ประเทศไทย คือประเทศที่เขาว่ากันว่าน้ำมันแพ๊งแพง แพงกว่าเขาไปทั่วหล้า แพงกว่าพม่ารามัญ แพงกว่าดินแดนแถบมะละกาที่ชื่อมาเลเซีย แต่ไม่ได้แพงกว่าประเทศติดกันอย่างลาว (ไม่นานมานี้เพิ่งได้ดูยูทูปคนลาวบ่นราคาน้ำมันบ้านตัวเองโดยเทียบกับน้ำมันไทย) ถามว่าราคาน้ำมันแพงกว่าชาวบ้าน เรียกได้ว่าปล้นคนไทย ปล้นประเทศไทยจริงไหม? …มันจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ในเมื่อประเทศไทยอ้างอิงราคาจากตลาด (ทั้งนี้ภาษีน้ำมัน ราคาน้ำมันจะมีแตกต่างกันบ้างเนื่องจากคุณภาพน้ำมันที่ไม่เท่ากัน) โครงสร้างราคาน้ำมัน คือคำตอบว่าทำไมราคาน้ำมันที่อ้างอิงจากแหล่งราคาที่เดียวกัน ถึงมีราคาแตกต่างกัน โดยโครงสร้างราคา ประกอบด้วย ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษีน้ำมัน กองทุน และค่าการตลาด ซึ่งในส่วนของราคาหน้าโรงกลั่นคือราคาที่อ้างอิงมาจากตลาด ค่าการตลาดคือกำไรที่แบ่งกันระหว่างเจ้าของแบรนด์กับเจ้าของปั๊ม (ตัวเลขค่าการตลาดนี้สถาบันปิโตรเลียมได้คำนวณตัวเลขที่เหมาะสมประมาณ 1.7-2.0 บาท (ถือว่าน้อยมาก)) ดังนั้นหลักๆ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างของราคาน่าจะอยู่ที่ ภาษีต่างๆ และกองทุนน้ำมัน โดยกองทุนน้ำมัน เป็นสิ่งที่เราพูดกันบ่อย เหตุผลหลักที่ต้องมีเหมือนการทำประกันราคา ยามราคาน้ำมันผันผวน (ส่วนนี้จะขอข้ามไปเนื่องจากมีการอธิบายแล้วในบทความก่อนๆ) จึงเหลืออีกหนึ่งเหตุผลที่จะพูดกันคือเรื่องของภาษีน้ำมัน ประเทศไทย จัดให้น้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงทำให้ประชาชนบางกลุ่มเกิดคำถามว่า ในเมื่อน้ำมันเป็นสินค้าจำเป็น ที่เกือบทุกคนต้องใช้ ทำไมจึงจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีการเก็บภาษีน้ำมันในราคาแพง เรื่องนี้ประชาชนต้องทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่ว่าสินค้าไหนมีการใช้เยอะหรือมีความจำเป็น แล้วจะต้องเป็นสินค้าที่มีภาษีต่ำ รัฐบาลจำเป็นต้องดูเหตุผลอื่นๆ ในการประกอบ เหตุผลที่รัฐบาลจำเป็นต้องเก็บภาษีน้ำมันแพง น้ำมันเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้า ยิ่งนำเข้ามากเท่าไหร่ การเสียดุลทางการค้ายิ่งมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเก็บภาษีน้ำมันราคาสูงเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและช่วยกันประหยัดทรัพยากร […]
ค่าการตลาดน้ำมันสูง ก่อนที่จะเริ่มพูดคุยถึง “ค่าการตลาดน้ำมัน” เราควรทราบถึงว่าน้ำมัน 1 ลิตร เราต้องจ่ายค่าอะไรบ้างได้แก่ ต้นทุนสินค้า (ราคาหน้าโรงกลั่น), ภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ, กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง, กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน, และ ค่าการตลาด ( Marketing Margin ) Share This:
ถังบรรจุก๊าซ NGV ถือเป็นเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เพราะต้องเป็นตัวบรรจุก๊าซซึ่งมีความดันสูงถึง 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ปัจจุบันมีการผลิตถังก๊าซ NGV อยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม ประเภทที่ 2 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน ประเภทที่ 3 ถังที่ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง ประเภทที่ 4 ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass) ชนิดแรกจะมีน้ำหนักมากที่สุดแต่ต้นทุนต่ำสุด ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่าแต่ต้นทุนค่อนข้างสูง โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนต้นทุนและน้ำหนักของถังก๊าซทั้ง 4 ประเภทดังตารางต่อไปนี้ สำหรับถังบรรจุก๊าซ NGV ที่ใช้อยู่ในเมืองไทยของเรา ส่วนใหญ่เป็นถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร (น้ำ) มีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78 กิโลกรัม หลายท่านอาจมีคำถามคาใจว่าติดตั้งถังก๊าซไว้ในรถยนต์แล้วจะปลอดภัยหรือเปล่า ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะถังก๊าซทุกใบแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ หล่อขึ้นโดยไม่มีรอยต่อเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งถัง […]