จริงหรือที่ปตท ฉวยโอกาส…? ที่เราต้องจ่ายแพงเพราะ “ขาดแคลน” พลังงาน
- เป็นความจริงที่สุด เพราะถึงแม้ว่าประเทศไทยพอมีทรัพยากรปิโตรเลียมอยู่บ้าง แต่เราไม่ใช่เศรษฐีพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ ยิ่งถ้าเอาไปเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นเศรษฐีน้ำมันชาติอาหรับ หรือแม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านเราบางประเทศ จะยิ่งเห็นว่าเรา “เทียบไม่ติด”
- ยกตัวอย่างง่ายๆ ซาอุดิอาระเบีย มีก๊าซฯ สำรองมากกว่าเรา 7 เท่า มีน้ำมันสำรองมากกว่าเรา 600 เท่า!!!! ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียก็มีก๊าซฯ สำรองมากกว่าเรา 7.5 เท่า มีน้ำมันสำรองมากกว่าเราถึง 9 เท่า (ข้อมูล EIA)
- จริงอยู่ที่เราจะผลิตปิโตรเลียมได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นก๊าซฯ น้ำมันดิบ ถ่านหิน แต่เมื่อคิดรวมกันแล้วเราผลิตได้ประมาณ 1,000,000 บาร์เรล/วัน หรือเพียง 55% ของความต้องการใช้พลังงาน ทำให้เรายังต้องนำเข้าพลังงานทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันดิบ ถ่านหิน หรือแม้กระทั่งก๊าซฯ เรียกได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซฯ สูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค รองจากประเทศสิงคโปร์
- ปตท ฉวยโอกาส? ทำให้ปีหนึ่งๆ เราต้องเสียเงินในการนำเข้าพลังงานมหาศาลกว่า 1.2 ล้านล้านบาท* หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555
- ที่ว่ากาตาร์เป็นเศรษฐีน้ำมันแต่ทำไมผลิตก๊าซฯ น้อยกว่าเรา คำตอบก็คือประเทศกาตาร์มีประชากรไม่ถึง 2 ล้านคน น้อยกว่าเรา 35 เท่า! ดังนั้นการที่กาตาร์สามารถผลิตพลังงานได้พอๆ กับเรา ก็มากเกินความต้องการใช้ในประเทศ ทำให้มีเหลือเพื่อส่งออก ซึ่งต่างกับไทยเพราะปริมาณการผลิตเท่ากันแต่คนใช้ 70 ล้านคน เพราะฉะนั้นการจะหยิบเอาแต่แค่ปริมาณตัวเลขเพียงด้านเดียวโดยละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญคือจำนวนประชากรของประเทศมาพิจารณาประกอบจะทำให้หลงเข้าใจผิดได้
- นอกจากนั้นการที่จะดูว่าใครเป็นเศรษฐี คงไม่ดูแค่ว่ามีการผลิตออกมาใช้เท่าไหร่ แต่ต้องดูที่ปริมาณสำรองด้วย ซึ่งจะเห็นว่า กาตาร์มีน้ำมันดิบสำรองมากกว่าไทย 58 เท่า ก๊าซฯ สำรองมากกว่าไทย 81 เท่า! อย่างนี้ยังจะเชื่ออีกเหรอว่าเราร่ำรวยแบบกาตาร์?
สรุปง่ายๆเลยก็คือ กำลังการผลิตน้ำมันดิบของเรามีไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ ทำให้เราต้องนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อให้ประชากรในประเทศในพลังงานกันอย่างเพียงพอ เพียงแค่คุณเปิดใจยอมรับ ก็จะทำให้คุณเข้าใจในกลไกราคาน้ำมันได้มากขึ้น