ข้อมูลอีกด้านการส่งออกน้ำมันในคลิป ทวงพลังงาน สะท้าน ปตท.
เรื่องคลิปที่มีการแชร์กันเยอะแยะในช่วงราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น ในคลิปมีการหยิบเอาการสนทนาเรื่องการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป และได้มีการตีความกันไปต่างๆ นานา จึงนำมาขยายข้อมูลอีกด้าน
- ตามหลักการทำธุรกิจไม่ว่าธุรกิจใดๆก็ตาม ถ้ากำลังการผลิตสูงกว่าความต้องการ ผู้ผลิตมีทางเลือกอยู่สองทาง คือ
1.1 ลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ซึ่งแน่นอนจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงขึ้น และถ้าผลักภาระให้ผู้บริโภคได้ ก็ผลักภาระไป ผู้บริโภคก็ต้องซื้อสินค้าในราคาแพงขึ้น
1.2 ผลิตให้เต็มกำลังการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง ผู้บริโภคก็จะได้ใช้สินค้าในราคาที่ถูกลง ส่วนสินค้าส่วนเกินความต้องการในประเทศ ก็ไปหาตลาดในต่างประเทศ (ซึ่งจะมีทั้งราคาที่สูงและต่ำกว่าราคาในประเทศ) ดังนั้นราคาส่งออกจึงมีทั้งสูงและต่ำกว่าราคาในประเทศ (ไม่ใช่ต่ำกว่าทั้งหมด) ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากขายหรือไม่2. นี่คือเรื่องธรรมดาของการทำธุรกิจที่ต้องสนองความต้องการของตลาดหลักก่อน แล้วส่วนเกินจึงเลือกว่าจะผลิตหรือไม่ ถ้าต้องการ economy of scale ก็ต้องผลิตเต็มที่ แล้วไปหาตลาดเพิ่ม ซึ่งอาจต้องใช้ราคาเป็นตัวบุกเบิกตลาด
ถ้าจะมากำหนดว่าถ้าไปขายต่างประเทศราคาถูก ก็จะต้องลดราคาในประเทศให้เท่ากัน ผู้ผลิตก็มีทางเลือกที่จะลดการผลิตให้พอดีกับความต้องการ ไม่ต้องเหนื่อยยากไปบุกเบิกตลาดใหม่ๆในต่างประเทศ และผลักภาาะต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับผู้บริโภคไป
3. วิธีการอย่างนี้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตได้มากกว่าความต้องการเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ ข้าว น้ำตาล ปูนซีเมนต์ ผลผลิตส่วนเกินความต้องการล้วนแต่ต้องส่งออกทั้งสิ้น และบางครั้งก็ต้องส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายในประเทศ อย่างเช่น ข้าว เป็นต้น
4. ราคาน้ำมันที่โรงกลั่นขายก็มาหลายราคา
4.1 ราคาตามสัญญา ราคานี้จะเป็นราคาที่อ้างอิงราคาที่สิงคโปร์ ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ตอนสร้างโรงกลั่น เพื่อให้ผู้ลงทุนมีความมั่นใจ ว่าสร้างแล้วจะมีลูกค้าแน่ๆ
4.2 ราคานอกเหนือสัญญา ราคานี้จะขึ้นลงตามการแข่งขันในตลาด และอาจต่ำกว่าราคาส่งออกมากด้วยซ้ำไป ราคานี้จะมีส่วนทำให้ตลาดนำ้มันทั้งขายส่งและขายปลีกมีการแข่งขันกันมากขึ้น
ข้อมูลจาก http://energythaiinfo.blogspot.com/2018/06/exportoil.html