Search results for "ขึ้นราคา LPG"

  • ขึ้นราคา lpg ประเทศเพื่อนบ้านขายก๊าซ LPG ราคา ถังละเท่าไหร่? ใครรู้บ้าง?

        ทุกครั้งที่การปรับขึ้นราคา lpg หลายคนมักมีคำถามมาว่า ทำไมต้องปรับแล้วปรับเผื่ออะไร ทั้งที่เศรษฐกิจโดยรวมก็ไม่ดีไม่แย่ ทำไมต้องทำร้ายแม่ค้าขายอาหารตาดำ และมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายที่ต้องรับผิดชอบค่าอาหารจานด่วนที่เพิ่มขึ้น เมื่อยามขึ้นราคา lpg แต่ในยามที่ก๊าซlpgปรับลง ค่าอาหารกับไม่ได้ปรับตามไปด้วย นั้นเองจึงเป็นที่มาของเรื่องที่จะเล่าในวันนี Share This:


  • ปี2558 การขึ้นราคา LPG จะทำให้ราคาน้ำมันถูกลงมั้ย

    ปี2558 การขึ้นราคา LPG จะทำให้ราคาน้ำมันถูกลงมั้ย

    ขึ้นราคา LPG/ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ตอนที่ 2     ประชาชนได้อะไรจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน?.. เป็นคำถามที่ประชาชนให้ความสนใจมาก เพราะนอกจากประชาชนจะรู้สึกว่าการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ เหมือนการขึ้นราคา LPG ซึ่งทำให้ประชาชนต้อง “จ่ายมาก” ขึ้น โดยลืมให้ความสำคัญว่าการปรับในครั้งนี้ประเทศชาติจะได้ประโยชน์อะไร และประโยชน์นี้จะส่งผลถึงประชาชนอย่างไรบ้าง จึงจะขอนำเสนอประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ออกเป็นข้อย่อยให้พิจารณากัน ดังนี้  1. LPG มีเพียงพอใช้ในทุกภาคส่วน เนื่องจาก     – เดิมผู้ขาย LPG มีความต้องการขายให้ภาคปิโตรเคมีมากกว่า เนื่องจากราคาที่สูงกว่า เพราะในภาคส่วนอื่นๆ มีการกำหนดราคาที่ถูกกว่า จนภาคส่วนอื่นๆ ต้องพึ่งพาการนำเข้าซึ่งมีราคาสูงกว่า การปรับโครงสร้างราคาจึงเป็นการสร้างความเท่าเทียมในด้านราคา     – ผู้ขายไม่มีแรงจูงใจในการขาย LPG เนื่องจากราคาขายในประเทศค่อนข้างต่ำไม่คุ้มค่าในการผลิต การปรับโครงสร้างราคาใหม่จึงสร้างอุปทานให้เกิดความต้องการขยายการผลิตเพื่อขายในประเทศมากขึ้น     – ก่อนการปรับโครงสร้างราคา เมื่อเข้าสู่ AEC ผู้ขายจะมีความต้องการขายออกนอกประเทศมากกว่า เนื่องจากราคาขายในประเทศถูกกว่าส่งออกค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้า LPG อยู่ 15% หากมีการส่งออกมาก ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น การปรับโครงสร้างราคา LPG ให้ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ใน AEC จึงเป็นการลดอุปทานในการส่งออก 2. LPG […]


  • ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน : ใครได้ ใครเสียจากการขึ้นราคา LPG

    ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน : ใครได้ ใครเสียจากการขึ้นราคา LPG

    จากนโยบายการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน LPG และ NGV เมื่อปลายปีที่แล้ว และปรับใช้จริงในส่วนของ LPG เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สร้างกระแสต่อต้านให้พูดถึงมากในสังคม เหตุผลหลักคงหนีไม่พ้นการทำให้ราคา LPG สูงขึ้น จนกลุ่มคนบางกลุ่มเข้าใจว่า การปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ แท้จริงแล้ว เป็นการขึ้นราคา LPG นั่นเอง ปัญหา “โครงสร้างราคาพลังงานบิดเบี้ยว” เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน เกิดจากการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงผิดวัตถุประสงค์ นอกจากรักษาเสถียรภาพด้านราคาแล้ว ยังใช้กองทุนน้ำมันฯ เป็นเครื่องมือในการทำประชานิยม โดยกำหนดราคาขายปลีก LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มีราคาต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ส่งผลให้คนใช้เบนซินต้องจ่ายเงินอุดหนุนคนใช้แก๊ส นอกจากนั้น LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงยังมีหลายราคาก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบขายแก๊สผิดประเภท (ขายข้ามภาค) รวมทั้งลักลอบส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ขาย LPG ในราคาแพงกว่า จากการที่ราคา LPG ถูกกำหนดให้ต่ำกว่าต้นทุน สามารถสรุปเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ 1. ผู้ผลิต LPG จะเลือกขายให้ภาคปิโตรเคมีก่อน (เนื่องจากราคาภาคปิโตรเคมี ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงราคากันเอง) ส่วนที่เหลือจึงจะขายให้ภาคเชื้อเพลิง (รัฐกำหนดราคาไว้ที่ 333 ดอลลาร์/ตัน) หากไม่เพียงพอจะนำเข้า LPG มาใช้เป็นเชื้อเพลิง 2. เมื่อมีความต้องการใช้ […]


  • ขึ้นราคาก๊าซ เสื้อแดง รถติดแก๊ส LPG มีอ่วมขึ้นราคา LPG รัฐย้ำไม่สนับสนุน

    ขึ้นราคาก๊าซ เสื้อแดง รถติดแก๊ส LPG มีอ่วมขึ้นราคา LPG รัฐย้ำไม่สนับสนุน

    ขึ้นราคาก๊าซ เสื้อแดง ท่ามกลางกระแสความปรองดองในประเทศ ที่ทุกคนพยายามละลายสี ละลายความขัดแย้ง เพื่อให้ประเทศได้เดินหน้าต่อไป ยังมีรากลึกบางอย่างที่ยังฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนไทยบางกลุ่ม ยังคงมีการแบ่งแยกว่า คนนั้นเป็นพวกคนนี้ องค์กรนี้อยู่ในอำนาจของคนนั้น ให้เราเห็นอยู่ประปราย ไม่เว้นแม้แต่เรื่องเกี่ยวกับพลังงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในประเทศ ที่ยังคงถูกพูดถึงแม้จะผ่านระยะเวลามาหลายปีว่า ปตท.เป็นของใคร โดยไม่คำนึงว่านโยบายต่างๆ ที่ออกมาเพื่อผลประโยชน์แก่คนทั้งชาติ แต่กลับมองว่าเมื่อนโยบายได้การสนับสนุนจากคนสีใด สีนั้นต้องได้ประโยชน์และอีกสีต้องเสียผลประโยชน์เป็นแน่ ย้อนไปปี 2556 มีการพูดถึงสถานการณ์ราคาก๊าซในประเทศที่ได้รับการอุดหนุนราคาจากภาครัฐโดยเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำมัน ซึ่งหากจะมองกันดีๆ ก็จะทราบว่าการให้คนใช้น้ำมันช่วยอุดหนุนราคาก๊าซ ก็ดูไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้น้ำมันเลย จึงเริ่มมีนโยบายที่จะยกเลิกกองทุนน้ำมัน ซึ่งจะมีผลให้ราคาก๊าซเพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมันจะลดลง ในวันที่ 28-30 สิงหาคม 2556 ได้มีกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “รวมพลคนรักษ์พลังงาน” เข้าชุมนุมที่หน้าสำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต และมีกลุ่มคนเสื้อแดงเข้าร่วมปราศรัยกว่า 100 คน  โดยแกนนำได้ขึ้นเวทีปราศรัย ระบุว่ามาให้กำลังใจนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน และเห็นด้วยกับนโยบายขึ้นราคา LPGของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อยกเลิกเก็บเงินคนใช้น้ำมัน ซึ่งมองในความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงความคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่มาเพื่อสนับสนุนนโยบายและให้กำลังแก่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เท่านั้น อย่างไรก็ดีจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บางสี บางกลุ่มเริ่มตั้งคำถามและข้อสงสัย พยายามโยงทักษิณ และกลุ่มเสื้อแดงเข้ากับ […]


  • ตอบทุกข้อกล่าวหา..หลังจากรัฐบาลประกาศขึ้นราคาขายปลีก LPG

    จับเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ทำไมต้องขึ้นราคา LPG     หลังจากที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือน 50 สตางค์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 แต่ “บริษัท ปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ซื้อ LPG ได้ในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้าน” นายไพรินทร์ชี้แจงว่า ก่อนที่จะพูดว่า ปตท. ขายให้ใครถูกหรือแพงต้องเข้าใจก่อน โครงสร้างราคาซื้อ-ขายก๊าซ LPG หลักๆ มี 3 ราคา ดังนี้     1.  ราคาขายหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงกรกฎาคม-มิถุนายน 2556 ปตท. ขาย LPG เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกิโลกรัมละ 10.20 บาท, ขายให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบกิโลกรัมละ 17.30 บาท     2.  ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อ กรณีภาคครัวเรือนซื้อที่ราคา 18.10 บาท/กิโลกรัม ภาคขนส่งซื้อที่ราคา 21.40 บาท/กิโลกรัม     3.  ภาคปิโตรเคมีซื้อ LPG […]


  • LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่..แล้วทำไมต้องขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี

    LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่..แล้วทำไมต้องขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี

    ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลน LPG!!!! สาเหตุจากปริมาณการใช้ LPG ของภาคครัวเรือน ภาคขนส่งภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการควบคุมราคา LPG ไว้ต่ำกว่าราคาตลาดโลกและต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นเป็นระยะเวลานานมากว่า 30 ปี เป็นภาระต่อกองทุนน้ำมันจำนวนนับหลายแสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามหลายๆ คนก็ยังตั้งประเด็นสงสัยในเรื่องของLPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2523 ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้มีการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อประโยชน์ได้มากกว่าการนำก๊าซธรรมชาติที่มีคุณค่าไปเผาเป็นเชื้อเพลิง โดยที่ราคาจำหน่ายก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบให้ภาคปิโตรเคมีเป็นไปตาม กลไกตลาด ไม่เคยได้รับการอุดหนุนหรือชดเชยจากภาครัฐนับตั้งแต่อดีต หลักการคำนวณราคาก๊าซฯ และค่าผ่านท่อนั้นได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและได้เผยแพร่เป็นประกาศโดย กพช. ใน Website สนพ. ตั้งแต่ 2544 รวมทั้งประกาศดังกล่าวได้แนบไว้ในหนังสือชี้ชวนขายหุ้นสามัญ ปตท เพื่อให้นักลงทุนทราบ ดังนั้นไม่มีการรวบรัดจัดทำคู่มือการคำนวณดังกล่าวตามที่กล่าวอ้าง โดยคู่มือเป็นเพียงการระบุให้ลดผลตอบแทนการลงทุนจาก 16% เป็น 12.5% ตามมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ค่าผ่านท่อใหม่ปรับลดลงเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งคู่มือมีการเผยแพร่ใน Website เช่นกัน ไม่มีการปิดบังแต่ประการใด ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) นับเป็นปัญหาที่รอการแก้ไขมานานของรัฐบาลชุดต่างๆ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ในปี 2534 รัฐบาลสมัยคุณอานันท์ ปันยารชุน ได้ประกาศยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันทุกชนิดให้ลอยตัวตามตลาดโลก […]



  • ทำไมแก๊ส LPG แพงจัง?ทั้งที่ราคาก๊าซตลาดโลกลด

    ทำไมแก๊ส LPG แพงจัง?ทั้งที่ราคาก๊าซตลาดโลกลด

    ทำไมแก๊สแพง คำว่า “น้ำมันแพง” หรือ “แก๊สแพง” กลายเป็นคำที่คนมักใช้ติดปาก แม้ว่าเราจะไม่สามารถวัดได้ว่า “แพง” หมายถึงอย่างไร และคำว่า “ถูก” ที่เราต้องการคือราคาเท่าไหร่ รู้แต่ว่าราคาถูก คือราคาที่ฉันอยากได้ เป็นราคาแบบตามใจฉัน แต่เพราะราคาปัจจุบันยังไม่ถูกใจ จึงกร่นด่าว่าแพงไว้ก่อน ซึ่งหากจะวัดคำว่าแพง จากกำไรที่ได้ ราคาแก๊ส (LPG) หน้าปั๊มอยู่ที่ 23.96 บาท ในขณะที่ค่าการตลาดหรือกำไรอยู่ที่ 3.2566 บาท (9/6/2558) เมื่อคิดเป็นสัดส่วนกำไรคือ 13.59% ยังไม่นับต้นทุนของแต่ละปั๊ม นั่นแปลว่าสินค้าชนิดนี้ไม่ได้สร้างกำไรให้ผู้ค้ามากมายเลย บางท่านอาจแย้งว่า ในเมื่อก๊าซขุดได้ในประเทศ ทำไมจึงต้องตั้งราคาต้นทุนไว้ซะสูง โดยลืมคิดไปว่าในความเป็นจริง อุปสงค์หรือความต้องการใช้ก๊าซของประเทศไทยมากกว่าอุปทานหรือการจัดหาที่สามารถหาได้ในประเทศเสียอีก ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซส่วนหนึ่งในรูป LNG (Liquid Natural gas) ซึ่งมีราคาสูงมาก นอกจากนี้ ราคาขายปลีกก๊าซบ้านเรายังรวมภาษีสรรพสามิตและเงินเก็บเข้ากองทุนอีกด้วย ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่า ทำไมแก๊สแพง (LPG) มาทำความรู้จักกับโครงสร้างราคากันก่อนดีกว่า 1. ในโครงสร้างราคาน้ำมันและ LPG นั้นจะประกอบด้วยหลักๆ คือ ราคาหน้าโรงกลั่น […]


  • ขึ้นราคาแก๊สหุงต้ม ปตท. คนไทยก็อึ้งเลยอ่ะดิ

    ขึ้นราคาแก๊สหุงต้ม ปตท. คนไทยก็อึ้งเลยอ่ะดิ

    ข่าวล่ามาแรงทุกวันนี้ว่า กระทรวงพลังงาน จะขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม แล้วคนไทยก็อึ้งเลยอ่ะดิ ซึ่งจะให้ได้เท่าราคาตลาดโลก ปรับขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ ต่อ กก. ตั้งแต่มกราคม 2556 เป็นต้นไป ปีแรกจะขึ้นจาก 18.13 บาท/กก. เป็น 24.82 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 6.69 บาท/กก. และเตรียมขยับขึ้นในปีถัดไปด้วย เห็นตัวเลขแบบนี้อย่าคิดว่าเป็นเรื่องจิ๊บๆ นะ  คิดดูสิ…ถ้าบ้านเราใช้ก๊าซหุงต้มถังขนาด 15 กิโลกรัม เราจะต้องจ่ายค่าก๊าซ เพิ่มขึ้นปีละ 100 บาท 2 ปี 200 บาทเชียวนะ นี่ยังไม่รวมค่ารถส่งก๊าซอีก  เฮ้อ.. ได้ขึ้นค่าแรง 300 บาท แต่พอครบ 2 ปีถูกเอาคืนไปถึง 200 บาท เชียวล่ะ !! แล้วค่าครองชีพของแต่ละคนจะขึ้นไปอีกเท่าไหร่ล่ะ ทั้งข้าวแกง ข้าวถุง ค่าสินค้าใน ชีวิตประจำ วัน คิดหรือว่าบัตรคูปองพลังงาน […]


  • บทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม”

    บทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม”

    บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ “ความต้องการใช้ก๊าซLPG ภาคขนส่งมีทิศทางพุ่งสวนทางราคาที่ปรับเพิ่ม” ระบุว่านับตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ราคาก๊าซLPG ภาคขนส่ง ได้ปรับเขึ้นไปแล้ว 3 ครั้ง ครั้งละ 0.75 บาท/กิโลกรัม รวม 2.25 บาท/กิโลกรัม ทำให้ราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20.38 บาท/กิโลกรัม จาก 18.13 บาท/กิโลกรัม คาดว่าปริมาณการใช้ก๊าซLPG ในภาคขนส่ง จะยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาที่ปรับเพิ่ม โดยพิจารณาได้จากจำนวนรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซLPG รายใหม่ ยังคงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11,000 คันต่อเดือน ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่เกิดจากราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2555 ไปแล้วเฉลี่ยราวร้อยละ 18.4 เป็นผลให้กลุ่มผู้ใช้น้ำมัน หันไปใช้พลังงานประเภทอื่นที่มีราคาต่ำกว่าและที่นิยมใช้มากก็คือก๊าซLPG เพราะราคาจำหน่ายยังอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำมันมาก ปริมาณการใช้ก๊าซLPG ที่เพิ่มขึ้น เกิดขึ้นพร้อมๆ กับภาระในการอุดหนุนราคาพลังงานของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากปริมาณการผลิตก๊าซLPG ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศจึงต้องนำเข้าบางส่วนจากต่างประเทศในราคาที่สูง แต่ต้องนำมาจำหน่ายในประเทศด้วยราคาที่ต่ำกว่าเพื่อช่วยเหลือภาคประชาชน (ภาครัฐอุดหนุนราคาสำหรับก๊าซLPG ซึ่งนำเข้าในอัตราประมาณ 28 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งถือว่าผิดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของภาครัฐ ที่มีนโยบายทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซLPG เพื่อลดการอุดหนุน รวมทั้งชะลอการใช้เพื่อลดการนำเข้า ฉะนั้นในช่วงที่ราคาน้ำมันแพงภาครัฐจึงจำเป็นต้องเร่งส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนประเภทอื่น […]