Articles Posted in the " ส่งออกถูกกว่า " Category

  • น้ำมันไทยแพงแต่ส่งออกถูก

    น้ำมันไทยแพงแต่ส่งออกถูก

    อีกหนึ่งในประเด็นโต้แย้งเรื่องพลังงานคือ ทำไมต้องส่งออกน้ำมันแถมยังส่งออกในราคาถูกกว่าที่คนไทยจ่าย อีกทั้งยังสร้างความสับสนให้ประชาชนที่รับข้อมูลบางกลุ่มคิดว่าที่ประเทศไทยส่งออกน้ำมันเป็นเพราะมีน้ำมันมหาศาลติดอันดับโลก ความเป็นจริงแล้วประเทศไทยมีน้ำมันน้อย จัดหาได้ประมาณ 10% จากปริมาณการใช้ในประเทศเท่านั้น ประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันแต่ก็ยังมีการส่งออกน้ำมันทั้งรูปแบบสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ ซึ่งปริมาณส่งออกน้อยมากถ้าเทียบจากปริมาณการผลิตทั้งหมด และราคาที่ “ส่งออกถูกกว่า” เพราะไม่ได้เก็บภาษีสรรพษามิตร ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงกองทุนต่างๆ ในประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาติเก็บจากคนในชาติ เพื่อพัฒนาชาติ กรณีส่งออกมาจาก 2 สาเหตุสำคัญคือโรงกลั่นไม่สามารถกลั่นน้ำมันดิบได้ หรือน้ำมันดิบไม่เหมาะกับการใช้ของคนในประเทศ เพราะน้ำมันจากบางแหล่งมีสารปรอทมาก ส่งผลต่อโรงกลั่นจึงส่งออกให้กับประเทศที่สามารถกลั่นน้ำมันดิบชนิดนั้นได้ กรณีที่ 2 คือการขุดเจาะพบน้ำมันดิบที่สามารถกลั่นเบนซินได้มาก แต่ไม่ตรงกับการใช้ของคนไทย ก็จะมีการส่งออกเพื่อนำเข้าน้ำมันดิบที่ตรงกับต้องการใช้ของคนไทยเข้ามาแทน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ไทยจึงเป็นผู้ “นำเข้า” น้ำมันปริมาณมหาศาล แต่ในขณะเดียวกันก็ “ส่งออก” น้ำมันด้วย เป็นเพราะว่าน้ำมันที่ไทยนำเข้าและส่งออก เป็นคนละตัวกันนั่นเอง ส่วนเรื่องที่คาใจคนไทยทั้งประเทศคือ ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพง ปัจจัยสำคัญเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับสารพัดค่า ไม่ว่าจะเป็น ค่าภาษี ค่าการตลาด ไปจนถึงการแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ต้องส่งเข้ากองทุนน้ำมันให้กับภาครัฐ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนนี้คือรัฐบาลไม่ใช่บริษัทผู้ค้าน้ำมัน ความต้องการใช้น้ำมันมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ในขณะที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ปัญหาก็อยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรถึงจะช่วยกันประหยัดพลังงานของชาติให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ของทุกคนได้ และต้องช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย Share This:


  • ข้อมูลอีกด้านการส่งออกน้ำมันในคลิป ทวงพลังงาน สะท้าน ปตท.

    เรื่องคลิปที่มีการแชร์กันเยอะแยะในช่วงราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ในคลิปมีการหยิบเอาการสนทนาเรื่องการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป และได้มีการตีความกันไปต่างๆ นานา จึงนำมาขยายข้อมูลอีกด้าน ตามหลักการทำธุรกิจไม่ว่าธุรกิจใดๆก็ตาม ถ้ากำลังการผลิตสูงกว่าความต้องการ ผู้ผลิตมีทางเลือกอยู่สองทาง คือ 1.1 ลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ซึ่งแน่นอนจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงขึ้น และถ้าผลักภาระให้ผู้บริโภคได้ ก็ผลักภาระไป ผู้บริโภคก็ต้องซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้น 1.2 ผลิตให้เต็มกำลังการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง ผู้บริโภคก็จะได้ใช้สินค้าในราคาที่ถูกลง ส่วนสินค้าส่วนเกินความต้องการในประเทศ ก็ไปหาตลาดในต่างประเทศ (ซึ่งจะมีทั้งราคาที่สูงและต่ำกว่าราคาในประเทศ) ดังนั้นราคาส่งออกจึงมีทั้งสูงและต่ำกว่าราคาในประเทศ (ไม่ใช่ต่ำกว่าทั้งหมด) ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากขายหรือไม่ 2. นี่คือเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจที่ต้องสนองความต้องการของตลาดหลักก่อน แล้วส่วนเกินจึงเลือกว่าจะผลิตหรือไม่ ถ้าต้องการ economy of scale ก็ต้องผลิตเต็มที่ แล้วไปหาตลาดเพิ่ม ซึ่งอาจต้องใช้ราคาเป็นตัวบุกเบิกตลาด ถ้าจะมากำหนดว่าถ้าไปขายต่างประเทศราคาถูก ก็จะต้องลดราคาในประเทศให้เท่ากัน ผู้ผลิตก็มีทางเลือกที่จะลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ไม่ต้องเหนื่อยยากไปบุกเบิกตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ และผลักภาาะต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับผู้บริโภคไป 3. วิธีการอย่างนี้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตได้มากกว่าความต้องการเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ ข้าว น้ำตาล ปูนซีเมนต์ ผลผลิตส่วนเกินความต้องการล้วนแต่ต้องส่งออกทั้งสิ้น และบางครั้งก็ต้องส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายในประเทศ อย่างเช่น ข้าว เป็นต้น 4. ราคาน้ำมันที่โรงกลั่นขายก็มาหลายราคา 4.1 ราคาตามสัญญา […]


  • ข้อถกเถียงทำไมน้ำมันต้องอิงราคาสิงค์โปร์ – ราคาส่งออกถูกกว่าขายในประเทศ และทำไมอุตฯปิโตรเคมีซื้อก๊าซถูกกว่าประชาชน

    การเปิดประเด็นเรื่องพลังงานทั้งของกลุ่มจับตาการปฏิรูปพลังงานไทยและกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน ยังคงเป็นข้อมูลคนละชุดเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ล่าสุดน.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตวุฒิสมาชิก กรุงเทพมหานคร กลุ่มจับตาการปฏิรูปพลังงานไทย (จปพ.) หรือ “Thai Energy Reform Watch” กล่าวว่า “น้ำมันทุกลิตรผลิตออกโรงกลั่นในประเทศแท้ๆ ขายในประเทศ ทำไมต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์ บวกค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ทั้งที่ไม่ได้เกิดขึ้น” เป็นประเด็นที่ น.ส.รสนาตั้งเป็นคำถามฝากไปถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ช่วงแถลงเปิดตัว “กลุ่มจับตาการปฏิรูปพลังงานไทย” เสนอให้ยกเลิกโครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปโดยอ้างอิงราคาสิงคโปร์ พร้อมกับตัดค่าใช้จ่ายเทียมออกไป ต่อประเด็นนี้“กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน” ที่มีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นแกนนำ โดยนายมนูญ ศิริวรรณ อดีตผู้บริหาร บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ชี้แจงข้อมูลว่าทำไมราคาน้ำมันที่ผลิตในประเทศ ขายคนไทยต้องอิงราคาสิงคโปร์   นายมนูญ ศิริวรรณ นายมนูญกล่าวว่า ที่มาของการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปอ้างอิงราคาสิงคโปร์ เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยไม่มีโรงกลั่นน้ำมัน ขณะนั้นรัฐบาลต้องการจูงใจให้ต่างชาติย้ายฐานจากการผลิตจากสิงคโปร์เข้ามาตั้งโรงกลั่นในประเทศไทย โดยการันตีกับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงกลั่นในประเทศไทยต้องได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าการกลั่น หรือ “refinery margin” น้อยกว่าตั้งโรงกลั่นน้ำมันที่สิงคโปร์ สาเหตุหลักๆ ที่ต้องมีมาตรการจูงใจต่างชาติมีดังนี้ 1.ค่าขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมาประเทศไทยมีต้นทุนสูงกว่าสิงคโปร์ […]


  • แจง! ส่งออกน้ำมันถูกกว่าที่ขายในประเทศ-ผูกขาดขายน้ำมันแพง?

    ซีอีโอ “ปตท.” แจง! ส่งออกน้ำมันถูกกว่าที่ขายในประเทศ-ผูกขาดขายน้ำมันแพง?     จากกรณี กระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราคาน้ำมันในประเทศสูง โดยเฉพาะในโลกโซเชี่ยลมีเดียที่มีโจมตี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้น้ำมันมีราคาสูง ล่าสุด เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในเรื่องราคาน้ำมัน ดังนี้   “หยุดเติมน้ำมัน ปตท.” อารมณ์ เหตุผล หรือเจตนาแอบแฝง ?     ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นถึง 20% ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ดีเซล และ LPG สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลกด้วยเช่นกัน ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ มีค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น     ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้คือประเทศผู้ส่งออกพลังงาน ซึ่งก็เคยประสบปัญหารายได้หายไปเมื่อราคาพลังงานดิ่งลงตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว เป็นวัฏจักรที่มีการขึ้นลงเช่นเดียวกับอุสาหกรรมอื่นๆที่มีการลงทุนขนาดใหญ่และมี lead time นาน     คนทั่วไปอาจจะไม่เข้าใจธุรกิจพลังงานและกลไกตลาดโลก จึงเริ่มมองหาจำเลยที่จะระบายความโกรธแค้นที่เขาต้องเดือดร้อน ใกล้ตัวที่สุดคือผู้ค้าขายน้ำมัน โดยเฉพาะ ปตท. ซึ่งเป็นผู้ค้าสำคัญในประเทศไทย จนถึงขั้นมีขบวนการรณรงค์ให้หยุดเติมน้ำมัน ปตท. และบิดเบือนต่ออีกว่า […]


  • ทำไมน้ำมันส่งออก จึงถูกกว่าราคาขายในประเทศ

    ทำไมน้ำมันส่งออก จึงถูกกว่าราคาขายใน ปท. ??       ขอเล่าถึงประสบการณ์ในฐานะผู้ที่อยู่ในธุรกิจโรงกลั่นมาก่อนกว่า 30 ปีว่า อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันในประเทศมีที่มาที่ไป     อย่างไรตามข้อเท็จจริง… โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยเกิดขึ้นมารองรับความต้องการใช้ในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ไม่ได้สร้างมาเพื่อการส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศ เพราะถ้าสร้างมาเพื่อการส่งออกเหมือนกับโรงกลั่นในประเทศสิงคโปร์ “ไม่คุ้มค่า” ลงทุนแน่นอน และคงไม่มีนักลงทุนที่ไหนจะใส่เงินกว่า 100,000 ล้านบาท เมื่อรู้ปลายทางว่าจะขาดทุนแน่นอน รัฐบาลในอดีตได้เห็น “ความจำเป็น” ที่จะต้องสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศในขณะนั้น จึงประกาศเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ     ภาครัฐได้จูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนสร้างโรงกลั่น ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการลดภาษีเงินได้ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI แต่สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นถ้าราคาน้ำมันที่ผลิตจากโรงกลั่น ไม่ใช้ราคาเทียบเท่าการนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์ (ราคาอ้างอิงซื้อขายที่สิงคโปร์+ค่าปรับคุณภาพตามมาตรฐานไทย คือ ยูโร 4+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสีย) ก็ “ยาก” ที่จะมีโรงกลั่นเกิดขึ้นในประเทศไทย และหากไม่มีการลงทุนสร้างโรงกลั่นให้เกิดขึ้นในประเทศก็เท่ากับว่าประเทศจะต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมหาศาล เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานที่ขยายตัวต่อเนื่อง     ในปัจจุบันที่เริ่มเห็นว่ามีการส่งออกน้ำมันบ้างนั้น จะพบว่ามีปริมาณส่งออก “น้อยมาก” ถ้าเปรียบเทียบจากปริมาณการผลิตทั้งหมด เหตุผลที่ต้องมีการส่งออกน้ำมันบางส่วน เพราะโรงกลั่นไม่สามารถเลือกน้ำมันดิบที่จะป้อนเข้าโรงกลั่นได้ ส่งผลให้ผลิตน้ำมันไม่พอดีกับความต้องการในประเทศ รวมไปถึงการใช้กำลังการกลั่นให้เต็มที่เพื่อลดค่าใช้จ่าย จึงทำให้มีน้ำมันสำเร็จรูปบางชนิดผลิตออกมาเกินความต้องการจึงต้องส่งออก     อย่างไรก็ตาม […]