ข้อเท็จจริง ปตท กำไรแสนล้านเพราะส่งออกน้ำมันเงินดีกว่าข้าว
• เวลาเราพูดถึงน้ำมันเราต้องเข้าใจก่อนว่าน้ำมันแบ่งออกเป็นน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป
• ดังนั้นการส่งออกน้ำมันก็มาจาก 2 ส่วนเช่นกัน คือ การส่งออกในรูปของน้ำมันดิบ : ส่วนที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะกับโรงกลั่นไทย การส่งออกในรูปน้ำมันสำเร็จรูป : ส่วนที่ผลิตได้เกินกว่าความต้องการใช้ในประเทศแต่ต้องไม่ลืมว่าน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นวัตถุดิบคือน้ำมันดิบที่มาจากการนำเข้า เพราะประเทศไทยเราผลิตได้ไม่พอกับความต้องการใช้ โดยในปี 2554 เราต้องนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 977,374 ล้านบาท
• แต่ข้าวเป็นผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกภายในประเทศ ซึ่งต่างจากน้ำมันดิบ
• ดังนั้นการเปรียบเทียบไม่ว่าจะเปรียบเทียบ “อะไร” ก็ควรจะเทียบจากฐานเดียวกัน เช่น จะเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกข้าวกับการมูลค่าส่งออกน้ำมัน ก็ควรจะเทียบจากสิ่งที่เราผลิตได้ภายในประเทศเหมือนกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า น้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการส่งออกข้าว และข้าวก็ยังคงเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย โดยข้อมูลจาก สนพ. ในปี 2554 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกพลังงาน 3 แสนล้านบาท แต่ต้องนำเข้าถึง 1.2 ล้านล้านบาท ขาดดุลถึง 9 แสนล้านบาท แต่มูลค่าการส่งออกข้าว 2 แสนล้านบาท ได้มาจากความสามารถในการผลิตข้าวมากกว่าความต้องการใช้เพื่อบริโภคในประเทศ จึงมีเหลือส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศ
• และเช่นเดียวกัน การจะเปรียบเทียบมูลค่าส่งออกน้ำมันของไทยกับเอกวาดอร์ ก็ต้องเปรียบเทียบจากฐานเดียวกัน จะไม่ว่าเลยถ้าจะเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออก “กล้วยหอม” ของไทยกับเอกวาดอร์ เพราะเป็นสินค้าที่ผลิตได้จากในประเทศเหมือนกัน การเปรียบเทียบจึงอยู่บนฐานเดียวกัน ต่างกับน้ำมันเพราะน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปที่เอกวาดอร์ส่งออก ล้วนแต่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรในประเทศทั้งสิ้น ในขณะที่มูลค่าการส่งออกน้ำมันของไทยหลักๆ นั้นมาจากน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งต้องใช้น้ำมันดิบจากการนำเข้า เพราะถ้าคิดจะเอามาเปรียบเทียบแบบนี้ ต่อไปคงจะมีคนเข้าใจผิดคิดไปว่าทำไมไทยไม่ชวนสิงคโปร์ซึ่งก็มีน้ำมันสำเร็จรูปส่งออกเหมือนกัน ไปสมัครเข้ากลุ่ม OPEC บ้าง
อย่างไรก็ตามปัญหาจากราคาน้ำแพงกลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายมุ่งโจมตี ปตท ว่าปตท กำไรแสนล้านบ้าง ปตท ขี้โกงบ้าง แล้วเราทราบข้อมูลที่แท้จริงหรือ?? จึงทำให้หลายฝ่ายต่างหาเหตุผลที่จะนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อเท็จจริง แท้จริงแล้วเราจะเห็นได้ว่าความต้องการของแต่ล่ะประเทศนั้นต่างกัน เพราะฉะนั้นการที่เราจะเปรียบเทียบอะไรเราควรมีข้อมูลที่ชัดเจนและควรเปรียบเทียบบนฐานเดียวกัน