ความสำคัญของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย กับการย้อนความการแปรรูป ปตท.

ทราบกันหรือไม่ว่ารัฐวิสาหกิจที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนและมีความเกี่ยวโยงกับความมั่นคงของประเทศนั้น หลายองค์กรมีปัญหาสำคัญคือ ขนาดสินทรัพย์และเงินทุนที่ใช้นั้นสูงขึ้นทุกปี มีการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างมหาศาล โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในด้านผลตอบแทนนั้น เมื่อเทียบกับการลงทุนและการใช้ทรัพยากรแล้ว กลับได้ผลตอบแทนน้อย อีกทั้งรัฐวิสาหกิจที่สามารถทำกำไร ยังเป็นธุรกิจที่ผูกขาดหรือเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดที่การแข่งขันไม่สูง เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. ในทางกลับกันธุรกิจในกลุ่มที่มีการแข่งขันสูงเช่น กสท. หรือ ทีโอที กลับขาดทุน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากโครงสร้างการกำกับดูแลที่อยู่ภายใต้กระทรวงและระเบียบราชการที่ขาดความคล่องตัว แข่งขันกับเอกชนไม่ค่อยได้ ทั้งการดำเนินการยังมีความไม่โปร่งใส และกลายเป็นช่องทางคอรัปชั่น
“เป็นที่ประจักษ์ทั่วโลก (กว่า 120 ประเทศ) ว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องสำคัญที่มีประโยชน์มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ IMF และ World Bank สนับสนุนส่งเสริมและผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนาดำเนินการตลอดมา แต่ที่ไม่ค่อยเป็นผลก็เพราะรัฐวิสาหกิจนั้นนักการเมือง-ชอบ ผู้บริหาร-ง่าย พนักงาน-สบาย คู่ค้า-สะดวก ทีนี้พอ IMF มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขได้ก็เลยระบุเรื่องนี้ไว้ด้วย (ทุกครั้งที่ IMF เข้าให้การช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศกำลังพัฒนาก็มักมีเงื่อนไขนี้อยู่ด้วยเสมอ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ก็โดนเงื่อนไขนี้ทุกประเทศเหมือนกัน)” … ที่มา https://thaipublica.org โดย คุณบรรยง พงษ์พานิช
การตัดสินใจแปรรูป ปตท.จริงๆ แล้วมีประโยชน์มากมาย อย่างที่เห็นได้ชัดคือ การที่รัฐมีภาระการเงินมาก จนไม่มีมีงบประมาณในการแก้ไขปัญหาสภาพการเงินของรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงการลงทุนและขยายกิจการ ซึ่งสำคัญมาก เพราะหากการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจมีปัญหา โดยเฉพาะช่วงที่รัฐขาดรายได้คล่องหรือประสบปัญหาทางการเงิน กลับจะยิ่งซ้ำเติมให้สถานการณ์ของประเทศเลวร้ายขึ้น
การเข้าตลาดหุ้นของ มูลค่า 32,200 ล้านบาทมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในหลายๆ แง่ ดังนี้
1. ปตท.มีการปรับปรุงการบริหารสู่มาตรฐานสากล พร้อมแรงกดดันจากนักลงทุนทั่วโลกให้ต่อยอดพัฒนาองค์กรตลาดเวลา

  1. ปตท.มีทุน ในการขยายกิจการ ปรับโครงสร้างหนี้บริษัทลูก และยังมีเงินในการซื้อกิจการของเอกชนอื่นๆ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน หรือปิโตรเคมี ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก
    3. ธุรกิจในกลุ่ม ปตท. มีการขยายตัว เพิ่มเสถียรภาพทางพลังงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศ

4.ทำให้ตลาดทุนไทยพลิกฟื้นกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกใหม่
จากข้อดีในหลายๆ แง่ที่นั้นจะเห็นได้ว่าหากไม่มีการระดมทุนและกิจการในครั้งนั้น ความมั่นคงด้านพลังงาน หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน อาจจะไม่สามารถเดินมาถึงจุดที่มีเสถียรภาพด้านพลังงานอย่างในทุกวันนี้

 

Share This: