Articles Posted in the " เจ้าของ ปตท คือใคร " Category

  • ถามตอบไป ใครล่ะ ที่ถือหุ้นใหญ่ ปตท.

    ถ้ามีคนตั้งคำถาม ว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เป็นบริษัทที่จำเป็นต้องสร้างกำไรใช่หรือไม่ เราคงได้แต่ยอมรับในความเป็นจริง เพราะมันปฎิเสธไม่ได้เลยว่า “เงิน” เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ยิ่งเป็นธุรกิจที่มีการระดมเงินทุนจากมหาชน ซึ่งความขาดหวังในผลตอบแทนยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่หากจะถามว่าการที่เป็นบริษัทมหาชน ความคาดหวังในผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นค่อนข้างสูง จำเป็นหรือไม่ที่บริษัทที่จะต้องทำทุกวิธีทางเพื่อสร้างกำไรอย่างมหาศาล อันนี้ก็คงตอบได้อย่างชัดเจนว่า “ไม่” ตัวเลขกำไรสุทธิ 6.61% (ปี 2017) , 5.05% (ปี2018) และ 4.84% ในปีปัจจุบัน ตอบคำถามในตัวของมันได้ดียู่แล้วว่ากำไรของบริษัทนั้นมากมายมหาศาล แบบที่ใครๆ หลายคนชอบตั้งคำถามกับ ปตท. ว่า ปตท. กำลังทำเพื่อ … ด้วยตัวเลขกำไรนี้แปลว่า ทุกการลงทุน 100 บาท ปตท. จะได้รีเทิร์นเป็นกำไรกลับมาประมาณ 5 บาท กว่าๆ มันดูเป็นตัวเลขมหาศาลจริงหรือ? เราอาจต้องเปิดใจและยอมรับความจริง ว่า ปตท. คือบริษัทที่มีสวมหน้ากากสองใบ อยู่ในองค์กรเดียวกัน ในหน้าหนึ่ง ปตท. คือบริษัทที่มีรัฐถือหุ้นใหญ่ และมีส่วนในการควบคุมดูแล ผ่านการที่รัฐส่งคนของรัฐเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในผู้บริหาร ปตท. ในหน้าส่วนนี้ ปตท. […]


  • หุ้นปตท.แท้จริงเป็นของใคร?

    แม้ว่าประเทศจะผ่านความขัดแย้ง พยายามเข้าสู่การปรองดองมาพักใหญ่ แต่ชื่อของนักการเมืองบางคนยังถูกกล่าวถึงและใช้เป็นเครื่องมืออยู่เสมอ โดยเฉพาะหุ้น ปตท. ทั้งตัวนักการเมืองเองหรือคนสนิทรอบข้าง ที่ต่างมีการพยายามโยงว่าเป็นการถือผ่านนอมินีบ้าง ผ่านคนสนิทบ้าง พอเห็นกระแสข่าวเรื่องรัฐมนตรีพลังงานกับกรณี ปตท.ที่จะเอาบริษัทในเครือเข้าตลาดหลักทรัพย์ เลยคิดถึงเรื่องการถือครองหุ้นของปตท.ว่าทำไมรัฐบาลถึงสั่งปตท.ได้ ซึ่งผมก็หาข้อมูลมาได้ดั่งตารางข้างล่างนี้ หากเรามาดูรายชื่ออันดับผู้ถือหุ้นของปตท. ก็จะเห็นว่าสัดส่วนของรายชื่อที่เป็นสังกัดของรัฐบาลไทยมีกระทรวงการคลัง, กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน), กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด(มหาชน)และสำนักงานประกันสังคม รวมๆกันอยู่ที่ 64.70% หลายๆคนที่ไม่เคยลงทุน คงจะสงสัยชื่อ NVDR ผมขออธิบายง่าย ๆนะครับ NVDR เอ็นวีดีอาร์หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นชื่อว่า “บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด” (Thai NVDR Company Limited) เอ็นวีดีอาร์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ (Automatic List) วัตถุประสงค์หลักของเอ็นวีดีอาร์ คือเพื่อกระตุ้นการลงทุนและเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดหลักทรัพย์และเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนชาวต่างประเทศ ที่สนใจลงทุนในบริษัทจดทะเบียนแต่อาจไม่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์นั้นได้ อันเนื่องมาจากการควบคุมสัดส่วนการถือครองหหลักทรัพย์ของคนต่างด้าวที่ระบุไว้ตามกฎหมายไทย ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนเช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียน แต่ผู้ถือเอ็นวีดีอาร์จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (Non-Voting Rights) (https://www.set.or.th/nvdr/th/about/whatis.html) SOUTH […]


  • ทักษิณเกี่ยวอะไรกับหุ้น ปตท.

    ย้อนกลับไปในอดีตในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้แปรสภาพเป็นบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน พร้อมที่จะดำเนินการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ แต่เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นมาเสียก่อน นั้นคือเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 (ไนน์วันวัน) เป็นการการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐ ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามจากฝั่งตะวันออกกลางอัลกออิดะฮ์จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ โจรจี้เครื่องบินนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าวและไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ (ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/วินาศกรรม_11_กันยายน) จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นตกทั่วโลก หุ้นไทยที่ตกต่ำสุดขีดหลังวิกฤติอยู่แล้ว และก็ทำท่าว่าจะกระเตื้องเพราะมีข่าว IPO ของหุ้นปตท. แต่ก็กลับตกลงไปอีก […]