โกงพลังงานไทย ใครกันแน่ที่โกง?
ประชาชนเสียประโยชน์ แต่บริษัทเอกชนได้ประโยชน์เต็มๆน่ะสิ่ใช่หรือ หลายๆคนคงเคยเห็นเปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย มีข้อความเท็จต่างๆนานา ลองมาดูข้อมูลจริงเรื่องท่อก๊าซฯของปตท.ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ปตท จะเป็นชื่อย่อของ ปตท คือปล้นตลอดทางจริงหรือไม่ แล้วอะไรๆที่ว่าแพงมันแพงจริงมั้ย สาเหตุเพราะอะไร
การโอนทรัพย์สินตามคำพิพากษา
1. ที่ดินจากการได้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เนื้อที่ 32 ไร่ 74.1 ตารางวา รวม 106 แปลงในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง |
มูลค่า 1 ล้านบาท* |
2. สิทธิการใช้ที่ดินของเอกชน ที่ ปตท. ได้มาโดยอำนาจมหาชนเพื่อการวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ประกอบด้วย ทรัพย์สินระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (ตัวท่อส่งก๊าซฯ วัสดุ และอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบท่อส่งก๊าซฯ) | มูลค่า 1,137 ล้านบาท* |
3. ระบบท่อส่งก๊าซฯ เฉพาะส่วนที่อยู่ในที่ดินของเอกชน- โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย
– โครงการท่อชายแดนไทยพม่า-ราชบุรี – โครงการท่อราชบุรี-วังน้อย – โครงการท่อมาบตาพุด-บางปะกง |
มูลค่า 15,037 ล้านบาท* |
*มูลค่าทางบัญชี ณ 30 ก.ย. 44
หมายเหตุ : ศาลปกครองสูงสุดได้บันทึกในคำร้องขอของ ปตท. ว่า “…วิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ถูกฟ้อง คดีที่ 1 ถึงที่ 4 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว…”
เงินที่ใช้ในการลงทุนสร้างท่อก๊าซฯของปตท. ก่อนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยนั้น ไม่ได้นำมาจากงบประมาณของรัฐเพียงอย่างเดียว แต่ต้องกู้เงินมาใช้ในการลงทุนด้วย ซึ่งหลังการแปรรูปมีการโอนทรัพย์สินระบบท่อตาม พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ให้ บมจ.ปตท. โดยรัฐนั้นก็ได้รับเงินคืนจากการจำหน่ายหุ้นที่มีการประเมินราคาหุ้นอย่างเหมาะสมแล้ว แม้ว่าต่อมาได้มีการโอนทรัพย์สินบางส่วนให้กับกระทรวงการคลัง แต่ ปตท. ยังคงต้องรับผิดชอบหนี้สินและดอกเบี้ยทั้งหมดของการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาให้พร้อมใช้งาน
การปรับค่าผ่านท่อเป็นช่องโหว่ให้ปตท.โกงพลังงงานไทย คุณคิดแบบนี้หรือ?
การปรับค่าผ่านท่อนั้นเป็นผลมาจากการลงทุนขยายระบบท่อส่งก๊าซฯ เพื่อจัดหาก๊าซฯ เพิ่มจากอ่าวไทยและสหภาพพม่า โดยใช้เงินลงทุนเพิ่มกว่า 1.6 แสนล้านบาท ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2550 นอกจากขยายระบบท่อ รัฐยังให้ ปตท. ขยายอายุการใช้งานระบบท่อเดิมออกไปอีก 15 ปี เป็น 40 ปี ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนในการบำรุงรักษาเพื่อช่วยเฉลี่ยค่าผ่านท่อให้ลดลง มิฉะนั้นค่าผ่านท่อใหม่ต้องอยู่ในระดับ 66 บาท/ล้านบีทียู และ ปตท. ได้ใช้การประเมินทรัพย์สินตามหลักสากลเพื่อประมาณการเงินลงทุนในการขยายอายุการใช้งานไปตลอด 15 ปี โดยมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานให้ความเห็นชอบ ซึ่งการประเมินดังกล่าวเป็นมูลค่าปัจจุบันเพียง 24,000 ล้านบาท โดยไม่มีการตีมูลค่าใหม่ทางบัญชี
จากการปรับเพิ่มค่าผ่านท่อข้างต้น ประกอบกับค่าเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นตามปริมาณการใช้ มีผลทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1.2 สตางค์/หน่วย แต่ถ้าไม่มีการลงทุนขยายท่อ ประเทศต้องใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นถึง 50–70 สตางค์/หน่วย
และที่บอกว่าประเทศไทยจ่ายค่าไฟแพงนั้น ก็ไม่เป็นความจริง เพราะเมื่อเปรียบเทียบค่าไฟของไทยกับประเทศต่างๆจะพบว่าค่าไฟของไทยถูกกว่าในหลายประเทศ
สรุปได้ว่า สาเหตุที่น้ำมันแพง ก๊าซแพง ค่าไฟแพง เพราะว่าการลงทุนขยายระบบท่อส่งก๊าซ เพื่อให้การจัดหาก๊าซเป็นไปได้อย่างสะดวก และยังเป็นการเพิ่มอายุการใช้งานให้นานยิ่งขึ้น ถึงจะมีผลกระทบมาถึงค่าไฟฟ้าเพียงแค่ 1.2 สตางค์/หน่วย แต่ก็ดีกว่าที่ประเทศไทยต้องใช้น้ำมันเตาผลิตไฟฟ้า อยากให้ทุกคนมองถึงเบื้องลึกของการขึ้นราคา มีเหตุและผลมากขึ้นก็จะทำให้สังคมอยู่อย่างเป็นสุขมากขึ้น