ระบบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอัตราสิ้นเปลืองพลังงาน และเทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟ

    จากบทความ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ปลอดมลพิษ” เมื่อตอนที่ผ่านมา จะพอทำให้รู้จักตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้ากันแล้ว ซึ่งในตอนนี้จะขอพูดถึงระบบภายในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า อัตราสิ้นพลังงาน และสถานี Charger ที่มีในประเทศไทย

 

    ระบบภายในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในส่วนของระยะทางต่อการชาร์จ 1 ครั้ง อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานและอัตราเร่ง  โดยมาเริ่มกันที่ระยะเวลาการชาร์จเต็ม 1 ครั้งสามารถวิ่งได้ราวๆ 2 – 4 ร้อยกิโลเมตร อัตราสิ้นเปลืองพลังงานอยู่ใกล้เคียงกับก๊าซ NGV คือ 0.30 –  0.80 สตางค์ /  กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับสภาพจราจร และพฤติกรรมในการขับขี่ของผู้ขับ ในส่วนของอัตราเร่ง  รถยนต์ไฟฟ้า มิตซูบิชิ ที่ กฟน. ใช้อยู่สามารถทำความเร็วสูงสุด 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราเร่งสามารถทำได้ 0 – 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้ภายใน 9 วินาที สำหรับเครื่องยนต์ (มอเตอร์ไฟฟ้า) 63 แรงม้า หรือ 47 kW แรงบิดสูงถึง 180 นิวตันเมตร เปรียบเทียบกับรถยนต์มิตซูบิชิที่มีเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน (เครื่องยนต์ขนาด 660 C.C.) ที่มีแรงม้าเท่ากันเท่ามีแรงบิดเพียง 94 นินตัน-เมตร (สูงกว่าเท่าตัว) ถึงแม้ว่าปริมาณไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แรงบิดยังคงเดิม ระยะทางเดินทางสูงสุด 160 km มีระบบ regenretive braking ซึ่งในขณะที่มีการเบรกมอเตอร์จะเปลี่ยนเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและส่งกำลัง ให้กับแบตเตอรี่ น้ำหนัก 1.1 ตันแบตเตอรี่ชนิด lithium-ion แรงดัน 330V16 kWh

 
[Reff: https://sites.google.com/site/thermo2kkuelectricar/Energy-Electric-Car] 

เทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟ ที่มีในประเทศไทย

    ในส่วนสถานี Charger แห่งแรกของ ปตท.ที่ ถนนชัยพฤกษ์ เป็นหนึ่งในสี่สถานีนำร่อง ที่ปตท.สร้างขึ้นเพื่อการศึกษาระบบเทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้า และแบตเตอรี่ เมื่อปี 2555 โดยแต่ละเทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้าจะมีตู้สำหรับชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เช่นตู้  Quick Charge สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจากฝั่งประเทศญี่ปุ่น ใช้ไฟ 3 เฟส ประมาณ 500 V ใช้เวลาในการชาร์จประมาณ ½ ชั่วโมง หรือตู้ EVLink มาตรฐาน AC ใช้ไฟบ้านในการชาร์จ ซึ่งเหมาะสมกับรถยนต์ไฟฟ้าของยุโรปและอเมริกา ใช้เวลาในการชาร์จ 4 – 6 ชั่วโมง ในการชาร์จเต็ม

 
 เทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้า ปตท
 

    ซึ่งผู้ขับขี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าต้องพก Charger สำหรับชาร์จรถ โดยต้องนำติดตัว (หรือรถ) ไว้ตลอดเวลา โดย สถาบันวิจัยและพัฒนา ของ ปตท.จะวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้า Charger ให้ชาร์จได้เร็วขึ้นและต้นทุนถูกลง ระบบสื่อสารกลางจะสามารถ Link เข้ากับ Back office คือระบบที่ควบคุมการทำงานของ charger ทุกๆสถานี

 
charger เทคโนโลยีสถานีชาร์จไฟฟ้า ปตท.

 

Share This: