ปตท ทรราชน้ำมัน ทำความเข้าใจกันถูกต้องแล้วหรอ?

พอดีไปอ่านเจอบทความนึงน่าสนใจมากเพราะเขาได้พูดถึงเรื่องของการผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของ ปตท จากที่หลายๆ คนต่างตั้งข้อสังสัยเปี่ยวกับ ปตท หลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการกำหนดราคา ทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันสิงคโปร์ทั้งๆ ที่บ้านเราก็มีโรงกลั่น แล้วทำไมราคาน้ำมันบ้านเราถึงแพง แล้วอยากจะถามว่าเราทราบข้อมูลกันดีแค่ไหนว่า ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร เราก็เพียงแค่อ่านข้อมูลจากสื่อต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ทราบถึงข้อมูลที่เท็จจริงกันสักเท่าไหร่ เพียงแต่เห็นเขาด่า ปตท กันเราก็เอามั้งแต่เราไม่เคยรู้ถึงข้อมูลที่มาอ้างอิงได้เลย บ้างก็ว่าปตท ปล้นประชาชน ปตท ทรราชน้ำมัน ปตท โก่งราคาน้ำมัน ไม่ใช่ว่าเราจะให้คุณมารัก ปตท แต่อย่างใด แต่เราแค่อยากให้คุณใช้เหตุและผลมาคุยกันอ้างอิงกันเพื่อทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น ไม่ใช่ว่าจะนำทุกอย่างมาเหมารวมกันไปซะหมดคิดเองเออเองตามกระแส งั้นเรามาดูเนื้อหาและข้อมูลที่เขาได้เขียนให้เราได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น จากหัวข้อที่ว่า ไม่เติม ปตท ไม่ว่ากันครับ แต่มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนดีไหม?

จากที่ได้อ่านเนื้อหาจึงได้นำข้อมูลบางส่วนมาแบ่งปันกันเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติม ก่อนอื่นเราจะต้องแยกความแตกต่างให้ได้ก่อนระหว่าง ธุรกิจโรงกลั่น กับ ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน สองรายนี้ถึงจะชื่อเดียวกัน แต่ถ้าว่ากันในทางบัญชีต้องดูแยกกันเป็นคนละส่วนครับ ลองดูในโครงสร้างราคาน้ำมันนะครับ

http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html

1375850737-o

จากตารางผมไฮไลต์สีเขียวไว้นั้นเขาเรียกว่า “ราคาหน้าโรงกลั่น” ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจโรงกลั่นครับ

จากตารางผมไฮไลต์สีฟ้าไว้นั้นเขาเรียกว่า “ค่าการตลาด” ซึ่งอันนี้เป็นรายได้ของธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมันครับ

ต่อมาว่ากันที่ธุรกิจโรงกลั่นอย่างที่บอกรายได้ของเขามาจากการขายราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น ถามว่าขายให้ใครก็ขายให้ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน ว่าง่ายๆก็คือขายให้ปั๊มต่างๆนั่นล่ะ ซึ่งต้นทุนวัตถุดิบของธุรกิจโรงกลั่นนี้ก็คือน้ำมันดิบที่นำมากลั่นนั่นเอง ธุรกิจโรงกลั่นในบ้านเรานั่นมีอยู่ด้วยกัน 6 รายครับ (นับเฉพาะที่ยังเปิดดำเนินการอยู่) ผมจะไล่เลียงตามกำลังการกลั่นของแต่ละรายลงไป พร้อมแจกแจงให้ดูว่า ปตท ถือหุ้นโรงกลั่นเหล่านั้นอยู่เท่าไร (รวมถึงผู้ค้าน้ำมันรายอื่นเช่น คาลเท็กซ์ เอสโซ่ บางจาก)

1375869542-o

จากตารางผมอธิบายด้วยภาษาบ้านๆง่ายตามนี้ละกัน

1.  ปั๊มที่มีโรงกลั่นเป็นของตัวเอง (แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อปั๊มนั้นๆมาตั้งชื่อโรงกลั่น แต่ก็มีการถือหุ้นอยู่ในโรงกลั่น) ได้แก่ ปตท บางจาก เอสโซ่ คาลเท็กซ์ ไทยออยล์ (ผมเคยใช้บริการปั๊มนี้แถวๆถนนสุขุมวิทขาล่องสู่ศรีราชา) ไออาร์พีซี (เคยขับผ่านเห็นมีแถวเส้นมิตรภาพน่าจะแถวๆโรงปูน TPI)

2.  ปั๊มที่ไม่มีโรงกลั่นเป็นของตัวเอง (เอาเท่าที่ผมนึกออกนะ) เชลล์ ซัสโก้ เปโตรนาส เป็นต้น

ทั้งปั๊มตามข้อ 1 และ 2 ต่างก็ต้องซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นทั้ง 6 นั่นล่ะครับ ก็แล้วแต่ว่าโรงกลั่นไหนที่มีน้ำมันเหลือ (ผมใช้คำว่าเหลือ เพราะ โรงกลั่นที่มีปั๊มในข้อ 1 ถือหุ้นอยู่ เขาก็ต้องขายน้ำมันที่กลั่นได้ให้ปั๊มพวกนี้ก่อน) ยกตัวอย่างนะครับ สมมติคุณบอกว่าคุณชอบปั๊มเชลล์ ดังนั้นน้ำมันที่คุณเติมในปั๊มเชลล์นั้นหลักๆก็คือน้ำมันที่กลั่นมาจากโรงก ลั่น PTTGC ดังนั้นการเติมน้ำมันในปั๊มเชลล์ของคุณแม้ปั๊มน้ำมันที่ชือ ปตท จะไม่ได้เงินจากคุณ แต่บริษัท ปตท ใหญ่ ก็ได้เงินจากคุณทางอ้อม (ตามสัดส่วนการถือหุ้น) เพราะน้ำมันที่ขายในปั๊มเชลล์นั้นเขาก็ซื้อมาจากโรงกลั่น PTTGC นั่นเอง

ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน เรียกง่ายๆว่า “ปั๊มน้ำมัน” ละกัน อย่างที่ผมบอกไว้แล้วว่า ธุรกิจโรงกลั่น กับ ธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน) สองรายนี้ถึงจะชื่อเดียวกัน แต่ถ้าว่ากันในทางบัญชีต้องดูแยกกันเป็นคนละส่วน ปั๊มน้ำมันมีรายได้มาจากการขายน้ำมันให้กับพวกเราตามราคาขายปลีกนั้น ปั๊มน้ำมันมีต้นทุนราคาน้ำมัน ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น + ภาษีต่างๆ + เงินเข้ากองทุน สุดท้ายเงินที่เรียกว่า “ค่าการตลาด (ที่ผมไฮไลต์สีฟ้าไว้ จากรูปแรกด้านบน)” นั้นก็ยังไม่ใช่กำไรสุทธิที่ปั๊มน้ำมันได้ในการขายน้ำมันให้กับเรา ในค่าการตลาดนี้ ปั๊มน้ำมัน (เช่นนาย A เป็นเจ้าของปั๊ม ปตท สาขาโคกอีแหลว) ต้องแบ่งกับ ผู้ค้าปลีกน้ำมัน (กรณีนี้นาย A ต้องแบ่งกับ ปตท) ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างนาย A กับ ปตท ว่าใครจะได้เท่าไร โดยนาย A มีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเช่าที่สำหรับทำปั๊ม ค่าน้ำ ค่าไฟ ในปั๊ม ค่าจ้างเด็กปั๊ม แม่บ้านทำความสะอาดห้องน้ำให้สะอาดไว้ให้คนที่เติมน้ำมันปั๊มอื่นได้เอาไว้ ขี้ ไว้เยี่ยว บลาๆๆ โดยปตท มีค่าใช้จ่าย เช่น การบริหารคลังน้ำมัน ค่าจ้างพนักงานในคลังน้ำมัน การขนส่งน้ำมันไปปั๊มต่างๆ ค่าจ้างพนักงานขับรถน้ำมัน บลาๆๆ ในกรณี ปตท เป็นคนทำปั๊มเอง ค่าใช้จ่ายในส่วนของนาย A ปตทก็ต้องจ่ายเองทั้งหมด ซึ่งต้องเอาค่าใช้จ่ายทั้งหมดในย่อหน้านี้ไปลบออกจากค่าการตลาดที่ได้ ถึงจะเป็นกำไรของธุรกิจผู้ค้าปลีกน้ำมัน

จากข้อมูลดังกล่าวเราจะเห็นได้ว่าโดยรวมธุรกิจน้ำมันไม่ได้มีกำไรมากมายมหาศาลอะไร (ในแง่ของผลตอบแทนต่อลิตรเมื่อเทียบกับราคาขาย) แต่เป็นการขายที่เน้นปริมาณ แม้จะกำไรต่อหน่วยน้อยแต่เมื่อขายในปริมาณที่เยอะมันก็ทำให้ได้กำไรมากพอที่จะประกอบธุรกิจกันต่อไป แต่สิ่งที่ต้องแลกมากับการขายเยอะๆนั้นก็คือการลงทุนที่สูงไงครับ ธุรกิจน้ำมันมันต้องลงทุนสูงและตามหลักแล้วอะไรที่มัน high risk มันต้อง high return ในสายตาของนักธุรกิจ ก็ให้เผอิญอย่างที่ผมแจกแจงไปแล้วว่ามันไม่ได้ high return อะไรเลย จึงทำให้ผู้เล่นมากหน้าหลายตา ห่างหายไปจากประเทศไทย ไม่ใช่เพราะไอ้ ปตท มันผูกขาดหรือปตท ทรราชน้ำมันอะไรหรอกครับ แต่เพราะเขาขายน้ำมันได้ในปริมาณไม่มากพอที่จะทำธุรกิจอีกต่อไป เขาก็พากันขายธุรกิจแล้วไปทำอย่างอื่นที่มัน higher return ก็แค่นั้นเอง และที่สำคัญไปกว่านั้นการที่ปตท.เข้าไปมีอำนาจในการบริหารจัดการโรงกลั่นน้ำมัน 3 ใน 6 แห่งนั้นจะเป็นการผูกขาด ตัดตอนหรือทำให้น้ำมันมีราคาแพงเกินจริงหรือไม่ คงต้องดูข้อมูลหรือพฤติกรรมอย่างอื่นประกอบด้วย จะเหมาเอาง่ายๆจากการถือหุ้นว่า ถ้าถือหุ้นมากก็แสดงว่าครอบงำได้ เมื่อครอบงำได้ย่อมมีพฤติกรรมผูกขาดตัดตอนเอาเปรียบประชาชน ผมว่ามันจะเป็นการสรุปบนความคิดเห็นส่วนตัวที่ง่ายไปหน่อย และอาจมีอคติได้หรือเปล่า เพราฉะนั้นเราควรใช้เหตุใช้ผลโต้แย้งกัน อ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องก็เท่านั้นเอง

ข้อมูลจาก: http://pantip.com/topic/30812943

Share This: