Search results for "ขึ้นราคา LPG"

  • ใครถูก ใครผิดที่ LPG มีใช้ไม่เพียงพอ

    ใครถูก ใครผิดที่ LPG มีใช้ไม่เพียงพอ

    เรื่องของ LPG นั้น เป็นประเด็นที่ผู้ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา บ้างก็บอกว่าปตท. ขึ้นโรงแยกก๊าซฯ ช้า ผลิต LPG ไม่ทันใช้ บ้างก็ว่าภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี จนเป็นต้นเหตุทำให้มีใช้ไม่เพียงพอ บ้างก็ว่าให้ไปเก็บเงินที่นำเข้ามาจากพวกอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี LPG ส่วนคนใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ไม่ต้องจ่ายอะไร ฯลฯ ส่วนทางฝั่งผู้ผลิตและรัฐบาลก็พยายามจะขึ้นราคา และลดปริมาณการใช้ LPG ในรถยนต์ เช่น นโยบายที่ให้ Taxi เปลี่ยนมาใช้ NGV จึงทำให้เกิดประเด็นว่า LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่???? เหล่านี้เป็นประเด็นที่หลายคนขาดความเข้าใจ และใช้หลักการที่ว่า “เราถูกเสมอ คนอื่นแหละผิด” มาโดยตลอด ก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรอยากขอให้ย้อนดูสักนิดว่าอะไรเป็นอะไร และสิ่งที่พูดกันนั้นมันมาจากความรู้สึกหรือความจริงต้องแยกให้ออก มิฉะนั้นแล้วบอกได้คำเดียวว่าประเทศชาติจะพัง!!!! คงเคยได้ยินกันว่า “หนึ่งนิ้ว ชี้ด่าคนอื่น สามนิ้วเนี่ยแหละที่ชี้ด่าตัวเองอยู่” สำหรับคนที่ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์แล้วออกมาโทษกลุ่มปิโตรเคมีว่าใช้เยอะมาแย่งประชาชนเนี่ย บอกได้เลยว่าหนึ่งนิ้วที่คุณใช้ชี้ด่าปิโตรเคมีเนี่ย จริงๆ แล้วคุณกำลังด่าตัวเองอยู่!!!! อยากให้ทุกคนลองมองตั้งแต่หัวจรดเท้า แล้วค่อยๆ มองออกไปรอบๆ ตัวเรา […]


  • ปตท. ชี้แจงข้อเท็จจริงความมั่นคงด้านพลังงาน(น้ำมัน, NGV, LPG)

    ปตท. ชี้แจงข้อเท็จจริงความมั่นคงด้านพลังงาน(น้ำมัน, NGV, LPG)

    1. ประเทศไทยมีกำลังการกลั่นน้ำมันเกินความต้องการจริงและส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปส่วนเกินเพื่อ สร้างรายได้เข้าประเทศ แต่ไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางวันละ 800,000 บาร์เรล มาเป็นวัตถุดิบในการกลั่น และส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเพียงประมาณวันละ 200,000 บาร์เรล ดังนั้นเรานำเข้าสุทธิประมาณวันละ 600,000 บาร์เรลเพื่อใช้ในประเทศ ผลที่ตามมาคือ – ราคาน้ำมันในประเทศจำเป็นต้องอิงราคาตลาดโลก เพราะต้นทุนเราซื้อน้ำมันดิบในราคาตลาดโลก – เราควรต้องประหยัดการใช้น้ำมันเพื่อลดภาระการนำเข้าและสูญเสียเงินออกนอกประเทศ ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราใช้พลังงานต่อประชากรในเกณฑ์สูง – มาเลเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซฯ สร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล จึงสามารถขายน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศได้ถูกกว่าไทย – สิงคโปร์นำเข้าน้ำมันดิบเช่นกัน และนำมากลั่นเพื่อส่งออกเป็นส่วนใหญ่ สำหรับน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายในประเทศจะมีราคาแพงกว่าไทยเพราะเก็บภาษีสูง เพื่อให้เกิดการประหยัด 2. ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยจะถูกปรับเพื่อให้สะท้อนราคาต้นทุนน้ำมันดิบ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน โดยผู้ขายน้ำมันรับซื้อจากโรงกลั่นและปรับราคาเป็นช่วงๆ เพื่อให้ผู้บริโภคไม่ถูกกระทบจากราคาที่ผันผวนจนเกินไป – ธุรกิจการกลั่นและธุรกิจค้าปลีกน้ำมันมีการแข่งขันเสรี มีผู้ประกอบการนอกเหนือจาก ปตท. คือ บริษัทข้ามชาติขนาดยักษ์ที่ใหญ่กว่า ปตท. หลายสิบเท่า – ทั้งสองธุรกิจมีวัฏจักรขึ้นลงตามสภาพตลาด และจะมีผลตอบแทนการลงทุนโดยเฉลี่ยไม่สูง ทำให้บริษัทข้ามชาติขาดความสนใจที่จะลงทุน และเริ่มทยอยขายกิจการในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย เช่น Shell ขายโรงกลั่นระยอง บริษัท BP, Q8 และ […]


  • วิเคราะห์มั่วๆ 5ปี เนื้อหามั่วๆ ก็ได้แบบมั่วๆ เรื่องพลังงาน

    เห็นมีคนแชร์มาจากทาง LINE เต็มไปหมด โดยเนื้อหาคร่าวๆ โทษนั่น โทษนี่ โดยไม่มองบริบท เรื่องพลังงาน หรือ เนื้อหาสาระว่าแท้จริงเป็นอย่างไร ก็คงต้องเอามาแก้กันไปว่ามั่วขนาดไหน ขอตัดตอนมาในส่วนเรื่องพลังงานเท่านั้น จากดร.อาทิตย์. อุไรรัตน์ ฟังแล้วอย่าเชื่อร้อยเปอร์เซนต์ เอาไปช่วยกันคิด วิจารณ์ วิจัยวิเคราะห์ เจาะลึก ให้ความจริงประจักษ์ เมื่อประจักษ์แล้ว. อย่าเมินเฉย. ชวยกันแก้วิบัติของชาตื ” 5 ปีแห่งความทุกข์ระทมของประชาชน 5 ปีแห่งความหายนะของชาติบ้านเมือง บอกได้คำเดียวว่า หนักกว่านักการเมืองอาชีพ ชาตินี้คงจะหาผู้นำที่สร้างความบรรลัยให้ชาติบ้านเมืองมากเท่าลุงคนนี้ไม่มีอีกแล้ว โดยเฉพาะการเอื้อประโยชน์ให้เจ้าสัว/นายทุน น่าเกลียดจริงๆ “มาลองอ่านกันว่า การตั้งคำถามมีคำตอบคำตอบที่ตอบวนกันมา 5ปี“  > เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินสกปรกหลายจังหวัดเอื้อประโยชน์นายทุนเหมืองถ่านหิน ทั้งที่ทั่วโลกทยอยยกเลิก เพราะมันสกปรกมีมลพิษอันตราย คนที่โพสต์คงไม่ทราบว่า ทั่วทั้งโลกปิดบางส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินหมดอายุ และ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วยซ้ำ คนโพสต์ทราบหรือไม่ > ยัดเยียดการขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด จ.ขอนแก่น เอื้อนายทุนบริษัทน้ำมัน มีชาวบ้านคัดค้าน ก็ส่งฝ่ายปกครองไปข่มขู่ให้ยินยอม การขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด  ผู้รับสัมปทานจะต้องปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายปิโตรเลียมทุกขั้นตอน […]


  • แจง! ส่งออกน้ำมันถูกกว่าที่ขายในประเทศ-ผูกขาดขายน้ำมันแพง?

    ซีอีโอ “ปตท.” แจง! ส่งออกน้ำมันถูกกว่าที่ขายในประเทศ-ผูกขาดขายน้ำมันแพง?     จากกรณี กระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราคาน้ำมันในประเทศสูง โดยเฉพาะในโลกโซเชี่ยลมีเดียที่มีโจมตี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้น้ำมันมีราคาสูง ล่าสุด เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในเรื่องราคาน้ำมัน ดังนี้   “หยุดเติมน้ำมัน ปตท.” อารมณ์ เหตุผล หรือเจตนาแอบแฝง ?     ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นถึง 20% ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ดีเซล และ LPG สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลกด้วยเช่นกัน ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ มีค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น     ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้คือประเทศผู้ส่งออกพลังงาน ซึ่งก็เคยประสบปัญหารายได้หายไปเมื่อราคาพลังงานดิ่งลงตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว เป็นวัฏจักรที่มีการขึ้นลงเช่นเดียวกับอุสาหกรรมอื่นๆที่มีการลงทุนขนาดใหญ่และมี lead time นาน     คนทั่วไปอาจจะไม่เข้าใจธุรกิจพลังงานและกลไกตลาดโลก จึงเริ่มมองหาจำเลยที่จะระบายความโกรธแค้นที่เขาต้องเดือดร้อน ใกล้ตัวที่สุดคือผู้ค้าขายน้ำมัน โดยเฉพาะ ปตท. ซึ่งเป็นผู้ค้าสำคัญในประเทศไทย จนถึงขั้นมีขบวนการรณรงค์ให้หยุดเติมน้ำมัน ปตท. และบิดเบือนต่ออีกว่า […]


  • ปตท.เป็นของใครกันแน่

    ปตท.เป็นของใครกันแน่

    ข่าวที่ว่าประชาชนทุกวันนี้เดือดร้อนเรื่องน้ำมันกันถ้วนหน้านั้น เพราะใครกัน ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ข่าวน้ำมัน LPG ขึ้นราคาของ ปตท ก็เริ่มที่จะสูงขึ้นไปทุกวัน ประเด็นร้อนอย่างมากในทุกวันนี้ เพราะไม่ว่าข่าวช่องไหนก็จะเลี่ยงที่จะไม่ฟังก็ไม่ได้เลย  และล่าสุดก็มีที่พูดกันว่าคนที่มีรถขับก็คงต้องทุกข์เดือดร้อน เพราะ ปตท เป็นเพราะมีคนโลภมาก+ขี้โกง+มีอำนาจ จะอยากได้ในสิ่งที่ต้องการมากๆ สามารถทำผิด เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งก็รู้อยู่ว่าคนที่โลภมากขี้โกง เมื่อมีอำนาจ ก็จะคิดค้นกลโกงต่างๆ เพื่อสนองตัญหาความโลภมากขี้โกงของตัวเองและผลร้ายจากการโกง ก็จะตกลงมาอยู่ที่ “ประชาชน” การลอยตัว LPG คือเรื่องหนึ่งที่คนไทยถูกโกงอย่างหน้าด้านๆจากกลุ่มผู้มีอำนาจที่โลภมากขี้โกง เราผลิต LPG ได้เพียงพอใช้กับคนไทยเจ้าของทรัพยากร แต่ภาคปิโตรเคมีของกลุ่มปตท.มาแย่งใช้ จนทำให้ภาพรวมไม่พอใช้ ต้องนำเข้า แทนที่หน่วยงานของรัฐ จะภาคให้ปิโตรเคมีรับผิดชอบ กลับผลักภาระมาให้ประชาชน ด้วยการลอยตัวภาคครัวเรือน และภาคขนส่ง ส่วนภาคปิโตรเคมีตัวการสำคัญที่ทำให้ไม่พอใช้ กลับไม่ยอมลอยตัวของ LPGในส่วนของปตท.เอง ก็มีศักยภาพในการสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่ม แต่ก็ไม่ยอมสร้าง เพราะต้องการให้ LPG ไม่พอใช้ จะได้เอามาเป็นข้ออ้างในการลอยตัว และเหตุผลหนึ่งในการลอยตัวของก๊าซหุงต้มก็คือ เพื่อความเป็นธรรมกับผู้ใช้น้ำมัน ประมาณว่าเมื่อลอยตัวแล้ว จะเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมัน LPG ถูกลง แต่ลอยตัวมาจะเข้าสู่เดือนที่ 9 […]


  • ยกเลิกกองทุนน้ำมัน แก้ไขปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืนได้จริงหรือ??

    หลังจากที่มีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านการยกเลิกกองทุนน้ำมันออกมามากมาย จนทำให้หลายคน เกิดความสงสัยกับเจ้ากองทุนน้ำมันว่ามันคืออะไร และถ้ายกเลิกไปแล้วมันจะทำให้อะไรๆ  ดีขึ้นจริงเหรอ วันนี้เรามาหาคำตอบไปพร้อม กันนะครับ ก่อนอื่นผมขอเล่าประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของกองทุนน้ำมันโดยย่อแล้วกันว่า กองทุนน้ำมันจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522 ประเทศไทยประสบกับวิกฤติราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจาก OPEC ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ 4 ครั้ง  ซึ่งรัฐบาลโดยพลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีพยายามที่จะรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศให้มีเสถียรภาพไม่ต้องปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศให้มีเสถียรภาพ ไม่ต้องปรับราคาขายปลีกตามราคาน้ำมันดิบทุกครั้งที่ราคาน้ำมันดิบเปลี่ยนแปลง และต้องการรวมกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกัน จึงได้อาศัยอำนาจพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. 0201/9 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522  จัดตั้ง กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งรวมกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง กับกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อใช้เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ ในกรณีที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อน ของประชาชน น้อยที่สุด ในปี 2534 รัฐบาลได้ยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซลและเตา โดยเหลือเพียงก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ) ที่ยังคงมีการควบคุมราคาอยู่ […]


  • พลังงานไทยตอนที่ 6 : ความจริงเกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี

    พลังงานไทยตอนที่ 6 : ความจริงเกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี

    “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” และ “กลุ่มทวงคืน ปตท” ยังมีประเด็นโจมตีรัฐบาลที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือนโยบายก๊าซแอลพีจี ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในประเทศไทยได้มาจาก 3 แหล่งคือโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น)ได้จากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศสาเหตุหนึ่งของราคาน้ำมันแพงในประเทศไทยคือ การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีเช่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 น้ำมันเบนซินมีราคาขายปลีกลิตรละ 45.15 บาท เป็นเงินสมทบกองทุนฯ ถึง 9.70 บาทขณะที่น้ำมันดีเซลต้องจ่ายเข้ากองทุนฯ ลิตรละ 3.40 บาท แก๊ซโซฮอล95 E10 สมทบลิตรละ 3.50 บาทประมาณตัวเลขในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 มีเงินเข้าสมทบกองทุนฯ ทั้งสิ้น 254.58 ล้านบาท โดยได้จากน้ำมันดีเซลมากที่สุดคือ 192.20 ล้านบาทจากน้ำมันเบนซิน 18.62 ล้านบาท น้ำมันก๊าซโซฮอล95 E10 จำนวน 30.42 ล้านบาทและน้ำมันก๊าซโซฮอล91 E10 จำนวน 12.74 ล้านบาทรัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนฯสูงมากเพราะเหตุใด? ผลก็คือประเทศไทยจากที่เคยผลิตก๊าซแอลพีจีเหลือใช้และส่งออกได้ถึงวันละ […]


  • NGV นั้นดียังไง…ทำไมต้องเป็น NGV

    NGV นั้นดียังไง…ทำไมต้องเป็น NGV

    1.ประหยัด การใช้ NGV จะช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง เนื่องจาก NGV เป็นเชื้อเพลิงที่มีอยู่ภายในประเทศ   และมีราคาจำหน่ายถูกที่สุด  โดยปัจจุบัน NGV จำหน่ายอยู่ที่ 10.50 บาท/กิโลกรัม ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนการปรับขึ้นราคาจำหน่ายของ NGV  จะสามารถปรับตัวขึ้นได้แบบค่อยๆ ทยอยปรับขึ้น ในลักษณะแบบขั้นบันได ทั้งนี้จะต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน อย่างไรก็ตามราคา NGV จะขายสูงสุดได้ไม่เกิน 50 % ของราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ แล้ว NGV จะมีราคาจำหน่ายถูกกว่าดังต่อไปนี้    (เปรียบเทียบจากราคาจำหน่ายเชื้อเพลิง ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2556) –  เปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน 95        ราคา NGV จะถูกกว่า 73% –  เปรียบเทียบกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95  ราคา NGV จะถูกกว่า […]


  • อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    ปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พล ท. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าอินโดนีเซียอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศมากเกินไป จนกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจของประเทศ โดยปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค เพราะไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย จากการขยายตัวของพลเมืองที่สูงเป็นอันดับสี่ของโลก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ตลอดจนนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานอย่างยาวนาน จนทำให้ราคาพลังงานต่ำจนเกินไป เกิดการบริโภคพลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และไม่มีประสิทธิภาพ ข้อสำคัญราคาพลังงานที่ต่ำจนเกินไป ทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียเสพย์ติดพลังงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะลดการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน ก็จะเกิดแรงต้านจากภาคประชาชน จนกระทั่งเกิดการจลาจล กลายเป็นปัญหาทางการเมือง จนบางครั้งถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเช่นในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นต้น แม้แต่ในสมัยของรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยเจอกับปัญหาการก่อจลาจลจากการขึ้นราคาน้ำมัน(ลดการอุดหนุนราคา)มาแล้ว จนต้องลดราคาลงมาหลังจากขึ้นไปได้ไม่นาน จึงยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าเที่ยวนี้รัฐบาลจะทำไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เรื่องการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากในทุกประเทศ และดูจะเห็นตรงกันว่า ถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานเหลือเฟือ ชนิดที่ว่าใช้กันไปอีกร้อยปีก็ยังไม่หมด และเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ (ส่งออกมากกว่านำเข้า) […]


  • ภาษีคนไทย – กำไรเอกชน ปตท เป็นโจรปล้นชาติ จริงหรือ?

    ภาษีคนไทย – กำไรเอกชน ปตท เป็นโจรปล้นชาติ จริงหรือ?

    วิพากย์วิจารณ์กันต่างๆนานา ว่าจริงๆแล้วปตท นั้นมาเก็บค่าท่อนำก๊าซกับประชาชนก็เพื่อหวังกำไร การลงทุนทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องหวังกำไร ปตท ก็เช่นกันเพราะปตท ก็คือธรุกิจค้าน้ำมัน อีกทั้งทำไมปตท ต้องขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีด้วยล่ะ ทั้งๆที่ตอนแรกก็ถูกดีอยู่แล้ว? แล้วในเมื่อประเทศไทยก็ผลิตก๊าซ LPG เองได้ แล้วจะนำเข้ามาอีกทำไม? • ปตท. ไม่ได้นำทรัพย์สินของรัฐไปหาประโยชน์จากการจ่ายค่าเช่าท่อให้รัฐถูกๆ แล้วคิดค่าท่อกับประชาชนแพงๆ รายได้จากค่าผ่านท่อที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่เกี่ยวข้องกับการจ่ายคืนค่าเช่า 1,335 ล้านบาท และ ปตท. ไม่ได้นำค่าเช่าดังกล่าวมาคำนวณเป็นค่าผ่านท่อ แต่เป็นภาระที่ ปตท. รับไว้แต่เพียงผู้เดียว • รายได้ค่าผ่านท่อที่เพิ่มขึ้น 2,000 ล้านบาทเป็นรายได้จากการลงทุนขยายท่อส่งก๊าซฯ ระบบใหม่ และลงทุนเพิ่มในการบำรุงรักษาท่อปัจจุบันให้มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 15 ปี รายได้ในส่วนนี้ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นจากการลงทุนระบบท่อใหม่และการบำรุงรักษาเพิ่มอีก และที่สำคัญรายได้ส่วนนี้คิดเป็นเพียง 1% ของเงินลงทุนที่ ปตท. ลงไปเท่านั้น ปตท ขูดรีดคนไทย แล้วทำไมเราคนไทยแท้ๆ ไม่เห็นเคยรู้เรื่องนี้เลยล่ะ • ปตท จะขูดรีดคนไทยได้ยังไง ในเมื่อหลักการคำนวณราคาก๊าซฯ และค่าผ่านท่อได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และได้เผยแพร่เป็นประกาศโดย กพช. ใน Website สนพ. […]