พอดีไปอ่านเจอบทความดีๆ ในกระทู้ของพันทิป “ทำไมมาเลเซียราคาน้ำมันถูกกว่าบ้านเรา?” เลยนำเอามาแบ่งปันให้เพื่อนได้อ่านและทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับราคาน้ำมันเพื่อนบ้านและราคาน้ำมันบ้านเรา ที่มีข้อโต้แย้งกันมาโดยตลอดและไม่สามรถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจน แต่ถึงอย่างไรการที่เราจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ เราก็ต้องมีข้อมูลที่แน่นพอเพื่อที่จะนำมาศึกษาข้อมูลที่แท้จริง ไม่ใช่ฟังข้อมูลจากคนอื่นแล้วคิดเองเออเองโดยที่ไม่ทราบข้อมูลอะไรเลย หวังว่าข้อมูลจากกระทู้นี้จะให้สาระที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่สนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง ทำไม…??? ปิโตรนาสมีกำไรมากกว่า ปตท.กว่า 4 เท่า แต่คนมาเลเซียจ่ายค่าน้ำมัน ถูกกว่าคนไทยเกินครึ่ง ตามภาพนี้มันง่ายที่จะเชื้อชวนให้เชื่อนะครับว่ามันมีการทุจริตหรือเอารัด เอาเปรียบคนไทยอย่างมโหฬารในเรื่องของพลังงานในบ้านเรา เพราะหากไม่คิดอะไรลึกซึ้ง เอาแค่ว่าประเทศมาเลเซียรั้วติดกันกับเราทำไมราคาน้ำมันถึงได้ต่างกันราวฟ้ากับเหวขนาดนี้ ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพงแถมบริษัทน้ำมันบ้านเขา -เปโตรนาส- ขายน้ำมันราคาถูกกว่าบริษัทน้ำมันบ้านเรา -ปตท- น่าแปลกใจว่าทำไมบริษัทน้ำมันบ้านเขาได้กำไรมากกว่าบริษัทน้ำมันบ้านเราร่วม 4 เท่าเลย ข้อแย้งที่ผมจะนำมาใช้ทั้งหมดในกระทู้นี้คงไม่อาจหักล้างความเชื่อของคนที่คิด (หรืออยากจะเชื่อ) สิ่งที่เจ้าของภาพอยากจะโน้มน้าวได้ทั้งหมด แต่ผมขอเอาข้อแย้งบางข้อ (ไม่ใช่เพื่อให้คุณเชื่อ หรือมาเพื่อถกเถียงกับผมเพื่อเอาชนะคะคานกัน เพราะคุณเถียงชนะผมไปก็ไม่ได้อะไร) เพียงเพื่อสะกิดหรือรั้งคุณให้คิดเอ็งให้เป็น ไม่ใช่เห็นอะไรก็เชื่อไปเสียทั้งหมด คุณลองดูข้อแย้งของผมเป็นแนวทางหรือไอเดีย หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของคุณไปขบคิดเอาเองครับว่าจะหาบทสรุปให้กับตัวเองในเรื่องนี้อย่างไร? ข้อแย้งของผม 1) ในภาพเอาราคาน้ำมันเบนซิน 95 ของไทย ซึ่งมีโครงสร้างราคา http://www.eppo.go.th/petro/price/pt-price-st-2013-12-04.xls ที่ถูกจัดเก็บภาษีและเงินกองทุนน้ำมันโดยรัฐบาล ไม่ใช่โดย ปตท ดังนั้นเงินส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับ ปตท สูงถึง 21.0215 บาท/ลิตร ซึ่งรายได้ที่เป็นของ ปตท […]
ประเด็นปตท น้ำมันแพงถือได้ว่าเป็นประเด็นที่แรงไม่ตกเลยทีเดียว จนทำให้เกิดหลายกลุ่มกล่าวหาว่าปตท ขูดรีด คนไทย ทำไมราคาน้ำมันบ้านเราแพงกว่าราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน ปตท. ถูกโจมตีอย่างหนัก โดยมีกลุ่มทวงคืน ปตท ได้นำภาพนี้ออกมาเผยแพร่ โดยประเด็นที่ต้องการแย้งก็ คือ ราคาขายปลีกน้ำมันนั้นจะมีโครงสร้างราคาเฉพาะของแต่ละประเทศ ทำให้ไม่สามารถเอาราคาขายปลีกมาเทียบกันทื่อๆ แบบนี้ได้ (และแน่นอนว่ามีพวกกะลาครอบหลายคนที่ “อ่านแต่ไม่ได้อ่าน” เข้ามาแถซ้ำซากเยอะแยะ) ทีนี้ผมก็เลยนึกสนุกขึ้นมาว่า เฮ้ย! ในภาพนั้นพูดถึงอเมริกา อเมริกานี่แม้จะผลิตน้ำมันได้มหาศาล แต่ก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเหมือนประเทศไทยเลยนะ งั้นลองเปรียบเทียบราคากันดูจริงๆ ดีไหม ว่าน้ำมันเราแพงเกินจริงๆ หรือเปล่า ปตท ขูดรีด คนไทยจริงมั้ย…. แรกสุดเราไม่อาจเอาราคาขายปลีกหน้าปั๊มมาเทียบกันได้ เพราะโครงสร้างภาษีและเงินเพิ่มอื่นๆไม่เท่ากัน ดังนั้นราคาที่ต้องเอามาใช้คือราคาน้ำมันสำเร็จหน้าโรงกลั่นที่ยังไม่ได้บวก เงินอื่นๆ เข้าไป ข้อมูลที่ผมจะใช้ก็คือ ราคาของน้ำมันเบนซิน 95 ซึ่งเป็นเกรดสูงสุดของไทย กับราคาน้ำมันเบนซิน Regular ซึ่งเป็นเกรดถูกสุดของอเมริกา (จริงๆ เค้ายังมี Mid-grade แล้วก็ Premium ซึ่งราคาสูงกว่าอีก แต่เนื่องจากหาโครงสร้างราคาได้แต่ของ Regular จึงขอ “ต่อให้” น้ำมันไทยสักเล็กน้อย) โดยจะใช้ราคาอ้างอิงวันที่ […]
ปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พล ท. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าอินโดนีเซียอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศมากเกินไป จนกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจของประเทศ โดยปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค เพราะไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย จากการขยายตัวของพลเมืองที่สูงเป็นอันดับสี่ของโลก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ตลอดจนนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานอย่างยาวนาน จนทำให้ราคาพลังงานต่ำจนเกินไป เกิดการบริโภคพลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และไม่มีประสิทธิภาพ ข้อสำคัญราคาพลังงานที่ต่ำจนเกินไป ทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียเสพย์ติดพลังงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะลดการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน ก็จะเกิดแรงต้านจากภาคประชาชน จนกระทั่งเกิดการจลาจล กลายเป็นปัญหาทางการเมือง จนบางครั้งถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเช่นในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นต้น แม้แต่ในสมัยของรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยเจอกับปัญหาการก่อจลาจลจากการขึ้นราคาน้ำมัน(ลดการอุดหนุนราคา)มาแล้ว จนต้องลดราคาลงมาหลังจากขึ้นไปได้ไม่นาน จึงยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าเที่ยวนี้รัฐบาลจะทำไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เรื่องการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากในทุกประเทศ และดูจะเห็นตรงกันว่า ถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานเหลือเฟือ ชนิดที่ว่าใช้กันไปอีกร้อยปีก็ยังไม่หมด และเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ (ส่งออกมากกว่านำเข้า) […]
ยังคงมีอีกหลายๆคงที่ยังตั้งข้อสงสัยว่าทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้านถูกกว่าบ้านเรา เพราะเนื่องจากมาเลเซียขายเชื้อเพลิงถูกกว่าเรา แต่ก็ไม่มีใครไปหาเหตุผลมาบอกได้ว่ามาเลเซียเขาทำอย่างไร มีแต่คนที่ไม่หวังดีต่อประเทศเอาข้อเท็จจริงอันนี้มาโจมตีบริษัท บางบริษัทว่าเอาเปรียบประชาชน และรัฐบาลว่าเก็บภาษีขูดเลือดขูดเนื้อคนไทยราคาเชื้อเพลิงจึงแพงโดยไม่ดูสาเหตุอื่นประกอบเลย ดูแต่เรื่องราคา (อีกแล้ว) จะพาไปดูกันนะว่ามาเลเซียเขาเป็นอย่างไร และทำอะไรถึงทำให้ราคาเชื้อเพลิงถูกและสุดท้ายผู้อ่านก็ตัดสินกันเองละกันว่าอยากให้เมืองไทยเป็นแบบนั้นหรือไม่ หากคุณลองหาข้อมูลจากเวบไซต์ของปิโตรนาสแล้วศึกษาเองจะพบความเป็นจริงดังต่อไปนี้ 1. ปิโตรนาส ซึ่งเป็นของรัฐบาลมาเลเซีย กำไรมากกว่า ปตท อยู่อันดับสูงกว่าในเวทีโลกด้วยซ้ำ 2. งงไหมว่าทำไมเขาขายในประเทศถูก แต่รวยกว่าปตท??? เพราะปิโตรนาสเขาขุดก๊าซ/น้ำมันดิบขึ้นมา แล้วส่งออกน่ะสิ ส่งไปแถบ ญี่ปุ่น เกาหลี และอื่นๆ ขายได้แพงกว่าตั้ง 3-4 เท่าของราคาก๊าซในประเทศไทยนะ 3. อาจมีคนเถียงว่า ได้ยินว่าประเทศไทยเราก็ส่งออกหนิ น่าจะรวย… อย่าลืมว่าไทยเรานำเข้าน้ำมันดิบกว่า80% มากลั่นในประเทศแล้วได้น้ำมันสำเร็จรูป ถ้าเหลือเกินความต้องการในประเทศจึงส่งออก ไทยจึงได้แค่ค่าการกลั่น และปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นจิ๊บจ้อยมาก แต่ที่มาเลเขาส่งออกนั้น ไม่ได้เป็นกำไรจากค่าการกลั่น มันเป็นกำไรจากธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต ซึ่งรุ้ๆ กันว่า ธุรกิจนี้ High risk High Return (ใครยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต กับธุรกิจโรงกลั่น […]