วิเคราะห์มั่วๆ 5ปี เนื้อหามั่วๆ ก็ได้แบบมั่วๆ เรื่องพลังงาน

เห็นมีคนแชร์มาจากทาง LINE เต็มไปหมด โดยเนื้อหาคร่าวๆ โทษนั่น โทษนี่ โดยไม่มองบริบท เรื่องพลังงาน หรือ เนื้อหาสาระว่าแท้จริงเป็นอย่างไร ก็คงต้องเอามาแก้กันไปว่ามั่วขนาดไหน ขอตัดตอนมาในส่วนเรื่องพลังงานเท่านั้น

จากดร.อาทิตย์. อุไรรัตน์

ฟังแล้วอย่าเชื่อร้อยเปอร์เซนต์ เอาไปช่วยกันคิด วิจารณ์ วิจัยวิเคราะห์ เจาะลึก ให้ความจริงประจักษ์
เมื่อประจักษ์แล้ว. อย่าเมินเฉย. ชวยกันแก้วิบัติของชาตื

” 5 ปีแห่งความทุกข์ระทมของประชาชน
5 ปีแห่งความหายนะของชาติบ้านเมือง

บอกได้คำเดียวว่า หนักกว่านักการเมืองอาชีพ ชาตินี้คงจะหาผู้นำที่สร้างความบรรลัยให้ชาติบ้านเมืองมากเท่าลุงคนนี้ไม่มีอีกแล้ว โดยเฉพาะการเอื้อประโยชน์ให้เจ้าสัว/นายทุน น่าเกลียดจริงๆ

มาลองอ่านกันว่า การตั้งคำถามมีคำตอบคำตอบที่ตอบวนกันมา 5ปี 
> เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินสกปรกหลายจังหวัดเอื้อประโยชน์นายทุนเหมืองถ่านหิน ทั้งที่ทั่วโลกทยอยยกเลิก เพราะมันสกปรกมีมลพิษอันตราย

คนที่โพสต์คงไม่ทราบว่า ทั่วทั้งโลกปิดบางส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินหมดอายุ และ มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วยซ้ำ คนโพสต์ทราบหรือไม่

> ยัดเยียดการขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด จ.ขอนแก่น เอื้อนายทุนบริษัทน้ำมัน มีชาวบ้านคัดค้าน ก็ส่งฝ่ายปกครองไปข่มขู่ให้ยินยอม

การขุดเจาะปิโตรเลียมที่บ้านนามูล ดูนสาด  ผู้รับสัมปทานจะต้องปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายปิโตรเลียมทุกขั้นตอน มีการรับฟังความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งได้รับการอนุมัติ EIA  โดยช่วงก่อนการขุดเจาะ บริษัทได้มีการขนย้ายอุปกรณ์เข้าพื้นที่ ซึ่งได้รับความสะดวกจากฝ่ายปกครอง (กอ.รมน.) เข้าพื้นที่เพื่อดูแลอำนวยความสะดวก ดูแลความปลอดภัย และความเรียบร้อย รวมถึงการสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนและบริษัทผู้รับสัมปทานในการขนย้ายอุปกรณ์เครื่องจักร มิได้เป็นการข่มขู่ประชาชนในพื้นที่ และเอื้อบริษัทตามที่มีบุคคลภายนอกให้ข้อมูลเชิงลบและปลุกปั่นแต่อย่างใด

> เชฟรอนโกงภาษี 3,000 ล้าน แทนที่จะไล่กลับอเมริกา กลับใจดีต่อสัมปทานให้แหล่งทานตะวันในอ่าวไทยของเชฟรอนไปอีก 10 ปี ที่สุดอุบาทว์คือ คิดค่าลงนามต่ออายุสัมปทานแค่ 15 ล้านบาท และส่วนแบ่งจากการขายเพียง 1% จากมูลค่าปิโตรเลียมของแหล่งนี้ 3-5 แสนล้านบาท(แหล่งนี้ขุดน้ำมันดิบมูลค่า 40 ล้านบาท/วัน ขุดวันเดียวก็ได้เงินมากกว่าที่จ่ายค่าลงนามต่อสัญญากับรัฐกว่าเท่าตัวแล้ว และแหล่งนี้ยังมีก๊าซธรรมชาติอีกมาก)

– กรณีภาษีเชฟรอน เกิดจากปัญหาการตีความข้อกฎหมายกรณีการคืนภาษีภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ของบริษัทเชฟรอน  ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการจ่ายภาษีจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพื่อใช้บริเวณอ่าวไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยช่วงที่ผ่านมาภายหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ทางบริษัทฯ ได้ให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการตรวจสอบยอดภาษีที่ต้องชำระให้ถูกต้องแล้ว
– กรณีการต่ออายุสัมปทานแหล่งทานตะวันและแหล่งใกล้เคียงในแปลงสำรวจหมายเลข B8/32 ซึ่งเป็นแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย เป็นการต่อระยะเวลาตามกฎหมายปิโตรเลียม
– ส่วนโบนัสลงนามและโบนัสการผลิต เป็นเพียงส่วนเพิ่มเติมที่รัฐจะได้นอกเหนือไปจากรายได้ที่รัฐจะได้รับต่อไปอีก     10ปี นอกจากการจัดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(หากมีกำไรเกินปกติ) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ซึ่งจากการวิเคราห์ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า จะมีสัดส่วนรายได้รัฐต่อรายได้สุทธิของผู้รับสัมปทานเป็นอัตราส่วนร้อยละ 71:29
–  การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงสูง ผู้รับสัมปทานยังต้องมีค่าใช้จ่ายในการลงทุน และจ่ายค่าภาคหลวง   ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(ถ้ามีกำไรเกิน) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม อีกด้วย
> เชฟรอนเจตนาสำแดงใบขนน้ำมันปลอดภาษีเท็จซ้ำซาก ผิดกฏหมายอาญาแผ่นดิน ก็อุ้ม ไม่เอาผิด และยังให้ร่วมประมูลสัมปทาน

 

– การเข้าร่วมประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช เปิดรับผู้ที่เข้าร่วมประมูลเป็นการทั่วไปอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ   มิได้จำกัดบริษัทรายใดรายหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามในขั้นแรก กระทรวงพลังงาน ได้มีการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมประมูลไว้แล้ว ทั้งคุณสมบัติด้านการเงินและการเป็นผู้ดำเนินงานการผลิตปิโตรเลียมในทะเล  จากการพิจารณาและตรวจสอบข้อมูล บริษัทเชฟรอน มีคุณสมบัติตามที่กระทรวงพลังงานกำหนดในเอกสารการยื่นขอ

– ในส่วนการขนน้ำมันปลอดภาษี  เป็นน้ำมันที่กลั่นแล้วมิได้เกี่ยวข้องกับกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ซึ่งภายหลังเชฟรอนได้จ่ายภาษีที่เกิดจากการตีความกฎหมายตามที่กฤษฎีกาได้ตีความเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
> ส่วนกรณีนี้ยิ่งหนัก 7 บริษัทน้ำมันทำผิดกฏหมาย ลักลอบขุดน้ำมันในที่ส.ป.ก. ศาลปกครองจึงมีคำสั่งให้เลิกขุด แต่นอกจากคสช.จะไม่เอาผิดแล้ว ยังใช้ ม.44 ล้างผิดให้ และแก้กฏหมายส.ป.ก.อนุญาตให้เอกชนขุดน้ำมันในที่ส.ป.ก.ต่อไปได้ ขนาดคำสั่งศาลยังไร้ความหมาย แล้วบ้านนี้เมืองนี้จะอยู่กันอย่างไร

–  กรณีศาลปกครองสูงสุดมีการตัดสินว่าบริษัทผู้รับสัมปทานมีความผิดฐานดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ ส.ป.ก.  ที่ได้รับการอนุมัติแล้วนั้น (ส.ป.ก. ไม่มีอำนาจในการอนุญาตให้ทำกิจกรรมอื่นนอกจากการเกษตร)  จึง เป็นการดำเนินงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
– ที่ผ่านมาบริษัทผู้ได้รับสัมปทานได้ดำเนินการยื่นขอและดำเนินการตามแนวทางของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งกรณีดังกล่าวภาครัฐ โดยกระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้หารือร่วมกันเพื่อหาทางออกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใต้ผืนดินของประเทศ และการใช้ที่ ส.ป.ก.  เพื่อประโยชน์จากกิจกรรมอย่างอื่น   จึงมีความเห็นร่วมกันว่าควรนำเสนอ คสช. เพื่อพิจารณาใช้ ม. 44 เพื่อหาทางออกของปัญหาดังกล่าว โดยกระทบต่อการใช้พื้นที่ทางการเกษตรของเกษตรกรให้น้อยที่สุดโดยมีค่าทดแทนให้เกษตรกรและ ส.ป.ก. ที่เหมาะสมและคืนพื้นที่เมื่อดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จ นอกจากนั้นยังเพิ่มแนวทางการให้  ส.ป.ก. ในการพิจารณาแก้ข้อกฎหมายเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อทำกิจกรรมอื่นได้นอกจากเกษตรกรรมในอนาคตซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ทรัพยากรของประเทศในลักษณะบูรณาการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
> มีก๊าซ มีน้ำมันเต็มแผ่นดิน แทนที่จะขุดเอง เพื่อให้รายได้เข้ารัฐเต็มๆ ไม่ต้องไปแบ่งให้ใคร ก็ไปแจกสัมปทานให้ต่างชาติรวย

– จากข้อมูลสถิติ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ภายใต้ระบบสัมปทาน พบน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ภายในแอ่งตะกอนที่กระจายตัวอยู่ในแต่ละภูมิภาค โดย จะพบน้ำมันดิบในบริเวณภาคเหนือ (แหล่งฝาง)  ภาคกลางและอ่าวไทย พบก๊าซธรรมชาติ บริเวณภาคอีสานและอ่าวไทย (ตามภาพ) มิได้มีก๊าซ มีน้ำมันเต็มแผ่นดิน
– ระบบสัมปทาน เป็นการให้สิทธิผู้รับสัมปทานไปสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รัฐมีการออกแบบการจัดเก็บรายได้จากการผลิตปิโตรเลียม ซึ่งระบบสัมปทานถูกออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพแหล่งปิโตรเลียมของประเทศไทย  เพื่อให้เกิดการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศ และจูงใจให้บริษัทมาเสี่ยงลงทุนเพราะการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเป็นการลงทุนที่สูงและมีความเสี่ยงสูง
– หากภาครัฐขุดเองต้องมีเงินมากพอที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินของประเทศ  หากขุดเจาะไม่พบปิโตรเลียม

แผนที่ประเทศไทย สำรวจและผลิตปิโตรเลียม

 

> แจกสัมปทานปิโตรเลียมโดยเลือกระบบที่รัฐเสียประโยชน์ ระบบจ้างผลิตที่รัฐได้ประโยชน์ 80-90% ไม่เอา แต่เลือกระบบ PSC(จำแลง) ที่ได้ส่วนแบ่งแค่ 30%

– ระบบสัมปทาน นับตั้งแต่มีการให้สัมปทานตั้งแต่ปี 2514 และมีการปรับปรุงกฎหมายปิโตรเลียม (แก้ไข พ.ศ. 2532) เพื่อให้รัฐได้รับรายได้มากขึ้นและให้ผู้รับสัมปทานสามารถพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมขนาดเล็กได้ รวมทั้ง ปรับปรุงให้รัฐมีทางเลือกในการบริหารจัดการระบบการจัดเก็บรายได้รัฐ (เพิ่มระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างบริการ แก้ไขปี พ.ศ. 2560) ในระบบสัมปทาน รัฐมีรายได้รวมมากกว่าผู้รับสัมปทาน ถึง ร้อยละ 60:40

> แก้ไขพรบ.ปิโตรเลียมให้ไทยตกเป็นทาสบริษัทน้ำมันต่างชาติหนักข้อขึ้นกว่าเดิม

คำว่าตกเป็นทาสบริษัทน้ำมันต่างชาตินี่คิดยังไงหรอครับ ทุกวันนี้คนไทยทำงานเยอะแยะ
– การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เพื่อกําหนดให้การให้สิทธิสํารวจและผลิตปิโตรเลียมมีทางเลือกให้รัฐสามารถพิจารณานําระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตหรือระบบสัญญาจ้างบริการมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมนอกเหนือไปจากการพิจารณาให้สัมปทานปิโตรเลียมภายใต้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งแก้ไขบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับประโยชน์หรือสิทธิของผู้รับสัมปทานและบทบัญญัติเกี่ยวกับค่าภาคหลวงให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น มิได้เอื้อต่อบริษัทน้ำมันต่างชาติ
– การประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช ที่ผ่านมา บริษัทคนไทย (บริษัท ปตท.สผ. เอ็นเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย ได้เป็นผู้ชนะทั้งสองแหล่งต้องมีคนทำงานด้วย 80% ในปีแรก อย่างน้อย 90% ในอีกปีที่ 5 ด้วย

> แก้ไขพรบ.ปิโตรเลียม ลดการจัดเก็บภาษีรายได้จากบริษัทน้ำมันผู้สัมปทาน จากเดิมเก็บอยู่ 50% ก็ลดเหลือ 20%

– การแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ให้มีระบบการจัดเก็บรายได้เพิ่มเติม ให้มีระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างบริการ   ระบบกลไกการจัดเก็บจึงแตกต่างกันกับระบบสัมปทาน กล่าวคือ ในระบบสัมปทาน ผู้รับสัมปทานต้องจ่ายค่าภาคหลวงร้อยละ 5-15  ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ(ถ้ามีกำไรเกินควร ร้อยละ 0-75) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ 50    ในส่วนของระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต ผู้รับสัญญาจะต้องจ่ายค่าภาคหลวง ร้อยละ 10 ปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรร้อยละ 50 และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมร้อยละ 20    ความแตกต่างของการจัดเก็บภาษี เกิดจากความแตกต่างของระบบการจัดเก็บรายได้ที่แตกต่างกัน  แต่ไม่ว่าจะจัดเก็บรายได้จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในระบบใด รัฐจะได้มากกว่ารร้อยละ 50 ทั้งสองระบบ

ผลประโยชน์ที่รัฐได้รับจากสิทธิสำรวจอและผลิตปโตเลียม

> ก่อนคสช.เข้ามา เก็บภาษีรายได้จากผู้สัมปทานปิโตรเลียมได้ราว 1 แสนล้านบาท/ปี ปัจจุบันเก็บแค่ไม่ถึง 4 หมื่นล้านบาท/ปี

– แต่งตั้ง คสช. เมื่อ 22 พ.ค. 57
– ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เริ่มปรับตัวลดลง ประมาณเดือน ก.ค. 57 (2014) จาก 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จนถึงระดับต่ำสุดในเดือน ม.ค. 59 ประมาณ 26 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล  ดังนั้นรายได้ที่รัฐจะได้รับขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับการแต่งตั้ง คสช.

ราคาน้ำมันดิบดูไบ ย้อนหลัง 5 ปี

อ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบ ย้อนหลัง 5 ปี  (https://www.indexmundi.com/commodities/?commodity=crude-oil-dubai&months=60)

 

– การจัดเก็บภาษีปิโตรเลียมรายปีที่ลดลง นอกจากปัจจัยในราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงแล้ว การจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมรายปี ส่วนมาจะจัดเก็บในเดือน พ.ค. ของปีถัดไป  ดังนั้น หากในปี 2559 ราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับต่ำ (ช่วง 40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ) จะสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในปี 2560  ลดลงตามไปด้วย ดังกราฟด้านล่าง

กราฟจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียมปี 2560

> ขูดรีดภาษีน้ำมันปชช. อย่างโหดเหี้ยมอำมหิตกว่าทุกรัฐบาล

-*- ก็ท่องไว้เอาไปพัฒนาประเทศ เอาไปเป็นงบของกระทรวงต่างๆ อย่างกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับงบมากสุด

> ก่อนคสช.เข้ามา เก็บภาษีน้ำมันปชช.อยู่ราว 6 หมื่นล้านบาท/ปี ปัจจุบันเก็บ 2.2 แสนล้านบาท/ปี

น้ำมันคนใช้เยอะก่อนรัฐบาล คสช แน่ เพราะราคาน้ำมันลดลง คนก็ใช้มากขึ้น

> ขึ้นราคาก๊าซ LPG อย่างบ้าคลั่ง ขึ้นมากที่สุดกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านๆมาชนิดทิ้งไม่เห็นฝุ่น

การขึ้นราคา LPG คือการปรับโครงสร้าง เปิดเสรีให้เอกชนรายอื่นเข้ามาดำเนินกิจการ และที่สำคัญ รัฐบาลอื่นๆ มีการอุดหนุนราคา

> ขึ้นลงราคาน้ำมันไม่เป็นธรรมกับปชช. ตลาดโลกขึ้น น้ำมันไทยรีบขึ้นราคาตาม ตลาดโลกลดลง น้ำมันไทยไม่ค่อยจะลงตาม และหลายครั้งขึ้นราคาสวนทางตลาดโลกแบบหน้าด้านๆ และตอนขึ้น 50 สตางค์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนตอนลง 20-40 สตางค์เป็นส่วนใหญ่ ขึ้นลงลักษณะนี้จนปชช.ด่าจนหมดคำด่าไปแล้ว

ราคาน้ำมันเราอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งบางครั้งขึ้นมากกว่าลงด้วยซ้ำ และอย่าลืมว่าตอนขึ้น มันขึ้นแบบเขยิบแบบอั้น สะสมแล้วขึ้นทีเดียวไม่ได้ขึ้นเลยทันที แต่ลง ลงทันที ดังนั้นเวลาขึ้นจึงมากกว่าลง แบบนี้น้ำนมดิบราคาลง ทำไมเราไม่ได้กินนมกล่องที่ราคาถูกลงหล่ะ หรือแม้แต่ข้าวกระเพราที่ราคาถูกลงด้วยเวลาวัตถุดิบราคาลง

> แยกธุรกิจค้าน้ำมันออกจากปตท.ไปยกให้นายทุน

แยกธุรกิจน้ำมันเพื่อความคล่องตัว เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รัฐห้ามทำธุรกิจแข่งกับเอกชน และที่สำคัญ ปตท. หรือที่เป็นรัฐวิสาหกิจก็ยังถือหุ้นใหญ่สุด

> ขายหุ้นโรงกลั่นบางจากที่ปตท.ถือหุ้นอยู่ให้กลุ่มทุน
> ขายหุ้นโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม(SPRC)ที่ปตท.ถือหุ้นอยู่ให้นายทุน

ด่าเค้าผูกขาดไม่ได้ใช่หรอ ก็ขายหุ้นออกยังไงหล่ะ บางจากก็ขายให้กลุ่มทุนที่ว่าคือ กองทุนรวมวายุภักษ์ กับ สำนักงานประกันสังคม นะครับ นี่กลุ่มทุนหรอครับ ส่วน SRPC ก็ขายให้นักลงทุนรายย่อยทั่วไป

> ปตท.โกงท่อก๊าซ ก็ไม่ยอมทวงคืน

คืนไปเป็นชาติ ตามคำตัดสินของศาล แถมยังจำหน่ายคดีออกจากสารบบไปแล้ว

> แยกท่อก๊าซออกจากปตท.ไปให้นายทุน

ช้าก่อนนะโยม เค้าแยกท่อออกมา แล้วเอาไปเปิดเป็น TPA (Third Party Access) เปิดเสรีกว่าเดิมใครอยากใช้ก็มาขออนุญาตได้ แล้วสรุปตกลงอยากให้ ท่อก๊าซอยู่กับ ปตท อีกใช่หรือไม่

> อุ้มธุรกิจปิโตรเคมีของปตท. ด้วยการยกเลิกเก็บเงินภาคปิโตรเคมีเข้ากองทุนน้ำมัน ทั้งที่เดิมเขาก็จ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันน้อยกว่าประชาชนอยู่แล้ว ทำให้ทุกวันนี้ภาคปิโตรเคมีไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันสักบาท ทั้งที่ใช้ก๊าซ LPG มากกว่าใคร ใช้มากกว่าภาคครัวเรือนที่คนไทยใช้หุงต้มกันทั้งประเทศอีก

การจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันของภาคปิโตรเคมี ทุกภาคส่วนที่ต้องใช้ผลิตผลของก๊าซจากอ่าวไทยนั้น ไม่มีการจัดเก็บเพราะเนื่องจากไม่ได้ใช้เป็นเชื้อเพลิง และ ถ้าหากเก็บกองทุนฯ เพิ่มจะให้ต้นทุนแข่งขันกับปิโตรเคมีกับต่างประเทศไม่ได้และจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากปิโตรเคมีแพงขึ้นด้วย เช่น ยารักษาโรค เสื้อผ้าต่างๆ และจะบอกว่าการบริหารจัดการทรัพยากรที่สำคัญคือ การต่อยอดจากวัตถุดิบที่มีอยู่ทำอย่างให้เกิดประโยชน์มากสุดด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://energythaiinfo.blogspot.com/2019/01/5years.html

Share This: