ขึ้นราคา lpg ประเทศเพื่อนบ้านขายก๊าซ LPG ราคา ถังละเท่าไหร่? ใครรู้บ้าง?
ทุกครั้งที่การปรับขึ้นราคา lpg หลายคนมักมีคำถามมาว่า ทำไมต้องปรับแล้วปรับเผื่ออะไร ทั้งที่เศรษฐกิจโดยรวมก็ไม่ดีไม่แย่ ทำไมต้องทำร้ายแม่ค้าขายอาหารตาดำ และมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายที่ต้องรับผิดชอบค่าอาหารจานด่วนที่เพิ่มขึ้น เมื่อยามขึ้นราคา lpg แต่ในยามที่ก๊าซlpgปรับลง ค่าอาหารกับไม่ได้ปรับตามไปด้วย นั้นเองจึงเป็นที่มาของเรื่องที่จะเล่าในวันนี
เรามาดูกันดีกว่าว่า ประเทศเพื่อนบ้านขายก๊าซ LPG ราคา ถังละเท่าไหร่? ใครรู้บ้าง?
ก่อนการปรับโครงสร้างราคา เมื่อเข้าสู่ AEC ผู้ขายจะมีความต้องการขายออกนอกประเทศมากกว่า เนื่องจากราคาขายในประเทศถูกกว่าส่งออกค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้า LPG อยู่ 15% หากมีการส่งออกมาก ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น การปรับโครงสร้างราคา LPG ให้ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ใน AEC จึงเป็นการลดอุปทานในการส่งออก
LPG มีเสถียรภาพทางราคา และต้นทุนการผลิต LPG ถูกลงในระยะยาว ตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าขึ้นราคา LPG แล้ว จะบอกว่ามันถูกลงได้อย่างไร ขออธิบายว่า ราคา LPG แต่ก่อนเกิดจากนโยบายที่รัฐอุดหนุนราคา LPG ทำให้ราคาที่ใช้อยู่เป็นราคาที่ถูกเกินจริง ภายหลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างราคาจึงทำให้ราคา LPG ปรับตัวสูงขึ้น หากแต่ด้วยนโยบายใหม่นี้จะทำให้ราคา LPG ในระยะยาวมีเสถียรภาพมากขึ้น และมีโอกาสปรับตัวลดลง
– ราคา LPG ที่ผลิตได้ในประเทศมีต้นทุนที่ถูกกว่าการนำเข้า มากกว่าเท่าตัว การปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ ทำให้ผู้ขายมีความต้องการขายออกนอกประเทศน้อยลง เป็นผลให้มีการนำเข้า LPG น้อยลงด้วย
– การปรับโครงสร้างราคาใหม่เป็นการกระตุ้นให้ผู้ขายมีความต้องการขยายการผลิต LPG มากขึ้น ทำให้มี LPG ในตลาดมากขึ้น เป็นการลดการนำเข้า LPG ที่มีต้นทุนราคาสูง ราคาซื้อตั้งต้นของ LPG ทุกภาค ลดลง
– ก่อนปรับโครงสร้างราคา ภาคเชื้อเพลิงเป็นผู้รับภาระในส่วน LPG นำเข้าเท่านั้น (เนื่องจากผู้ขายอยากขาย LPG ให้ภาคปิโตรเคมีมากกว่า) เมื่อราคาตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลให้ประชาชนรับภาระมากขึ้น
ที่กล่าวมาเป็นผลประโยชน์ในระยะยาวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะการที่จะให้รัฐช่วยพยุงราคา ตลอดไปคงเป็นไปไม่ได้ ประชาชนเองควรศึกษาความสำคัญของการปรับโครงสร้างและวางแผนวิธีการรับมือ เพื่อให้การปรับราคา LPG ในครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจในกระเป๋าตัวเองมากเกินไป