ถ้าคุณรู้สาเหตุที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่สามารถทวงคืนท่อก๊าซได้ แล้วคุณจะอึ้ง!!!
ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่หลักในการคุ้มครองและรับรอง “สิทธิที่จะร้องเรียน” หรือ “สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์” (Right to Petition) ให้กับประชาชน โดยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตาม คำร้องเรียนจากประชาชนในกรณีการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายการปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้น เพื่อให้การใช้ “สิทธิที่จะร้องเรียน” หรือ “สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์” (Right to Petition) ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของประชาชนให้ถูกต้องและเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552
ซึ่งในกระบวนการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินนั้น ประชาชนจะต้องปฏิบัติให้เป็นตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ทั้งในส่วนรูปแบบในการยื่นเรื่องร้องเรียน และในส่วนของเนื้อหาของเรื่องร้องเรียนที่จะยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว รวมถึงจะต้องไม่เป็นเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 ไม่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรับไว้พิจารณาหรือให้ยุติ
ที่มา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินกับภารกิจในการส่งเสริมสิทธิที่จะร้องเรียนตามกฎหมายแก่ประชาชนกรณีการดำเนินการโครงการ Intake Clinic
เมื่ออ่านเหตุผลด้านบนแล้ว การที่กลุ่มคนที่ไปทวงถามให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน “ทวงคืนท่อก๊าซ” อีกรอบน่าจะต้องหยุดวาทะกรรมนี้ได้แล้วเสียที เพราะ เมื่อวันที่ 16 ก.พ.58 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสาระบบความ ในคดีการแบ่งแยกระบบท่อก๊าซธรรมชาติของ บมจ.ปตท. ให้กลับมาเป็นของรัฐ จะเข้าหลักเกณฑ์ กฎหมายผู้ตรวจการแผ่นดิน มาตรา 28 ระบุว่า เรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินต้องหยุดพิจารณา ข้อ 2 ***เรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเสร็จเด็ดขาดแล้ว**
เครดิตข้อมูล : http://energythaiinfo.blogspot.com/