ความต้องการใช้ก๊าซ NGV จากอดีตจนถึงปัจจุบันสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากสถิติพบว่าปริมาณการใช้ NGV มีอัตราเติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2546 มีปริมาณการใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,800 กิโลกรัม/วัน นับจากนั้นเป็นต้นมาเป็นเวลา 10 กว่าปี ในเดือน ก.ค. 58 ความต้องการใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 8,648,065 กิโล/วัน หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย 57% ต่อปี สำหรับนโยบายภาครัฐฯได้มีการทยอยปรับขึ้นราคา NGV แบบขายปลีก และมีเป้าหมายที่จะให้ราคาสะท้อนต้นทุนจริง โดยปัจจุบันราคาขายปลีก NGV สำหรับรถทั่วไปเท่ากับ 13.50 บาท/กก. ในขณะที่ต้นทุน NGV ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 14 – 15 บาท/กก. ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อผู้ใช้รถโดยสารสาธารณะ ปตท. ได้ให้ส่วนลดราคา NGV แก่กลุ่มรถโดยสารสาธารณะตามนโยบายภาครัฐฯ โดยปัจจุบันราคาขายปลีก NGV สำหรับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะอยู่ที่ 10.00 บาท/กก. ซึ่ง ปตท. […]
ด้วยความที่ NGV เป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แถมยังราคาถูกกว่าน้ำมัน จึงมีภาคขนส่งหันมาใช้ NGV เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี แม้ปัจจุบันสถานีบริการยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคก็ตาม การขึ้นราคาก๊าซ NGV ในครั้งนี้ แม้กลุ่มผู้ใช้ NGV โดยเฉพาะภาคขนส่ง จะรู้สึกไม่เห็นด้วย แต่อย่าลืมว่า ราคา NGV ที่ใช้กันในท้องตลาด เป็นราคา NGV ที่ผู้ผลิต NGV แบกรับการขาดทุนอยู่ เนื่องจากต้นทุนราคา NGV แท้จริงอยู่ที่ 15 บาท ต่อกิโลกรัม (สำรวจโดย กบง.) แต่ราคา NGV ปัจจุบันอยู่ที่ 13.50 บาท ทำให้ผู้ผลิตติดลบเป็นตัวเลขหลายหมื่นล้านในแต่ละปี จึงไม่น่าแปลกใจที่ไม่มีเอกชนให้ความสนใจลงทุนธุรกิจ NGV มากนัก เกิดคำถามว่า เมื่อราคา NGV ต่างประเทศ โดยเฉพาะอเมริกาถูกกว่ามาก ทำไมจึงไม่มีการนำเข้า … อันที่จริง ไม่มีกฎหมายห้ามลงทุนเรื่อง NGV ในประเทศ เอกชนมีสิทธิ์ที่จะขออนุญาตเป็นผู้นำเข้า […]
NGV ขึ้นราคา เวลานี้เรื่องก๊าซธรรมชาติ NGV ยังถูกถกเถียงในวงกว้างว่าควรสนับสนุนเชื้อเพลิงชนิดนี้ไปทิศทางไหน ทั้งกระแสขอขึ้นราคาเนื่องจากขาดทุนต่อเนื่อง มาดูกัน หลายท่านอาจจะยังสับสนระหว่าง NGV หรือ NG ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งก่อนที่จะพูดถึงไทม์ไลน์การปรับราคา NGV ในบทความนี้ จึงอยากใช้พื้นที่เพื่ออธิบายความหมายเสียก่อน NG (Natural Gas) คือปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง เกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันภายใต้ความร้อนหลายล้านปี และแรงกดดันมหาศาลจนแปรสภาพเป็นปิโตรเลียม ทั้งที่อยู่ในสถานะของแข็งคือถ่านหิน ของเหลวคือน้ำมันดิบ และสถานะก๊าซซึ่งก็คือก๊าซธรรมชาติหรือ NG นั่นเอง ส่วน NGV (Natural Gas for Vehicles) หรือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ มีชื่อเรียกสากลว่าก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas – CNG) เกิดจากการนำก๊าซธรรมชาติมาอัดจนมีความดันสูง แล้วนำไปเก็บไว้ในถังบรรจุ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำมันเบนซินหรือดีเซลในรถยนต์ ประโยชน์ของ NGV คือราคาถูก มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากก๊าซมีน้ำหนักเบาเมื่อรั่วจะกระจายสู่อากาศ ไม่มีการสะสมที่พื้น และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ได้สมบูรณ์ ทราบหรือไม่ว่าปัจจุบัน ถึงแม้ว่าผลจากการศึกษาต้นทุนเอ็นจีวีล่าสุด คาดว่าอาจอยู่ราวกิโลกรัมละ 14-15 บาท […]
รายการพลังงานวันนี้ ปรับโครงสร้างราคาพลังงานส่งผลต่อค่าการตลาดน้ำมันสูงอย่างไหร่ Share This:
นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ NGV บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แจ้งความคืบหน้าของการปิดซ่อมบำรุงประจำปีของแหล่งก๊าซธรรมชาติพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ-เอ18) ซึ่งมีกำหนดตั้งแต่วันที่ 13 มิ.ย.-10 ก.ค. 2557 ว่า ปตท.ได้ติดตามสถานการณ์การซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซฯ เจดีเอของผู้ผลิตอย่างใกล้ชิดเป็นประจำทุกวันผ่าน “ศูนย์ติดตามผลกระทบการปฏิบัติงาน กรณีแหล่งก๊าซเจดีเอปิดซ่อมบำรุง” ปรากฏว่าผู้ผลิตได้รายงานผลการซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซฯ เป็นไปตามแผน คาดว่าแหล่งก๊าซฯ เจดีเอจะสามารถกลับมาจ่ายก๊าซธรรมชาติเข้าสู่ระบบได้ตามกำหนด พร้อมทั้งมีข่าวดีเพิ่มเติมว่า ขณะนี้สถานีจ่ายก๊าซหลัก อ.จะนะ จ.สงขลา สามารถเริ่มกระบวนการอัดและทยอยส่งก๊าซ NGV จากปริมาณก๊าซธรรมชาติที่สำรองไว้ในท่อ (Line Pack) แล้ว ตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของวันที่ 22 มิ.ย. 2557 โดยจัดส่งได้สูงกว่าปริมาณที่คาดการณ์ไว้ที่ 110 ตันต่อวัน และคาดว่าจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณการส่งก๊าซ NGV จนเข้าสู่ภาวะปกติได้ในวันที่ 25 มิ.ย. ศกนี้ ทั้งนี้ ปตท.ได้ทยอยเปิดสถานีบริการ NGV 4 แห่ง […]
ถังบรรจุก๊าซ NGV ถือเป็นเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เพราะต้องเป็นตัวบรรจุก๊าซซึ่งมีความดันสูงถึง 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ปัจจุบันมีการผลิตถังก๊าซ NGV อยู่ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม ประเภทที่ 2 ถังที่ทำด้วยเหล็ก หรือ อลูมิเนียม และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้ว หรือ เส้นใยคาร์บอน ประเภทที่ 3 ถังที่ทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมที่บางกว่าชนิดที่ 2 และหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วหรือเส้นใยคาร์บอนตลอดตัวถัง ประเภทที่ 4 ถังที่ทำด้วยแผ่นพลาสติกและหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วและเส้นใยคาร์บอนผสมกันวัสดุใยแก้ว (Fiberglass) ชนิดแรกจะมีน้ำหนักมากที่สุดแต่ต้นทุนต่ำสุด ส่วนชนิดที่ 3 และ 4 มีน้ำหนักเบากว่าแต่ต้นทุนค่อนข้างสูง โดยสามารถเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนต้นทุนและน้ำหนักของถังก๊าซทั้ง 4 ประเภทดังตารางต่อไปนี้ สำหรับถังบรรจุก๊าซ NGV ที่ใช้อยู่ในเมืองไทยของเรา ส่วนใหญ่เป็นถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร (น้ำ) มีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78 กิโลกรัม หลายท่านอาจมีคำถามคาใจว่าติดตั้งถังก๊าซไว้ในรถยนต์แล้วจะปลอดภัยหรือเปล่า ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะถังก๊าซทุกใบแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ หล่อขึ้นโดยไม่มีรอยต่อเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งถัง […]