คนไทยถูกปตท ปล้นเงียบหรือว่าความจริงถูกบิดเบือน?

หลายๆคนสงสัยว่า ไทยผลิตก๊าซได้อันดับที่ 23 ของโลกอ้างอิงจาก Energy Information Administration ของอเมริกา แต่อ้างว่านำเข้าก๊าซในราคาสูง

แม้ว่าประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซฯ ได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลกตามข้อมูลของ EIA http://www.eia.gov/countries  แต่ทราบหรือไม่ว่าเราสามารถผลิตก๊าซ ได้เพียง 1.1% ของการผลิตก๊าซฯทั่วโลกเท่านั้น ในขณะที่อเมริกา รัสเซีย  ผลิตได้ถึง 19.3% และ 18.4% เพียงแค่ 2 ประเทศ รวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก แล้วจะเรียกว่าเราผลิตก๊าซฯ ได้เยอะได้อย่างไร ไม่เชื่อลองเข้าไปดูใน www.bp.com/statisticalreview

 

นอกจากนั้นจาก website EIA เช่นกันที่บอกว่า ในขณะที่เราผลิตก๊าซฯ ได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลกแต่เรามีปริมาณการใช้ก๊าซฯสูงเป็นอันดับ 20 ของโลก และเป็นผู้นำเข้าอันดับที่ 21 ของโลกเลยที่เดียว

ปตท จะปล้นเงียบ ได้อย่างไร ในเมื่อจากข้อมูลของ สนพ. ในปี 2554 ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซฯ ได้เพียง 3,581 MMSCFD แต่เรามีปริมาณการใช้ก๊าซ ถึง 4,143 MMSCFD พูดง่ายๆก็คือ เราใช้มากกว่าเราผลิตได้ เพราะอย่างนี้เราจึงต้องนำเข้าก๊าซฯจากต่างประเทศ จำนวน 928 MMSCFD  ถึงจะเพียงพอกับความต้องการใช้ของเรา

ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งก็คือเราต้องนำเข้าก๊าซฯจาก พม่าตั้งแต่ปี 2541 และเพราะความต้องการใช้พลังงานของเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงตอนนี้ก๊าซฯ จากประเทศเพื่อนบ้านก็ยังไม่พอ ดังนั้นในปี 2554 เราจึงต้องนำเข้าก๊าซฯ ในรูปของของเหลว หรือ LNG (Liquefied Natural Gas)  ที่ต้องผ่านการควบแน่นให้เป็นของเหลว และขนมาไกลจากตะวันออกกลางทำให้ก๊าซฯมีราคาแพงนั่นเอง

Source: http://www.eia.gov/countries/country-data.cfm?fips=TH&trk=p1

 

เว็บไซต์ของอเมริกาแจ้งว่าประเทศไทยมีก๊าซเป็นอันดับสองของโลก แต่ทำไมคนไทยยังจนเหมือนเดิมหรืออาจจะมากกว่าเดิม

เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนอย่างมากที่บอกว่าประเทศไทยมีก๊าซฯ เป็นอันดับสองของโลก เพราะจากข้อมูลของ EIA เช่นกันที่พบว่าประเทศไทยมีปริมาณสำรองก๊าซฯที่พิสูจน์แล้วเป็นอันดับที่ 36 ของโลก โดยมีปริมาณสำรองประมาณ 12 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งคิดเป็นปริมาณสำรอง 0.17 % ของโลกเท่านั้น  อย่างนี้เราคงพูดไม่ได้ว่าเรามีใช้ก๊าซฯเหลือเฟือ

 

ไทยส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปปี 2551 มูลค่า 7,913  ล้านเหรียญ X 30 = ประมาณ 240,000 ล้านบาท นี่ใช่ไหมที่บอกว่าปตท ชาติชั่ว  

หากเราดูแต่ข้อมูลการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เราคงจะหลงนึกไปว่าประเทศไทยเป็นเศรษฐีน้ำมัน มีรายได้เป็นแสนล้านจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป แต่ความจริงก็คือ รายได้นั้นต้องต้องหักต้นทุนของการผลิตซึ่งส่วนใหญ่คือน้ำมันดิบ ที่เราต้องนำเข้ามาเกือบทั้งหมด เพราะประเทศไทยไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ ดังนั้นเราต้องนำเข้าน้ำมันดิบทั้งจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น  ตะวันออกกลาง ตะวันออกไกล และแหล่งอื่นๆ กว่า 85% ของการใช้  โดยอีก 15% เราใช้น้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งในประเทศ เมื่อหักลบต้นทุนจากน้ำมันดิบที่เราต้องนำเข้าแล้ว รายได้ของประเทศไทยจะได้เพียงค่าการกลั่นซึ่งประมาณลิตรละบาทกว่าๆเท่านั้น ซึ่งในปี 2553 เราส่งออกประมาณ 15,710 ล้านลิตร  หรือคิดเป็นเพียง 16,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งรายได้ดังกล่าวนี้ยังไม่ใช่กำไรสุทธิของการกลั่น เพราะยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายในการลงทุน และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกิดขึ้นจากการกลั่นเช่น ค่าเชื้อเพลิง ค่าดำเนินงาน และค่าดอกเบี้ย เป็นต้น

น้ำมันในอ่าวไทยเป็นเกรดที่แพงที่สุดในโลก เบา กลั่นง่าย มลพิษต่ำ เป็นที่ต้องการของประเทศที่พัฒนา เราส่งออกไปที่อเมริกา  เมื่อส่งออกแล้ว พลังงานขาดแคลนก็ไปนำเข้ามาจากตะวันออกกลาง ซึ่งกำมะถันสูง พอต้องกำจัดกำมะถัน ก็ไปขอค่าใช้จ่ายจากกองทุนเชื้อเพลิง เท่ากับว่าเอาของดีส่งออก แต่เอาของเสียเข้ามาใช้ในประเทศ แล้วยังต้องเสียเงินเพิ่มอีก อย่างนี้มันต้องชำแหละ ปตท

น้ำมันในอ่าวไทยไม่ใช่เกรดที่แพงที่สุดในโลก

น้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศไทยนั้นเป็นน้ำมันดิบชนิดเบาและกำมะถันต่ำจริง แต่ไม่ใช่น้ำมันดิบเกรดที่ดีที่สุด อีกทั้งมีข้อจำกัดด้านคุณภาพด้านอื่นอาทิ น้ำมันดิบที่มีปริมาณสารปรอทสูงมาก ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของน้ำมันดิบในอ่าวไทย นอกจากนั้นยัง มีคุณสมบัติ Pour Point สูง  ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการด้านขนส่งและการจัดเก็บ  จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงไม่เป็นที่ต้องการของตลาด

เราส่งออกไปที่อเมริกาเพียงบางส่วน

น้ำมันดิบที่ส่งออก ณ ปัจจุบัน ผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออกโดยตรงปริมาณ ประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน จากปริมาณการผลิตกว่า 150,000 บาร์เรลต่อวัน  โดยการส่งออกดังกล่าวเป็นการส่งออกน้ำมันดิบที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะกับความต้องการในประเทศ  เนื่องจากน้ำมันดิบมีสาร Organic chloride สูงทำให้โรงกลั่นในประเทศไม่สามารถนำเข้ากลั่นทั้งหมดได้

เพราะเราขาดแคลน จึงต้องนำเข้ามาจากตะวันออกกลาง หรือเป็นขบวนการปตท ปล้นเงียบ

กำลังการผลิตของน้ำมันดิบในประเทศ (Domestic Crude) ของปี 2553 นั้นคิดเป็นเพียง 16% ของความต้องการใช้น้ำมันดิบของประเทศ ดังนั้นประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบอีกว่า 800,000 บาร์เรลต่อวัน  โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางเนื่องจากเป็นแหล่งผลิตขนาดใหญ่ ประกอบกับคุณสมบัติที่สามารถผลิตน้ำมันดีเซลได้มาก (ซึ่งเป็นความต้องการหลักของประเทศ)  อีกทั้งยังคงมีราคาที่ถูกกว่าน้ำมันดิบจากภูมิภาคอื่น

จริงๆแล้ว จากข้อมูลข้างต้น เราก็ทราบถึงเหตุและผลที่ชี้แจงได้ว่าทำไมเราต้องนำเข้าก๊าซฯ ก็เพราะว่าปริมาณที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในประเทศทำให้ต้องนำเข้ามาจากประเทศอื่น หยุดทวงคืน ปตท แล้วมาร่วมมือกันใช้พลังงานอย่างประหยัดดีกว่า

Share This: