หลังจากที่ ปตท. เลื่อนการนำบริษัทลูกที่ชื่อโออาร์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลายครั้งหลายคราว ล่าลุดเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ผ่าน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ จัดงานแถลงข่าว “TOGETHER FOR BETTERMENT: รวมพลัง ร่วมสร้าง เพื่อทุกวันที่ดีขึ้น” เพื่อเปิดตัว โออาร์ อย่างเป็นทางการ โดยมีฐานะเป็นบริษัทเรือธง (Flagship) ของกลุ่ม ปตท. (PTT) ด้านการดำเนินธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจหลักของโออาร์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกคือกลุ่มธุรกิจน้ำมัน จะมีสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 1,850 แห่ง, ผลิตภัณฑ์หล่อลื่นแบรนด์ PTT Lubricants ยอดขายอันดับ 1 ต่อเนื่องมา 10 ปีและจำหน่ายไปกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ต่อมาคือกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่นๆ (Non-Oil) ก็จะมี Café […]
จากการผิดหวังที่เฝ้ารอคอยข่าวที่ออกมาหลาย ๆ ครั้งของหุ้นดีมีอนาคตอีกหนึ่งตัวในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถูกเลื่อนมาตั้งแต่ ปี 2561 จนมาปี 2562 ก็ถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่ 2 จนบัดนี้เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 ข่าวคราวก็ได้เงียบหายไป ซึ่งหุ้นตัวนั้นก็เป็นหุ้นลูกของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีชื่อว่า บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ จนหลายๆคนคงเกิดความสงสัยเหมือนผมว่าทำไม? เป็นเพราะอะไรถึงทำต้องถูกเลื่อนเรื่อยๆ ด้วยข้อมูลที่ผม พอจะหาได้และความรู้ที่มีในตลาดทุนพอจะสรุปคร่าวๆได้ว่า 1.เป็นเรื่องของการจัดการแบ่ง แยกทรัพย์สินที่ถูกโอนจากบริษัทแม่ไปสู่บริษัทลูกที่เสร็จไม่ทันเวลา และมีความไม่ชัดเจนภายในองค์กรเองอันนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งจัดการเสร็จเรียบร้อยในช่วงปลายปีนั้นเอง เนื่องด้วยหุ้นของปตท.เองถูกรัฐบาลถือผ่านกระทรวงการคลัง 51% จึงทำให้มีเรื่องของการเมืองเข้ามามีส่วน ทำให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นจึงต้องเลื่อนจนกว่าการเมืองจะนิ่งและเป็นประชาธิปไตยเสียก่อน 3. น่าจะเป็นในเรื่องของจังหวะและเวลาที่ยังไม่ลงตัวเพราะหากไม่ได้มีความจำเป็นรีบร้อนในการเข้าซื้อขายแบบเร่งด่วนดั่งสมัย ปตท.ที่ถูกบีบให้แปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ในสภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวยและยังถูกบีบด้วยเจ้าหนี้ของรัฐบาล(กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟที่มาปล่อยกู้ให้ประเทศแก้วิกกฤตในตอนนั้น) ตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง 2540 ทำให้ราคาอาจจะไม่ดีนัก มาถึงตรงนี้แล้วก็คงเริ่มสงสัยแล้วกันแล้วใช่ไหมครับในเรื่องของการกำหนดราคาที่ปตท.จะเอาบริษัทฯลูกเข้าตลาด ซึ่งผมก็บอกเลยว่าเป็นอะไรที่บอกได้ยากมากครับ เพราะตามหลักแล้วการหาราคาที่เหมาะสมในช่วงเวลานั้นๆแล้วการทำการ สำรวจความต้องการของตลาด สภาวะของตลาดในช่วงนั้นประกอบกันด้วย หากตลาดดีกำลังเป็นขาขึ้นราคาก็ถูกกำหนดโดยการบวกค่าความคาดหวัง (Expected Return)เข้าไป แต่หากสภาวะตลาดซบเซาก็จะหักส่วนลด (Discount […]
ในการเสนอขายหุ้นทั่วไปครั้งแรกหรือที่นักลงทุนเรียกว่า “หุ้นไอพีโอ” มาจากคำว่า IPO ซึ่งเขียนเต็มๆว่า Initial Public Offering เป็นหุ้นที่บริษัทเสนอขายประชาชนทั่วไปครั้งแรกและไม่เคยมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มาก่อน ซึ่งบริษัทที่จะออกหุ้นไอพีโอต้องศึกษากฎระเบียบข้อมูลที่เกี่ยวข้องและแต่งตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน โดยที่ปรึกษาทางการเงินจะตรวจสอบคุณสมบัติของบริษัทและช่วยปรับปรุงเอกสารต่าง ๆ ตลอดจนงบการเงินที่เกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์ หลัง จากนั้นจึงมีการตั้งกรรมการตรวจสอบ จากนั้นประมาณ 2-5 เดือน ก่อนยื่นคำขอดังกล่าวต้องแปรสภาพบริษัทมหาชนจำกัด และจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอจำหน่ายหุ้นไอพีโอสำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งวางแผนการกำหนดราคาตลอดจนการจัดจำหน่ายหุ้นและประชาสัมพันธ์ และเมื่อถึงระยะ 1- 2 เดือนก่อนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์ บริษัทต้องจัดตั้งกองทุน สำรองเลี้ยงชีพ แต่งตั้งนายทะเบียนหลักทรัพย์ยื่นคำขออนุญาตขายหุ้นต่อสำนักคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตลอดถึงเตรียมเรื่องการเยี่ยมชมกิจการและตอบข้อซักถามของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และเมื่อยื่นคำขออนุญาตขายหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วต้องเตรียมการเรื่องการเยี่ยมชมกิจการและตอบข้อซักถามของตลาดหลักทรัพย์โดยสามารถเตรียมพร้อมกันกับส่วนของ ก.ล.ต. แล้วจึงเสนอขายแก่ประชาชนได้และสามารถเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ภายใน 2 วันทำการ นับจากวันที่มีการสั่งรับหลักทรัพย์จดทะเบียน ในการกำหนดราคาของบริษัทที่จะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้นจะเป็นหน้าที่ของวาณิชธนกิจ ที่จะคำนวณราคาเหมาะสมในการ IPO โดยส่วนใหญ่จะหาค่า Intrinsic Value (มูลค่าที่แท้จริง)ก่อนโดย Dividend Discount Model (การประเมินมูลค่าหุ้นโดยการคิดลดเงินปันผล), Residual Income Model (การวัดมูลค่าหลักทรัพย์ตามวิธีกําไรส่วนเกิน) และ […]