ใครว่าปตทขูดรีดคนไทย แล้วใครควรรับภาระตลาดโลก?
ข่าวต่างๆนานาที่ออกสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่พาดพิงถึงเรื่องปตทขูดรีดคนไทยนั้น มีกระแสข่าวที่ค่อนข้างรุนแรงและเป็นแง่ลบของ ปตท เสียส่วนมาก ทั้งในเรื่องปตท โก่งราคาน้ำมัน บางคนกล่าวไว้ว่า ปตท คือ ปล้นตลอดทางด้วยซ้ำ และผู้คนส่วนมากเลือกที่จะเสพข่าวในแง่ลบมากกว่า การนำบทความของ ปตท มาบอกกล่าวในวันนี้ ไม่ได้อยากจะสวนกระแสหรืออะไร แค่อยากให้ลองเปิดใจ ทำใจเป็นกลางและลองอ่านดู ว่าจริงๆแล้ว ปตทขูดรีดคนไทยจริงๆหรือเปล่า
จริงอยู่ที่ก๊าซฯ ธรรมชาติที่ใช้ในโรงแยกก๊าซฯ นั้นได้มาจากอ่าวไทย แต่ก็ต้องยอมรับกันด้วยว่าคงจะไม่มีใครตัดสินใจสร้างโรงแยกก๊าซฯ หากรู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้นั้นจะถูกควบคุมราคาขาย ให้ต่ำกว่าต้นทุน เพราะจากศึกษาของกระทรวงพลังงานที่ได้ให้บริษัท Deloitte ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำมาศึกษาต้นทุนของ LPG พบว่าประมาณการต้นทุนราคา LPG ปี 2553 อยู่ที่ 450 เหรียญ/ตัน ในขณะที่รัฐบาลควบคุมราคาจำหน่ายหน้าโรงแยกก๊าซฯ ให้อยู่ที่ 333 เหรียญฯ/ตัน มาเป็นเวลานาน ทำให้ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ LPG ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ไม่ว่าผลิตจากโรงกลั่นหรือจากโรงแยกก๊าซฯ โดยผู้ผลิตต้องเป็นผู้แบกรับภาระดังกล่าว
ต่างกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นกิจการที่มีการแข่งขันอย่างเสรี ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเจรจาต่อรอง และกำหนดราคาซื้อขายวัตถุดิบ LPG ระหว่างกันได้โดยไม่มีการควบคุม อุดหนุนหรือแทรกแซงราคาจากภาครัฐ ดังนั้นในวันที่ LPG ขาดแคลน และต้องมีการนำเข้าเราไม่ควรส่งภาระดังกล่าวให้กลุ่มที่ไม่เคยได้รับการอุดหนุนมาก่อน อย่างไรก็ตามการค่อยๆ ปล่อยกลไกตลาดทำหน้าที่จะช่วยให้ปัญหาต่างๆ ในอนาคตลดลงจากความสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน
แต่มันก็น่าคิดนะว่า…รัฐยังถือหุ้นใหญ่ “บมจ.ปตท.” แท้ๆทำไมยอมให้เกิดปัญหาแบบนี้ได้
• รัฐไม่เคยปล่อยให้เอกชน หรือหน่วยงานใดดำเนินธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม หรือเอาเปรียบประชาชน ในทางกลับกันรัฐมีหน้าที่ดูแลให้ราคาพลังงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เป็นธรรม โดยรัฐได้ใช้ ปตท. ในฐานะรัฐวิสาหกิจเป็นกลไกในการรักษาเสถียรภาพของราคาพลังงาน เช่น ประชาชนชาวไทยได้ใช้ LPG ถูกกว่าราคาตลาดโลก จากการควบคุมราคาของรัฐบาลมาตลอดเป็นเวลากว่า 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2538
• ไม่จริงเลยที่บอกว่าประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการที่ ปตท. มีผลการดำเนินงานที่มีผลกำไร เพราะแค่ย้อนหลังไป 10 ปี (หลังจากที่ปตท. แปรรูปตั้งแต่ปี 2544 – 2554) รัฐบาลได้รับเงินจาก ปตท. ทั้งในรูปแบบของภาษีและเงินปันผลกว่า 462,403 ล้านบาท ซึ่งเงินดังกล่าวรัฐบาลได้นำไปพัฒนาประเทศ ซึ่งเกิดผลประโยชน์ตกกับประชาชนทุกคน
• กิจการพลังงานเป็นธุรกิจที่เปิดเสรี ที่กลไกอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลกเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน โดยมีกฎหมายและหน่วยงานที่ติดตามกำกับดูแลธุรกิจพลังงาน เพื่อรักษาความเป็นธรรมด้านราคาและความปลอดภัยของประชาชนมีหลายหน่วยงาน เช่น
หรือว่าต้องทนให้ปตท โกงคนไทยต่อไป?
• เนื่องจากภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท. ดังนั้นจึงส่งผู้แทนไปเป็นคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลชี้แนะการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่นเดียวกับบริษัททั่วไปที่จะต้องมีผู้ถือหุ้นใหญ่เข้าไปเป็นกรรมการ
ปตท. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ ปตท. ต้องดำเนินกิจการภายใต้ถือหุ้นพ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ดังนั้น จึงต้องปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ออกโดยตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในการคัดเลือก แต่งตั้ง บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม รวมทั้งแนวทางการพิจารณาค่าตอบแทนคณะกรรมการอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมครัฐ) ไม่เข้ามาดูแลทรัพย์สินแล
• ทั้งนี้ ค่าตอบแทนกรรมการ ปตท. ยังต่ำกว่าบริษัทอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ในประเทศโดยทั่วไป
สรุปได้ง่ายๆคือ เราทุกคนควรจะยอมรับในเรื่องราคาน้ำมัน ว่าทำไมถึงแพง ไม่มีใครอยากใช้ของแพง แต่ก็ต้องเข้าใจกลไกราคาน้ำมันตลาดโลกด้วย ไม่ใช่ว่า 10-20 ปีที่แล้วเคยใช้อยู่ลิตรละ 10 บาท ปัจจุบันก็ยังจะใช้ลิตรละ 10 บาทเท่าเดิม โลกมีการเปลี่ยนแปลง หมุนเวียนเดินหน้าพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทรัพยากรที่เคยมีมากจนเหลือใช้ กลับกลายเป็นร่อยหรอลงทุกวัน ทำไมไม่คิดบ้างล่ะว่าที่น้ำมันแพงเพราะทรัพยากรไม่เพียงพอต่อความต้องการ อยากให้น้ำมันถูกลง เรามาช่วยกันประหยัดพลังงาน ประหยัดทรัพยากรดีกว่าไหม? ประเทศไทยจะได้อยู่กันอย่างมีความสุข