ตอบข้อสงสัย ค่าการตลาดน้ำมันสูงคืออะไร น้ำมันแพงได้ยังไง
ก่อนที่จะเริ่มพูดคุยถึง “ค่าการตลาดน้ำมัน” เราควรทราบถึงว่าน้ำมัน 1 ลิตร เราต้องจ่ายค่าอะไรบ้างได้แก่ ต้นทุนสินค้า (ราคาหน้าโรงกลั่น), ภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ, กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง, กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน, และ ค่าการตลาด ( Marketing Margin )
ค่าการตลาด( Marketing Margin ) คืออะไร
ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการคลังน้ำมัน
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้ำมันจากคลังน้ำมันไปยังสถานีบริการ
ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานทั่วไป การขายและการตลาด
ค่าใช้จ่าย ณ สถานีบริการ เช่น ค่าแรง พนักงาน ค่าเช่าที่ดิน และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
ฉะนั้นแล้ว การที่กล่าวว่า ค่าการตลาดสูง ( Marketing Margin ) ไปหรือไม่ ต้องพิจารณาจาก ค่าใช้จ่าย ดังกล่าวขั้นต้น ซึ่งโดยปกติค่าการตลาดเป็นตัวผกผันกับราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่น สอดคล้องกัน เช่น ในภาวะที่ราคาน้ำมันตลาดโลกตกต่ำ ค่าการตลาดจะสูงกว่าค่าเฉลี่ย กลับกันในภาวะที่ราคาน้ำมันตลาดโลกสูง ค่าการตลาดจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ไม่เพียงเท่านั้น ค่าการตลาดยังเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลเพิ่มลดอุปทานของผู้ประกอบการ กล่าวคือน้ำมันชนิดใดที่รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการปั๊มเปิดหัวจ่ายมากขึ้น ก็จะเพิ่มค่าการตลาดชนิดนั้นๆ เพื่อจูงใจผู้ประกอบการ เช่นในกรณี E85 เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาของสถาบันปิโตรเลียม พบว่าค่าการตลาดควรอยู่ในระกับเฉลี่ย 1.70 – 2 บาท ดังนั้นค่าการตลาดน้ำมันจึงมีทั้งช่วงที่มากกว่าค่าเฉลี่ย และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ไม่ใช่ความต้องการของผู้ค้าน้ำมันที่อยากขึ้นลงเมื่อไหร่ก็สามารถทำได้
*** ภาพแสดงช่วงราคาที่ค่าการตลาดอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
หากจะบอกว่าสินค้าราคา 25 – 40 บาท มีกำไรเบื้องต้นอยู่ที่ 2 – 3 บาท เป็นตัวเลขที่เกินไปหรือไม่ น้ำมันแพง ไหนจะภาษีน้ำมันที่เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอีก ยังไม่ต้องพูดถึงเหตุผลเรื่องอื่นๆ หากใครคิดว่า “ค่าการตลาดน้ำมันสูงเกินไป” คำถามคือ ถ้าตัวเลขนี้ถือว่ากำไรดี ทำไมท่านๆ ถึงไม่ลองเปิดปั๊มกันดูบ้าง