พลังงานไทยตอนที่ 6 : ความจริงเกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี

ก๊าซแอลพีจี

“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” และ “กลุ่มทวงคืน ปตท” ยังมีประเด็นโจมตีรัฐบาลที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือนโยบายก๊าซแอลพีจี

ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในประเทศไทยได้มาจาก 3 แหล่งคือโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น)ได้จากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศสาเหตุหนึ่งของราคาน้ำมันแพงในประเทศไทยคือ การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีเช่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 น้ำมันเบนซินมีราคาขายปลีกลิตรละ 45.15 บาท เป็นเงินสมทบกองทุนฯ ถึง 9.70 บาทขณะที่น้ำมันดีเซลต้องจ่ายเข้ากองทุนฯ ลิตรละ 3.40 บาท แก๊ซโซฮอล95 E10 สมทบลิตรละ 3.50 บาทประมาณตัวเลขในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 มีเงินเข้าสมทบกองทุนฯ ทั้งสิ้น 254.58 ล้านบาท โดยได้จากน้ำมันดีเซลมากที่สุดคือ 192.20 ล้านบาทจากน้ำมันเบนซิน 18.62 ล้านบาท น้ำมันก๊าซโซฮอล95 E10 จำนวน 30.42 ล้านบาทและน้ำมันก๊าซโซฮอล91 E10 จำนวน 12.74 ล้านบาทรัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนฯสูงมากเพราะเหตุใด?

ผลก็คือประเทศไทยจากที่เคยผลิตก๊าซแอลพีจีเหลือใช้และส่งออกได้ถึงวันละ 3 หมื่นบาร์เรล กลายเป็นติดลบ ผลิตไม่พอใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2551 โดยในปี 2555 ประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีถึงวันละ 55,000 บาร์เรล เป็นภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจนถึงขั้นติดลบ รัฐบาลที่ผ่านมาจึงพยายามที่จะลดการอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีแต่ก็ถูกต่อต้านจาก “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” มาโดยตลอดในทางตรงข้าม คนพวกนี้กลับโยงประเด็นราคาก๊าซแอลพีจีไปโจมตีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นวัตถุดิบอีกกล่าวหาว่าLPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีโดยรัฐบาลขึ้นราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีเพื่อไปอุดหนุนกำไรของปตท.และให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซื้อก๊าซแอลพีจีในราคาต่ำกว่าภาคอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกลุ่มโอเลฟินส์ใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นวัตถุดิบขั้นต้นในการผลิตเม็ดพลาสติกประเภท PP ได้รับการส่งเสริมในช่วงปลายยุค 2520 โดยใช้วัตถุดิบก๊าซจากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท.โดยตรงขณะที่ครัวเรือนในยุค 2530 ได้รับก๊าซหุงต้มจากโรงกลั่นเป็นหลักแต่การอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีก็ทำให้การใช้ก๊าซในภาคครัวเรือน ขนส่งและอุตสาหกรรมขยายตัวมากจนผลผลิตจากโรงกลั่นไม่พอใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศขณะที่ปตท.ก็ต้องแบ่งก๊าซแอลพีจีจากโรงแยกก๊าซมาให้ด้วยเช่นกันราคาก๊าซแอลพีจีที่ ปตท.ขายเป็นวัตถุดิบปิโตรเคมีนั้นถูกกำหนดให้แปรผันขึ้นลงตามราคาเม็ดพลาสติก PP ในตลาดโลกโดยมีช่วงราคาระหว่างต้นทุนที่โรงแยกก๊าซ 16.92 บาทต่อกก.แต่ไม่เกินราคานำเข้าหรือราคาตลาดโลก (ประมาณ 30 บาท ต่อกก.) ฉะนั้นราคาก๊าซแอลพีจีที่อุตสาหกรรรมปิโตรเคมีซื้อไปนั้นจึงมีราคาขึ้นลงบางช่วงอาจสูงถึงราคาตลาดโลก

“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” อ้างว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจ่ายเงินสมทบกองทุนน้ำมันในอัตราเพียง กก.ละ 1 บาทขณะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องจ่ายสมทบถึง กก.ละ 10.87 บาททำให้ราคาก๊าซแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมมีราคาขายปลีกสูงถึง กก.ละ 28.07 บาทซึ่งก็เป็นจริงบางส่วน แต่เบื้องหลังคือก๊าซแอลพีจีที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับนั้นมีจุดเริ่มต้นที่หน้าโรงกลั่นในราคาเพียง กก.ละ 9.72 บาทซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลได้ใช้เงินกองทุนไปอุดหนุนตั้งแต่ต้นน้ำเรียบร้อยแล้วแต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายลดการอุดหนุนภาคอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มแรก ฉะนั้นเมื่อถึงราคาขายปลีกรัฐบาลจึงได้จัดเก็บเงินสมทบกองทุนจากก๊าซแอลพีจีเฉพาะภาคอุตสาหกรรมให้ราคาขายปลีกเข้าใกล้ราคาตลาดโลกนัยหนึ่งรัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนจากราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมก็เพื่อ “เอาคืน” เงินอุดหนุนราคาหน้าโรงกลั่นที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับไปก่อนหน้านั้นนั่นเอง

ถึงกระนั้นไม่ว่ารัฐบาลจะจัดเก็บเงินสมทบจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสักเท่าไรก็ไม่มีผลให้ราคาก๊าซแอลพีจีที่ประชาชนใช้มีราคาถูกลง เพราะข้อเท็จจริงคือราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนและภาคขนส่งยังต่ำกว่าความเป็นจริงในตลาดโลก จนเกิดการใช้เกินตัวและใช้ผิดประเภทเป็นภาระแก่ผู้ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ อยู่ดี และหนทางแก้ไขคือต้องลดเลิกการอุดหนุนราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีทั้งหมดด้วยมาตรการที่เหมาะสมและเป็นขั้นตอน

ที่มาจาก: http://pichitlk.blogspot.com/2013/06/blog-post.html

Share This: