ปตท โจรหรือนักบุญอ้างขาดทุนแต่จ่ายโบนัสถล่มทลาย

บริษัทน้ำมันระดับโลกจ่ายโบนัสกันอย่างไร??

ในการจ่ายค่าตอบแทนนั้นกฎหมายของแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกัน กฎหมายในการจัดตั้งกรรมการบริษัทมหาชนก็เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งกรรมการบริษัทมหาชนของไทยกับประเทศนอร์เวย์มีความแตกต่างกัน รวมทั้งโครงสร้างเงินเดือน และสวัสดิการก็แตกต่างกันอย่างมาก ประเทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่มีเงินเดือนและเงินบำนาญสูงสุดแห่งหนึ่งในโลก เช่น CEO ของ StatoilHydro ได้รับผลตอบแทนรวมสุทธิ 50 ล้านบาท/ปี และเบี้ยบำนาญอีก  24 ล้านบาท/ปี (ปี 2551) นอกจากนี้คณะกรรมการของ StatoilHydro ส่วนใหญ่ก็มาจากผู้บริหารที่เกษียณอายุซึ่งมีเงินบำนาญมาก รวมทั้งต้องมีผู้แทนพนักงานตามกฎหมาย 3 คน เป็นกรรมการทำให้การกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนแตกต่างจากบริษัทพลังงานของประเทศอื่นๆ ดังนั้นการเปรียบเทียบจึงต้องคำนึงถึงโครงสร้างกฎหมาย สภาพแวดล้อม และควรเปรียบเทียบในทุกระดับ

13-5-2556 17-53-24

แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่า บริษัทน้ำมันระดับโลกเขาก็จ่ายค่าตอบแทนแบบนี้กันทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?

การจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการของบริษัทมหาชนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ตามกฎหมาย บริษัทมหาชนส่วนใหญ่ ทั้งบริษัทเอกชนและบริษัทพลังงานแห่งชาติของประเทศต่างๆ ก็มีการให้ค่าตอบแทนกรรมการคล้ายคลึงกับ บมจ.ปตท. การให้ค่าตอบแทนกรรมการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กรรมการบริษัทรับผิดชอบผลักดันผลประกอบการให้ดีขึ้น จึงทำให้หลายๆ คน มองว่าปตท โจรหรือนักบุญ ทำไมถึงต้องจ่ายโบนัสให้กรรมการแบบถล่มทลาย ทั้งๆ ที่ราคาน้ำมันยังแพงขึ้นทุกวันเป็นเพราะเหตุนี้รึเปล่าจึงทำให้ราคาน้ำแพง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าซึ่งหากบริษัทขาดทุนกรรมก็ไม่ได้รับโบนัส สำหรับ ปตท. ในส่วนโบนัสก็มีเพดาน 2 ล้านบาทต่อคนต่อปี ซึ่งหากเปรียบเทียบกับบริษัทมหาชนของไทยหรือต่างประเทศก็นับว่าน้อยกว่า การให้กรรมการที่เป็นข้าราชการเข้าไปเป็นกรรมการในบริษัทในเครือนั้นเพื่อช่วยให้คำชี้แนะกำกับดูแลให้นโยบายของบริษัทลูกสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกับบริษัทแม่ และถือเป็นงานและความรับผิดชอบส่วนเพิ่ม กรรมการควรได้รับผลตอบแทนและยังคงจำกัดไม่เกินคนละ 3 แห่ง

13-5-2556 17-54-03

Share This: