ปตท ปล้นทรัพยากรไทย อธิบายเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมัน – LPG
เรื่องโครงสร้างราคาน้ำมัน – LPG ตามลิ้งค์นี้ http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html
น่าจะเป็นคำตอบให้กับผู้ที่สนใจได้ว่าทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพงเมื่อเทียบกับบางประเทศ แต่ก็ราคาถูกเช่นกันเมื่อเทียบกับอีกบางประเทศ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริบทของคนที่นำเสนอว่าต้องการจะนำเสนอไปทิศทางไหน อยากให้ดูว่าแพงก็ไปเทียบกับประเทศที่ใช้ถูกกว่าบ้านเรา อยากให้ดูว่าถูกก็ไปเทียบกับประเทศที่ใช้แพงกว่าบ้านเรา
อีกเทคนิคหนึ่งในการนำเสนอไปในทิศทางว่าทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพงก็คือ การที่พูดว่า ปตท ทรราชน้ำมันและนำน้ำมันตัวที่แพงที่สุดในบ้านเรา คือ น้ำมันเบนซิน95 (แต่ใช้น้อยที่สุดประมาณวันละ 2 ล้านลิตร) เพราะรัฐไม่อยากสนับสนุนการใช้น้ำมันตัวนี้จึงเก็บภาษีและเงินเข้ากองทุนน้ำมันมากๆ มาเป็นตัวตั้งแล้วเอาไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆว่าปตท ปล้นทรัพยากรไทย (โดยจงใจละเลยเหตุและผลที่จำเป็นในการกำหนดทิศทางนโยบายของประเทศเพื่อส่งเสริมให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการนำเข้าโดยใช้พลังงานทดแทนอย่างเอธานอลที่ผลิตได้เองในประเทศ)
ทั้งๆที่ถ้าว่ากันแบบเอาปริมาณเข้าว่าน้ำมันที่บ้านเราใช้เยอะที่สุดคือ น้ำมันดีเซล (วันละประมาณ 60 ล้านลิตร) ล้วนถูกกว่าหลายๆประเทศ ที่ผู้นำเสนอว่าปตท ปล้นทรัพยากรไทย และน้ำมันบ้านเราแพงนำมาเปรียบเทียบเสียด้วยซ้ำ
Citation
1. ตรวจสอบราคาน้ำมันของแต่ละประเทศได้ที่ / Petrol prices around the world, September 2013 http://www.mytravelcost.com/petrol-prices/
2. ตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล / สรุปการผลิต นำเข้า จำหน่าย และส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิงhttp://www.doeb.go.th/info/data/datadistribution/sum_56/july_56u.xls
เกริ่นมาซะยาวละ เข้าเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมัน – LPG ตามลิ้งค์นี้ http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html เข้าไปแล้วคุณลองโหลดมาดูสักวัน คุณจะเห็นตาราง Excel แสดงโครงสร้างเอาไว้ ผมทำแผนภาพขึ้นมาเพื่อประกอบการอธิบายตามนี้
อธิบาย
1. ในโครงสร้างราคาน้ำมันและ LPG นั้นจะประกอบด้วยหลักๆคือ ราคาหน้าโรงกลั่น + ภาษีต่างๆ + เงินเก็บเข้ากองทุนฯ + ค่าการตลาด โดยราคาหน้าโรงกลั่นนั้นจะเป็นราคาที่อ้างอิงราคาหน้าโรงกลั่นที่ประกาศ ณ ประเทศสิงคโปร์
2. ภาษีต่างๆ ประกอบด้วย
2.1 ภาษีสรรพสามิต –> จะสังเกตเห็นว่าน้ำมันดีเซลเก็บภาษีสรรพสามิตน้อยๆๆๆๆๆๆๆสุดๆ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะตรึงราคาไม่ให้มันมีราคาเกิน 30 บาท/ลิตร ดังนั้น คนที่เข้าใจว่าน้ำมันดีเซลราคาถูกเพราะเอาเงินกองทุนฯ ไปอุ้มนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด
2.2 ภาษีเทศบาล –> เก็บเพื่อบำรุงท้องที่ซึ่งต้องรับมลพิษ (หรือผลกระทบใดๆก็ตาม) จากการมีโรงกลั่นในพื้นที่นั้นๆ
2.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม –> คิดว่าคุณน่าจะรู้กันนะว่าเก็บทำไม
3. เงินเก็บเข้ากองทุนฯ ประกอบด้วย
3.1 เงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง –> เพื่อ
i. รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเกิดการผันผวน
ii. นำไปชดเชยราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 (ย้ำอีกครั้ง ณ ตอนนี้และนานมาแล้วพอสมควรไม่ได้เอาไปอุ้มราคาดีเซลแต่อย่างใด)
iii. นำไปชดเชยราคาส่วนต่างของ LPG จากโรงกลั่นและจากการนำเข้า ดังนี้
– ราคารับซื้อหน้าโรงกลั่น 10.56 บาท/กก. นำเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชยให้ (23.83 – 10.56 =) 13.27 บาท/กก.
– ราคารับซื้อจากการนำเข้า นำเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชยให้ (28.08 – 10.56 =) 17.52 บาท/กก.
3.2 เงินเก็บเข้ากองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม –> เพื่อส่งเสริมงานวิจัยหรือนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นต้น
4. ค่าการตลาด ที่ยังไม่ใช่กำไรสุทธิของผู้ค้าน้ำมัน
5. อธิบายเพิ่มเติมสำหรับ LPG
ถ้าท่านสังเกตจะเห็นว่า LPG มีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 2 ครั้งด้วยกัน
5.1 เก็บครั้งแรกทุกภาคส่วนเท่ากันที่ 0.7379 บาท/กก. เพื่อทำให้ราคา LPG หน้าคลังเท่ากันทั่วประเทศโดยนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการขนส่งและจัดเก็บจากโรงแยกไปยังคลังต่างๆ
5.2 เก็บครั้งที่สองแต่ละภาคส่วนไม่เท่ากัน เพื่อนำไปชดเชยราคาให้แก่โรงกลั่นและการนำเข้า LPG ดังแสดงในแผนภาพ (ในส่วนของโรงแยกก๊าซนั้นแม้ทางโรงแยกก๊าซจะอ้างว่าต้นทุนของ LPG จากโรงแยกก๊าซเท่ากับ 17.16 บาท/กก. แต่ปัจจุบันรัฐก็ยังบังคับรับซื้อ LPG จากโรงแยกก๊าซอยู่ที่ราคา 10.56 บาท/กก. เช่นเดิม โดยไม่มีการนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาจ่ายชดเชยแต่อย่างใด)
ก็หวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจบ้างไม่มากก็น้อย
ติดตามอ่านข่าวสารอื่นๆได้ที่ https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/