมันที่แท้จริง อย่างนี้ควรจะเชื่อใครล่ะ? สรุปว่าปตท โก่งราคาน้ำมันหรือเป็นแค่ข่าวโดนบิดเบือน? หยิบโครงสร้างราคาน้ำมันที่แท้จริงมากฝากจากกระทู้ http://pantip.com/topic/30361151 ดูจากรูปแฉโครงสร้างราคาน้ำมันของปตท นี่มันทั้งมั่ว ทั้งบิดเบือน จนเข้าขั้นโกหกคำโตไปแล้ว โดยจะขอแฉความมั่วดังนี้ 1. ราคาขายปลีกวันที่ 28 ธ.ค. อยู่ที่ 48.60 บาทครับ ไม่ใช่ 48.85 อ้างอิงจาก http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่าสามข้อที่จะบอกต่อไป 2. รูปนี้จงใจเอาเบนซิน 95 มาแสดง เพราะน้ำมันชนิดนี้มีค่าการตลาดมาก เพราะคนไม่ค่อยเติม และรัฐอยากให้ใช้แก๊สโซฮอลมากกว่า ค่าการตลาดอยู่ที่ 4.53 แต่น้ำมันแก๊สโซฮอลที่คนใช้มากกว่านั้นค่าการตลาดอยู่แค่ 1.17-1.73 เท่านั้น กล่าวได้ว่ารูปนี้จงใจเอาน้ำมันที่ค่าการตลาดแพงมาทำให้คนเข้าใจตัวเลขสูงเกินจริง 3. ในภาพเอาราคาน้ำมันดิบ 110 $ มาตีเป็นต้นทุนน้ำมันดิบ แล้วหักลบรายการอื่นๆเหลือเท่าไหร่พี่แกเอาไปโยนใส่ให้เป็นค่าการกลั่นหมดเลย (8.47-4.53=3.94) ซึ่งคิดแบบนี้ไม่ได้ เพราะน้ำมันดิบไม่ใช่ว่าจะกลั่นออกมาร้อยทั้งร้อยเป็นเบนซินหรือดีเซลหมด จึงไม่สามารถเอาต้นทุนน้ำมันดิบมาสะท้อนค่าการกลั่นแบบนี้ได้ จะทำให้ตัวเลขสูงเกินจริง ลองค้นตัวเลขค่าการกลั่น (GRM) ของ บ.ไทยออยล์ พบว่า GRM ของผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซิน Q4/55 […]
ปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พล ท. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าอินโดนีเซียอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศมากเกินไป จนกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจของประเทศ โดยปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค เพราะไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย จากการขยายตัวของพลเมืองที่สูงเป็นอันดับสี่ของโลก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ตลอดจนนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานอย่างยาวนาน จนทำให้ราคาพลังงานต่ำจนเกินไป เกิดการบริโภคพลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และไม่มีประสิทธิภาพ ข้อสำคัญราคาพลังงานที่ต่ำจนเกินไป ทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียเสพย์ติดพลังงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะลดการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน ก็จะเกิดแรงต้านจากภาคประชาชน จนกระทั่งเกิดการจลาจล กลายเป็นปัญหาทางการเมือง จนบางครั้งถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเช่นในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นต้น แม้แต่ในสมัยของรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยเจอกับปัญหาการก่อจลาจลจากการขึ้นราคาน้ำมัน(ลดการอุดหนุนราคา)มาแล้ว จนต้องลดราคาลงมาหลังจากขึ้นไปได้ไม่นาน จึงยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าเที่ยวนี้รัฐบาลจะทำไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เรื่องการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากในทุกประเทศ และดูจะเห็นตรงกันว่า ถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานเหลือเฟือ ชนิดที่ว่าใช้กันไปอีกร้อยปีก็ยังไม่หมด และเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ (ส่งออกมากกว่านำเข้า) […]
ข่าวต่างๆนานาที่ออกสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่พาดพิงถึงเรื่องปตทขูดรีดคนไทยนั้น มีกระแสข่าวที่ค่อนข้างรุนแรงและเป็นแง่ลบของ ปตท เสียส่วนมาก ทั้งในเรื่องปตท โก่งราคาน้ำมัน บางคนกล่าวไว้ว่า ปตท คือ ปล้นตลอดทางด้วยซ้ำ และผู้คนส่วนมากเลือกที่จะเสพข่าวในแง่ลบมากกว่า การนำบทความของ ปตท มาบอกกล่าวในวันนี้ ไม่ได้อยากจะสวนกระแสหรืออะไร แค่อยากให้ลองเปิดใจ ทำใจเป็นกลางและลองอ่านดู ว่าจริงๆแล้ว ปตทขูดรีดคนไทยจริงๆหรือเปล่า จริงอยู่ที่ก๊าซฯ ธรรมชาติที่ใช้ในโรงแยกก๊าซฯ นั้นได้มาจากอ่าวไทย แต่ก็ต้องยอมรับกันด้วยว่าคงจะไม่มีใครตัดสินใจสร้างโรงแยกก๊าซฯ หากรู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นจะถูกควบคุมราคาขาย ให้ต่ำกว่าต้นทุน เพราะจากศึกษาของกระทรวงพลังงานที่ได้ให้บริษัท Deloitte ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำมาศึกษาต้นทุนของ LPG พบว่าประมาณการต้นทุนราคา LPG ปี 2553 อยู่ที่ 450 เหรียญ/ตัน ในขณะที่รัฐบาลควบคุมราคาจำหน่ายหน้าโรงแยกก๊าซฯ ให้อยู่ที่ 333 เหรียญฯ/ตัน มาเป็นเวลานาน ทำให้ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ LPG ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ไม่ว่าผลิตจากโรงกลั่นหรือจากโรงแยกก๊าซฯ โดยผู้ผลิตต้องเป็นผู้แบกรับภาระดังกล่าว ต่างกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นกิจการที่มีการแข่งขันอย่างเสรี ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเจรจาต่อรอง และกำหนดราคาซื้อขายวัตถุดิบ LPG ระหว่างกันได้โดยไม่มีการควบคุม อุดหนุนหรือแทรกแซงราคาจากภาครัฐ […]
ประเทศไทย น้ำมันแพงที่สุดในโลก ปตท โก่งราคาน้ำมัน ปตท กลโกลแปดขั้น และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่เราถกเถียงกันว่าทำไมต้องอ้างอิงราคา น้ำมันตลาดฯสิงคโปร์ด้วย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจคำว่าตลาดกลางคืออะไรครับ ทำไมต้องมีตลาดซื้อขายสินค้ากลางหรือต้องอ้างอิงราคาซื้อขายจากตลาดกลาง สินค้า อุปโภคบริโภค หรือ Commodities นั้น จะมีการแข่งขันสูง และความต้องการสูง เพราะเป็นสินค้าที่คนเราจำเป็นต้องกินต้องใช้กัน หรือเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายกันเป็นประจำ เช่น น้ำมัน สินค้าการเกษตร ข้าว อาหาร ผลไม้ ทองคำ แร่ หรือแม้แต่ หุ้น ก็ต้องมีตลาดกลางในการรองรับการซื้อขาย ราคาที่มาจากตลาดกลางนี้ จะเป็นราคาอ้างอิง หรือบรรทัดฐานในการซื้อขายสินค้าชนิดเดียวกันในภูมิภาคเดียวกันโดยปริยาย ตัวอย่างที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ ผมสมมติว่าทุกกรณีไม่มีค่าเดินทางและค่าขนส่งครับ ตัวอย่างที่ 1: หุ้น ผม ถือใบหุ้นบริษัท A อยู่แล้วมีนาย ก. ต้องการซื้อใบหุ้นนี้ต่อจากผม ผมต้องคิดราคาหุ้นตัวนี้เท่าไร? ผมแน่ใจว่าทุกคนมีคำตอบอยู่แล้ว ราคาที่ที่ทั้งผมและนาย ก. จะตกลงซื้อขายกันได้ ก็ต้องเป็นราคาที่อ้างอิงมาจาก “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ที่เป็นตลาดการซื้อขายกลางที่มีนักลงทุนเข้ามาซื้อขายเป็นจำนวนมากเป็นการ สะท้อนถึงราคาหุ้นที่แท้จริงตามปัจจัยการลงทุน ณ ปัจจุบันนั่นเอง […]
• เวลาเราพูดถึงน้ำมันเราต้องเข้าใจก่อนว่าน้ำมันแบ่งออกเป็นน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป • ดังนั้นการส่งออกน้ำมันก็มาจาก 2 ส่วนเช่นกัน คือ การส่งออกในรูปของน้ำมันดิบ : ส่วนที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะกับโรงกลั่นไทย การส่งออกในรูปน้ำมันสำเร็จรูป : ส่วนที่ผลิตได้เกินกว่าความต้องการใช้ในประเทศแต่ต้องไม่ลืมว่าน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นวัตถุดิบคือน้ำมันดิบที่มาจากการนำเข้า เพราะประเทศไทยเราผลิตได้ไม่พอกับความต้องการใช้ โดยในปี 2554 เราต้องนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 977,374 ล้านบาท • แต่ข้าวเป็นผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกภายในประเทศ ซึ่งต่างจากน้ำมันดิบ • ดังนั้นการเปรียบเทียบไม่ว่าจะเปรียบเทียบ “อะไร” ก็ควรจะเทียบจากฐานเดียวกัน เช่น จะเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกข้าวกับการมูลค่าส่งออกน้ำมัน ก็ควรจะเทียบจากสิ่งที่เราผลิตได้ภายในประเทศเหมือนกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า น้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการส่งออกข้าว และข้าวก็ยังคงเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย โดยข้อมูลจาก สนพ. ในปี 2554 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกพลังงาน 3 แสนล้านบาท แต่ต้องนำเข้าถึง 1.2 ล้านล้านบาท ขาดดุลถึง 9 แสนล้านบาท แต่มูลค่าการส่งออกข้าว 2 แสนล้านบาท ได้มาจากความสามารถในการผลิตข้าวมากกว่าความต้องการใช้เพื่อบริโภคในประเทศ จึงมีเหลือส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศ • และเช่นเดียวกัน การจะเปรียบเทียบมูลค่าส่งออกน้ำมันของไทยกับเอกวาดอร์ ก็ต้องเปรียบเทียบจากฐานเดียวกัน จะไม่ว่าเลยถ้าจะเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออก […]
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง เป็นเพราะ ปตท. โก่งราคาน้ำมันรึเปล่า? ก็ในเมื่อประเทศไทยก็เป็นเจ้าของบ่อน้ำมันตั้งหลายบ่อ รายได้เข้าประเทศก็ดี เราก็น่าจะเติมน้ำมัน “ถูก” สิ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง แล้วทำไมประเทศไทยยังต้องนำเข้าน้ำมันดิบ? คำตอบคือก็เพราะว่าน้ำมันดิบที่เราผลิตได้ในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น่ะสิ ประเทศไทยผลิตน้ำมันดิบได้เพียง 140,000 บาร์เรล/วัน หรือ 23 ล้านลิตร/วัน แต่เรามีความต้องการใช้ถึง 900,000 บาร์เรล/วัน หรือ 143 ล้านลิตร/วัน นั่นแสดงว่าเรามีความจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 800,000 บาร์เรล/วัน หรือ 127 ล้านลิตรต่อวัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ อย่างนี้แล้วจะให้เราใช้น้ำมันถูกได้อย่างไร ในเมื่อเรายังต้องนำเข้าน้ำมันดิบ น้ำมันดิบที่ประเทศไทยนำเข้ากว่า 80% มาจากตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดของโลก ดังนั้น ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ก็เพราะราคาที่ใช้ในการ ซื้อ-ขาย เป็นราคาที่ถูกกำหนดโดยกลไกในตลาด นั่นคือ อุปสงค์และอุปทานของทั้งโลกนั่นเอง โรงกลั่นซื้อน้ำมันดิบมาในราคาตลาดโลก เวลาขายก็ใช้ราคาตลาดโลกเช่นกัน โดยตลาดกลางซื้อขายน้ำมันที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด และเป็นศูนย์กลางการซื้อขายในภูมิภาคเอเชียก็คือตลาดสิงคโปร์ โดยราคาที่ซื้อขายกันในตลาดสิงคโปร์สะท้อนมาจากอุปสงค์-อุปทานของผู้บริโภค – ไม่ใช่ ราคา ณ โรงกลั่นสิงคโปร์ […]
ยังคงมีอีกหลายๆคงที่ยังตั้งข้อสงสัยว่าทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้านถูกกว่าบ้านเรา เพราะเนื่องจากมาเลเซียขายเชื้อเพลิงถูกกว่าเรา แต่ก็ไม่มีใครไปหาเหตุผลมาบอกได้ว่ามาเลเซียเขาทำอย่างไร มีแต่คนที่ไม่หวังดีต่อประเทศเอาข้อเท็จจริงอันนี้มาโจมตีบริษัท บางบริษัทว่าเอาเปรียบประชาชน และรัฐบาลว่าเก็บภาษีขูดเลือดขูดเนื้อคนไทยราคาเชื้อเพลิงจึงแพงโดยไม่ดูสาเหตุอื่นประกอบเลย ดูแต่เรื่องราคา (อีกแล้ว) จะพาไปดูกันนะว่ามาเลเซียเขาเป็นอย่างไร และทำอะไรถึงทำให้ราคาเชื้อเพลิงถูกและสุดท้ายผู้อ่านก็ตัดสินกันเองละกันว่าอยากให้เมืองไทยเป็นแบบนั้นหรือไม่ หากคุณลองหาข้อมูลจากเวบไซต์ของปิโตรนาสแล้วศึกษาเองจะพบความเป็นจริงดังต่อไปนี้ 1. ปิโตรนาส ซึ่งเป็นของรัฐบาลมาเลเซีย กำไรมากกว่า ปตท อยู่อันดับสูงกว่าในเวทีโลกด้วยซ้ำ 2. งงไหมว่าทำไมเขาขายในประเทศถูก แต่รวยกว่าปตท??? เพราะปิโตรนาสเขาขุดก๊าซ/น้ำมันดิบขึ้นมา แล้วส่งออกน่ะสิ ส่งไปแถบ ญี่ปุ่น เกาหลี และอื่นๆ ขายได้แพงกว่าตั้ง 3-4 เท่าของราคาก๊าซในประเทศไทยนะ 3. อาจมีคนเถียงว่า ได้ยินว่าประเทศไทยเราก็ส่งออกหนิ น่าจะรวย… อย่าลืมว่าไทยเรานำเข้าน้ำมันดิบกว่า80% มากลั่นในประเทศแล้วได้น้ำมันสำเร็จรูป ถ้าเหลือเกินความต้องการในประเทศจึงส่งออก ไทยจึงได้แค่ค่าการกลั่น และปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นจิ๊บจ้อยมาก แต่ที่มาเลเขาส่งออกนั้น ไม่ได้เป็นกำไรจากค่าการกลั่น มันเป็นกำไรจากธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต ซึ่งรุ้ๆ กันว่า ธุรกิจนี้ High risk High Return (ใครยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต กับธุรกิจโรงกลั่น […]