Articles Posted in the " เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย " Category

  • กลโกงปตท ทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันของตลาดกลางสิงคโปร์

    กลโกงปตท ทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันของตลาดกลางสิงคโปร์

    เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทยวันนี้ เราจะพูดถึงราคาน้ำมันของตลาดสิงคโปร์ ว่าทำไมเราถึงต้องอ้างอิงจากสิงคโปร์ด้วย ซึ่งถ้าหากมีโรงกลั่นที่นำน้ำมันดิบมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปได้ น้ำมันสำเร็จรูปนี้ควรตั้งราคาขายไว้ที่เท่าไร??? พอเป็นน้ำมัน หลายๆคนอาจจะคิดว่า ก็ต้องคิดราคาถูกๆสิ ไปอ้างอิงราคาน้ำมันจากตลาดกลางสิงคโปร์ทำไม ต้องคิดราคาที่เป็นธรรม ฯลฯ สำหรับน้ำมันก็เหมือนกับสินค้าอุปโภคชนิดอื่น ที่มีความต้องการใช้สูง มีการซื้อขายตลอดเวลาเป็นจำนวนมากทั่วโลกจึงสินค้าสากล ซึ่งสะท้อนถึง อุปสงค์และอุปทาน ที่รวมต้นทุนน้ำมันดิบที่แท้จริงของภูมิภาคนั้นด้วย ดังนั้น ราคาที่เหมาะสมหรือราคาที่เป็นธรรมต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องตั้งราคาที่อ้างอิงมาจากตลาดกลางที่ซื้อขายน้ำมันในแต่ละภูมิภาค ซึ่งประเทศไทยอ้างอิงราคาน้ำมันจากราคาตลาดกลางสิงคโปร์ แต่ถ้าไม่ตั้งตามราคาอ้างอิงจากตลาดกลางสิงคโปร์ จะมีผลดังนี้  ถ้าราคาขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น “แพงกว่า” ในตลาดกลางสิงคโปร์ >>> ผู้ประกอบการขายปลีกน้ำมัน ก็จะนำเข้าน้ำมันจากตลาดกลางสิงคโปร์ที่มีราคาถูกกว่าแทนการซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นในประเทศ และก็จะมีผู้ค้าน้ำมันนำน้ำมันสำเร็จรูปเข้ามาขายแข่งเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันภายในประเทศและการจ้างงาน ถ้าราคาขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น “ถูกกว่า” ในตลาดกลางสิงคโปร์ >>> เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดตลาดเสรี ผู้ประกอบการโรงกลั่นก็จะสามารถนำน้ำมันส่งออกไปขายต่างประเทศที่ได้ราคาดีกว่าทันที ทำให้ในประเทศขาดแคลนน้ำมัน ผู้บริโภคในประเทศก็จะไม่ได้ใช้น้ำมัน ยิ่งทำให้ราคาขายปลีกในประเทศเพิ่มสูงขึ้นหนักเพราะ อุปทาน (Supply) น้อยกว่า อุปสงค์ (Demand) หรืออาจจะทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกน้ำมันก็จะประสบภาวะขาดทุน ถึงขั้นเจ๊งได้ (เพราะปริมาณการขายน้อย กำไรน้อยลง) และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างวงกว้าง เพราะขาดแคลนพลังงาน ถ้าบังคับให้โรงกลั่นขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น “ถูกกว่า” ในตลาดกลางสิงคโปร์ >>> ผู้ประกอบการโรงกลั่นจะขาดแรงจูงใจในการลงทุนเพราะลงทุนสร้างโรงกลั่นหรือค่าซ่อมบำรุงค่าดำเนินการโรงกลั่นในประเทศไทยมีต้นทุนสูงกว่า สาเหตุดังต่อไปนี้ 1. ต้นทุนขนส่งการนำเข้าน้ำมันดิบสูงกว่า เพราะประเทศไทยอยู่ห่างจากแหล่งน้ำมันดิบตะวันออกกลางไกลกว่าประเทศสิงคโปร์ รวมถึงประเทศสิงคโปร์เป็นเมืองท่า มีระบบการขนส่งและท่าเรือขนาดใหญ่และครบวงจร ทำให้ต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยของประเทศสิงคโปร์มีต้นทุนต่ำกว่าของประเทศไทย […]


  • ชำแหละ ปตท เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียม

    ชำแหละ ปตท เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียม

    ชำแหละ ปตท เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียม ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบสัมปทาน (Concession System) และระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract, PSC) ชำแหละ ปตทใช้อะไรตัดสินเลือกระบบสัมปทานหรือระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการพิจารณาการว่าเราจะเลือกใช้ระบบสัมปทานหรือระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต จะต้องพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. ศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศ 2. ปริมาณความต้องการใช้ปิโตรเลียม 3. ราคาปิโตรเลียม หรือแม้กระทั่งวิธีที่จะใช้เก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษในกรณีที่มีการสำรวจพบปิโตรเลียมเป็นแหล่งขนาดใหญ่ที่สามารถผลิตได้ในต้นทุนต่ำ ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract, PSC) จำเป็นต้องมีการเจรจาระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการ เพราะรัฐจะร่วมลงทุนด้วยส่วนหนึ่ง และจะต้องรับความเสี่ยงในการลงทุนสำรวจและพัฒนาด้วยเช่นกัน ประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย เป็นต้น ระบบสัมปทาน (Concession System) ผู้รับสัมปทานจะต้องรับความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเลือกระบบสัมปทานหรือระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต ต่างก็ให้ผลประโยชน์และช่วยประชาชนทั้งสองทาง ดังนั้นเราควรเข้าใจถึงการเก็บภาษีต่างๆ เพื่อช่วยค้ำจุนประเทศให้เดินหน้าต่อไปนั่นเอง ติดตามอ่านบทความดีๆได้ที่ https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/ Share This:


  • แฉ กลโกง ปตท สำรวจหาน้ำมันง่ายๆแค่ใช้รถคล้ายรถซ่อมถนนจริงหรือ?

    แฉ กลโกง ปตท สำรวจหาน้ำมันง่ายๆแค่ใช้รถคล้ายรถซ่อมถนนจริงหรือ?

    พลพรรคนายกรเข้าใจผิดๆ แฉ กลโกง ปตทว่าเห็นแท่นขุดเจาะน้ำมันเข้ามาที่กรุงเทพฯ ก็นึกว่าเอาแท่นมาเตรียมดูดน้ำมัน แสดงให้เห็นถึงความไม่รู้ในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม แถมมีการมาแฉ กลโกง ปตท บอกว่าสำรวจน้ำมันง่ายนิดเดียว แค่เอารถคล้ายๆรถซ่อมถนนมาสั่นๆๆก็สำรวจหาน้ำมันได้แล้ว แถมคิดไปเองว่าต้นทุนการสำรวจก็ไม่สูงล่ะสิ เออ… เอาเข้าไป มาดูแก๊งทวงคืน ปตทต้มตุ๋นประชาชนคุยกันครับ มั่วซั่วอย่างหาที่สุดไม่ได้ ด้วยการบอกข้อมูลไม่ครบตามฟอร์ม ที่บอกว่าสำรวจน้ำมันนั้นทำได้ง่ายๆทั้งหมดนี้ถือเป็นการดูถูกนักธรณีวิทยามากนะครับ พวกเค้าต้องเรียนในมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 4 ปี ไม่ใช่แค่เรียนใน google เหมือนพวกนายกร มาดูขั้นตอนการสำรวจน้ำมันจริงๆมันเป็นเช่นไร ใครปล้นประเทศไทยกันแน่ นักธรณีวิทยาจะทำการสำรวจทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศ แล้วส่งต่อให้นักธรณีฟิสิกส์จะสำรวจใต้ดินด้วยคลื่นไหวสะเทือน (seismic) ไม่ใช่นึกอยากจะเอารถที่เรียกว่า “Vibroseis Truck” ไปสั่นที่ไหนก็ได้ ส่วนในทะเลก็จะใช้เรือส่งคลื่นจาก air gun เค้าต้องศีกษาแล้วว่าตำแหน่งไหนพื้นที่ไหนถึงจะเหมาะสม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงสำรวจหาโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีโอกาสพบปิโตรเลียม หลังจากที่ศึกษาโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เข้าองค์ประกอบระบบปิโตรเลียม (Petroleum System 5 อย่าง) แล้วก็จะทำการขุดเจาะหลุมสำรวจเพื่อพิสูจน์ว่าตำแหน่งนั้นมีน้ำมันอยู่จริงหรือเปล่า ตรงนี้แหละที่ต้นทุนสูงมาก ต้องเป็นตำแหน่งที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดถึงจะเจาะ สุดท้ายในกรุงเทพฯนั้นก็ไม่พบปิโตรเลียม แปลว่า แท่นขุดเจาะที่เข้ามาในเขตทวีวัฒนานั้น ไม่ใช่แท่นดูดน้ำมัน แต่เป็นแท่นขุดเจาะสำรวจหาน้ำมันครับ ขบวนการทวงคืน ปตทเวลาพูดก็พูดให้ครบ หรือว่าหา Google […]


  • โกงพลังงานไทย ใครกันแน่ที่โกง?

    โกงพลังงานไทย ใครกันแน่ที่โกง?

    ประชาชนเสียประโยชน์ แต่บริษัทเอกชนได้ประโยชน์เต็มๆน่ะสิ่ใช่หรือ หลายๆคนคงเคยเห็นเปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย มีข้อความเท็จต่างๆนานา ลองมาดูข้อมูลจริงเรื่องท่อก๊าซฯของปตท.ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ปตท จะเป็นชื่อย่อของ ปตท คือปล้นตลอดทางจริงหรือไม่ แล้วอะไรๆที่ว่าแพงมันแพงจริงมั้ย สาเหตุเพราะอะไร การโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษา 1. ที่ดินจากการได้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เนื้อที่ 32 ไร่ 74.1 ตารางวา รวม 106 แปลงในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มูลค่า 1 ล้านบาท*  2. สิทธิการใช้ที่ดินของเอกชน ที่ ปตท. ได้มาโดยอำนาจมหาชนเพื่อการวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ประกอบด้วย ทรัพย์สินระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ตัวท่อส่งก๊าซฯ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบท่อส่งก๊าซฯ) มูลค่า 1,137 ล้านบาท* 3. ระบบท่อส่งก๊าซฯ เฉพาะส่วนที่อยู่ในที่ดินของเอกชน- โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย – โครงการท่อชายแดนไทยพม่า-ราชบุรี – โครงการท่อราชบุรี-วังน้อย – โครงการท่อมาบตาพุด-บางปะกง มูลค่า 15,037 ล้านบาท* *มูลค่าทางบัญชี […]