ตอบทุกข้อกล่าวหา..หลังจากรัฐบาลประกาศขึ้นราคาขายปลีก LPG

จับเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ทำไมต้องขึ้นราคา LPG

    หลังจากที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือน 50 สตางค์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 แต่ “บริษัท ปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ซื้อ LPG ได้ในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้าน” นายไพรินทร์ชี้แจงว่า ก่อนที่จะพูดว่า ปตท. ขายให้ใครถูกหรือแพงต้องเข้าใจก่อน โครงสร้างราคาซื้อ-ขายก๊าซ LPG หลักๆ มี 3 ราคา ดังนี้

    1.  ราคาขายหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงกรกฎาคม-มิถุนายน 2556 ปตท. ขาย LPG เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกิโลกรัมละ 10.20 บาท, ขายให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบกิโลกรัมละ 17.30 บาท

    2.  ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อ กรณีภาคครัวเรือนซื้อที่ราคา 18.10 บาท/กิโลกรัม ภาคขนส่งซื้อที่ราคา 21.40 บาท/กิโลกรัม

    3.  ภาคปิโตรเคมีซื้อ LPG ต้องใช้ราคาเฉลี่ย เพราะซื้อจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติกิโลกรัมละ 19.50 บาท ซื้อจากโรงกลั่นน้ำมันกิโลกรัมละ 28.30 บาท

LPG-หน้าโรงแยกก๊าซ 

    จะเห็นได้ว่าราคาที่โรงแยกก๊าซของ ปตท. ขายกับบริษัทปิโตรเคมี กับราคาที่บริษัทปิโตรเคมีจ่ายเงินซื้อเป็นคนละราคากัน ส่วนราคาที่โรงแยกก๊าซขายให้ภาคกับครัวเรือนและขนส่งไปใช้เป็นเชื้อเพลิงก็ เป็นคนละราคาเช่นกัน แต่กลุ่มผู้คัดค้านนำราคาคนละฐานมากล่าวโจมตี ปตท. ทำไมไม่พูดถึงราคาที่โรงแยกก๊าซขายให้กับภาคครัวเรือนและขนส่งที่ราคา 10.20 บาท/กิโลกรัม ราคาขาย LPG หน้าโรงแยกก๊าซกิโลกรัมละ 10.20 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 18.10 บาท/กิโลกรัม ส่วนต่างราคาที่เพิ่มขึ้นไม่เกี่ยวกับ ปตท. เป็นค่าภาษี และเงินนำส่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของ ปตท. หากจะเปรียบเทียบราคาต้นทุน LPG ว่าใครซื้อถูก ใครจ่ายแพง ควรใช้ราคา 10.20 บาท/กิโลกรัม เปรียบเทียบกับราคา 17.30 บาท ถึงจะถูกต้อง ถ้าเปรียบเทียบอย่างนี้ ก็มีประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ สาเหตุที่ทำให้ราคาขายปลีก LPG เกิดความแตกต่างมีปัจจัยอะไรบ้าง

    ตัวแรก คือ เรื่องภาษี ถ้าซื้อ LPG เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ตามหลักสากลใช้ระบบภาษีสรรพสามิต แต่ถ้าซื้อไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หลักในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตทั่วโลกจัดเก็บจากสินค้าที่เป็นอันตรายต่อ ร่างกาย, สินค้าฟุ่มเฟือย สิ้นเปลือง ใช้แล้วหมดไป อย่างเช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ผู้บริโภคซื้อมาแล้วใช้ทันที ส่วนปิโตรเคมีซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ทันที แต่ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าต้นน้ำ เช่น เม็ดพลาสติก เส้นใยนำไปผลิตเป็นเสื้อ ตามหลักสากลใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมาจับ กว่าจะกลายเป็นสินค้าสำเร็จรูปปลายทาง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับรัฐเป็นจำนวนมากเหมือนกัน แต่ถ้าใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงเก็บ VAT ได้ครั้งเดียว นายไพรินทร์กล่าว “การขึ้น LPG เป็นนโยบายของรัฐ ขึ้นราคา LPG ครั้งนี้ ปตท. ไม่ได้อะไรเลย เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กองทุนน้ำมัน แต่ผมโดนหนักเลย”

    ตัวที่สอง คือ เป็นเงินที่ต้องหักนำส่งกองทุนน้ำมัน ซึ่งทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน รัฐบาลเก็บจากปิโตรเคมีกิโลกรัมละ 1 บาท ถามว่าเก็บน้อยไปหรือไม่ นายไพรินทร์ตอบว่าเป็นคนละเรื่อง และถือว่าผิดวัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันด้วย ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมี ไม่ควรนำ LPG มาใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ควรใช้เป็นเชื้อเพลิง พูดอย่างนี้ประเทศก็ไม่เจริญ เพราะวันนี้แม้แต่ยา อาหาร ไอศกรีมกลิ่นวนิลา สตรอว์เบอร์รี่ ก็ทำมาจากปิโตรเคมี เพราะไม่มีใครไปปลูกวนิลาจำนวนมากมาทำไอศกรีม “ปัญหา คือ กลุ่มผู้คัดค้านใช้ตัวเลขคนละฐานมาเปรียบเทียบกัน โดยนำราคาที่โรงแยกก๊าซขายให้ปิโตรเคมีเปรียบเทียบกับราคาขายปลีกภาคครัวเรือน จริงๆ โรงแยกก๊าซของ ปตท. ขายถูกมาก แต่กว่าจะส่งถึงมือผู้บริโภค ต้องเสียภาษีและจ่ายเงินเข้ากองทุนตามหลักการที่กล่าวมาข้างต้น”

หน้า-6 

    ข้อกล่าวหาต่อมาเคยได้ยินหรือไม่ปตท ส่งออกน้ำมัน ปตท. ขายน้ำมันในประเทศลิตรละ 40 บาท แต่ส่งออกไปขายต่างประเทศลิตรละ 25 บาท ข้อเท็จจริงคือน้ำมัน 1 ลิตร ต้นทุนของเนื้อน้ำมันจริงๆ 79% ที่เหลือเป็นค่าภาษีและกองทุน 17% และค่าการตลาดอีก 4% แต่เมื่อ ปตท. ส่งน้ำมันไปขายต่างประเทศ ต้องถอดต้นทุนที่ไม่ใช่เนื้อน้ำมันออกให้หมด สินค้าส่งออกบวกภาษีไม่ได้ กลุ่มผู้คัดค้านพูดว่าน้ำมันลิตรละ 40 บาท ส่งออกขายราคา 25 บาท ทำไมไม่พูดว่า 15 บาท เป็นค่าภาษี บริษัทเชลล์หรือเอสโซ่ก็ส่งออกน้ำมันราคานี้

    และอีกประเด็นที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ “คนไทยถูกหลอก ประเทศไทยสามารถผลิตน้ำมันได้มากถึง 1,000,000 บาร์เรลต่อวัน แต่ใช้จริงวันละ 700,000 บาร์เรล ส่วนที่เหลือส่งออกไปขายต่างประเทศ 100,000 บาร์เรลต่อวัน ทำไมต้องไปนำเข้าน้ำมันมาอีก” ข้อเท็จจริง คือ ประเทศไทยไม่ได้มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตัวเลขดังกล่าวเป็นกำลังการผลิตน้ำมันสำเร็จรูป โดยไปนำเข้ามา 862,568 บาร์เรล/วัน ผลิตได้เอง 148,977 บาร์เรล/วัน ส่วนที่เหลือส่งออกแค่วันละ 41,149 บาร์เรล/วัน เท่านั้น

    กรณีของ LPG ถือเป็นตัวอย่างของการให้ข้อมูลที่บิดเบือน ปตท. ขาย LPG ราคาถูก แต่ผู้บริโภคไปซื้อแพงเพราะต้องจ่ายค่าภาษีและกองทุนน้ำมัน และต้องทำความเข้าใจด้วยว่าการนำ LPG ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกับใช้เป็นวัตถุดิบเป็นคนละเรื่องกัน ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้

 หน้า-3

Share This: