ว่าด้วยคำพิจารณา ศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซ ปตท.
ท่อก๊าซ ปตท. / ศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซ
ก่อนอื่นขอสรุปความจากข้อเขียนที่เคยกล่าวไปแล้ว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556 ศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซตัดสินว่า ปตท. คืนท่อครบแล้ว และได้จำหน่ายคดีออกจากระบบ โดยหลักเกณฑ์การคืนท่อก๊าซนั้น คือ ที่ดินที่เกิดจากการใช้อำนาจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเวนคืนมา หรือที่ดินของเอกชนที่ทางการปิโตรเลียมเป็นผู้จ่ายค่าทดแทน โดยหากที่ดินนั้นเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น ปตท.จำเป็นต้องส่งคืนท่อก๊าซคืนสู่รัฐ และใช้วิธีจ่ายเงินเช่าท่อจากรัฐ ส่วนที่ดินใดที่ไม่เข้าข่ายก็ให้ตกเป็นของ ปตท.
สำหรับใครที่ยังสงสัยว่าท่อก๊าซ หรือ ท่อก๊าซ ปตท. ที่เป็นประเด็นอยู่ตอนนี้คืออะไร ขออธิบายสั้นๆ ว่า “ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ประกอบด้วยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล” ใช้เพื่อลำเลียงปิโตรเลียมเหลวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เนื่องจากมีแรงส่งโดยธรรมชาติ “โดยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. จะต่อเชื่อมแหล่งก๊าซธรรมชาติต่างๆ ในอ่าวไทย สถานีแอลเอ็นจี และท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา เยตากุนและซอติก้าสหภาพเมียนมาร์ ที่ชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ เข้ากับผู้ผลิตไฟฟ้า โรงแยกก๊าซธรรมชาติและลูกค้าอุตสาหกรรมภายในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ซึ่งมีมากกว่า 450 ราย คิดเป็นความยาว มีความยาวประมาณ 493 กิโลเมตร” …ข้อมูลจาก http://www.pttplc.com
ในส่วนรายละเอียดการคืนนั้น ที่หลายบางกลุ่มข้อสงสัยว่า ปตท.โอนท่อก๊าซส่งคืนมาคลังไม่ครบนั้น จากการตรวจสอบข้อมูลกับกรมธนารักษ์ยืนยันว่าปตท.ได้คืนท่อก๊าซฯ ในส่วนบนบกมูลค่า 15,000 ล้านบาท มาที่กรมธนารักษ์ในช่วงปี 2551 ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองเมื่อปี 2550 และ ปตท.จ่ายค่าเช่าให้กรมธนารักษ์เฉลี่ยปีละ 500-550 ล้านบาท สำหรับท่อก๊าซในทะเลนั้น มีข้อยุติแล้วว่าไม่ต้องโอนมาที่กระทรวงการคลัง และหลังจากที่ ปตท.ส่งมอบท่อก๊าซคืนให้กับกระทรวงการคลังแล้ว ได้ทำรายงานเสนอต่อศาลปกครองให้รับทราบ ซึ่งศาลปกครองก็ไม่ได้มีข้อสงสัยใดๆ ดังนั้นกรณีนี้จึงถือว่าเป็นยุติแล้ว
ส่วนในกรณีท่อก๊าซในทะเลนั้น ปตท.ไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินอันเป็นท่อในทะเล และท่อในทะเลก็เป็นการวางท่อกับพื้นใต้ทะเลมิได้มีการฝังติดตึงตราอันจะทำให้ท่อนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบกับที่ดินตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดแต่อย่างใด สำหรับทรัพย์สินส่วนที่เหลือก็เป็นทรัพย์สินที่ ปตท.ไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐในการได้มา เพราะเป็นการได้มาโดยการจัดซื้อ จัดหา หรือแลกเปลี่ยนตามกฎหมายเอกชน หลังจากแบ่งแยกเสร็จสิ้นแล้ว ได้รายงานผลการแบ่งแยกให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณา ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งว่าคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหมายศาลว่าด้วย
นั่นแปลว่าท่อก๊าซบนบกที่ได้มาด้วยอำนาจรัฐ ปตท. ได้ส่งคืนท่อก๊าซและใช้วิธีการ “จ่ายเงินค่าเช่า” ให้แก่รัฐ ส่วนท่อก๊าซในทะเล ตามคำพิจารณาของศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซไม่ถือว่าท่อนั้นๆ เป็นอสังหาริมทรัพย์จึงไม่จำเป็นต้องส่งคืนให้รัฐ และศาลได้ยุติการพิจารณาแล้ว ก็หวังว่าทุกคนจะทำความเข้าใจในตัวบทกฎหมาย เพราะประเทศไทยใช้คำสั่งศาลในการตัดสิน มิใช่อคติจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง