11ผู้บริหารทีมอเวนเจอร์ปตท. เปิดจักรวาลพลังงานไทย โดย ณ กาฬ เลาหะวิไลย
เครดิต : https://businesstoday.co/interview/nhakran/1701/
กลุ่มปตท.เป็นกิจการที่ทำรายได้สูงสุดในประเทศไทย มีสินทรัพย์มากสุด และติดอันดับบริษัทโลกจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์จูน ไม่บ่อยครั้งนักที่ผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มปตท. 11 คน จะมาฉายภาพแลดงให้เห็นทิศทางการทำธุรกิจอย่างพร้อมเพียง ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ ขุดเจาะสำรวจก๊าซ น้ำมัน ไปจนถึงกิจการค้าปลีกในปั๊มน้ำมัน
เริ่มจากในปีนี้ธุรกิจที่จะเป็นเรือธง สร้างรายได้ให้กลุ่มปตท.มากสุด ได้แก่กิจการต้นน้ำในการสำรวจ ขุดเจาะ ปิโตรเลียม โดยกิจการสำคัญคือ บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.สผ.)
“กลุ่มปตท.จะหาโอกาสใหม่ๆ โดยไฟฟ้าที่จะเป็นพลังงานสำคัญ โดยที่ได้ทำไปแล้ว อาทิ การสร้างโรงไฟฟ้าลอยน้ำ ตัดแปลงมาจากเรือขนก๊าซ การศึกษาลู่ทางลงทุนผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน หากมีโอกาสปตท.อยากจะลงทุนด้านสายส่ง”
พงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. กล่าวว่า ภารกิจสำคัญที่เร่งดำเนินการเป็นการรับช่วงสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกชและเอราวัณ ในอ่าวไทย เพื่อรองรับการผลิตใน 10 ปีข้างหน้า พร้อม ๆ กับการขยายโอกาสในในต่างประเทศ เป้าหมายอยู่ที่ มาเลเซีย พม่า โอมาน และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์
ขณะเดียวกันเพื่อรองรับการผลิตและความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต ปตท.สผ. อยากให้เร่งเปิดการลงทุนสำรวจแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศไทยรอบใหม่ ซึ่งมีโอกาสมากขึ้น จากเทคโนโลยีการขุดเจาะที่ทันสมัย และการลงทุนที่ลดต่ำลง รวมถึงขอให้เปิดเจรจารอบใหม่ในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา
วิรัตน์ เอื้อนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น และก๊าซธรรมชาติ มั่นใจว่า ในส่วนของธุรกิจก๊าซ น้ำมัน ยังคงอยู่ได้อีก 10-15 ปี กลุ่มปตท.วางเป้าหมายจะเป็นศูนย์กลางก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)ในภูมิภาค โดยการขยายคลังเก็บในประเทศ ควบคู่กับการขยายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในประเทศ รวมถึงการหาแหล่งพลังงานใหม่ อย่างถ่านหิน
เมื่อเห็นธุรกิจเด่นแล้ว ปีนี้ธุรกิจที่ต้องปรับตัวอย่างรุนแรง เป็นอุตสาหกรรมขั้นปลาย โดยเฉพาะปิโตรเคมี สุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีทีโกลบอล เคมีคอล(พีทีทีซีจี )กล่าวว่าสิ่งที่ต้องทำในช่วงอุตสหกรรมชะลอตัวคือการหาโอกาสในการลงทุน การซื้อกิจการ เพื่อรอวัฎจักรปิโตรเคมีขาขึ้นอีกครั้ง
บริษัทมุ่งไปยังอุตสาหกรรมคืออุตสาหกรรมไบโอเคมีคัล อุตสหกรรมหมุนเวียน ที่ทำแล้วอาทิ การนำพลาสติกในทะเลมาผลิตใหม่ การรีไซเคิลขวดพลาสติกกลับมาเป็นเม็ดพลาสติก การลงทุนไบโอคอมเพล็กซ์ครบวงจรที่จ.นครสวรรค์
ส่วนการลงทุนต่างประเทศที่สำคัญ คือโครงการปิโครคอมเพล็กซ์ครบวงจรที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเป็นไปได้และความชัดเจนมากขึ้น
ด้าน นพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไออาร์พีซี กล่าวว่า บริษัทปรับกระบวนการผลิต โดยเน้นการเป็นปิโตรเคมีที่ครบวงจร มุ่งผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ขยายสินค้าที่มีมูลค่าสูง พัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และนำข้อมูล Big Data มาใช้ในธุรกิจมากยิ่งขึ้น โดยที่ผ่านมาการใช้ข้อมูลและเทคโนลิยีดิจิทัลได้สร้างผลงานที่ดี สามารถขายสินค้าได้ในราคาเหมาะสม
อธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้หจัดการใหญ่ ไทยออยล์( TOP ) กล่าวว่าเป้าหมายสำคัญของไทยออลย์ เป็นการลงทุนโครงการพลังงานสะอาด ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ รองรับมาตรฐาน ยูโร 5 การเพิ่มกำลังการกลั่นน้ำมันดิบจาก 2.75 แสนบาร์เรล เป็น 4 แสนบาร์เรล ต่อวัน ทั้งหมดจะทำให้เพิ่มความสามารถการแข่งขัน อาทิ การนำน้ำมันราคาถูกจากต่างประเทศอย่างจากเม็กซิโก เข้าสู่กระบวนการผลิตได้
มองเข้าในในกิจการค้าปลีกน้ำมัน จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก ( พีทีทีโออาร์) กล่าวว่า แผนงานสำคัญด้านแรกเป็นการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ ได้แก่ ลาว เขมร ฟิลิปปินส์ อินเดีย และจีน โดยมีคาเฟ่ อเมซอน เป็นหัวหอกสำคัญ
นอกจากนั้นยังจะขยายสินค้าใหม่ๆ ในปั๊มน้ำมัน อาทิ ไก่ทอด เท็กซัส ชิคเก้น พร้อม ๆ กับส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดยในส่วนการนำกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์ อยู่ในระหว่างกระบวนการดำเนินงาน
ตบท้าย ของกิจการปลายน้ำได้แก่ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ จีพีเอสซี กล่าวว่า เป้าหมายระยะใกล้ของบริษัทเป็นการเพิ่มมทุนเข้าไปซื้อกิจการโกลล์ พลังงาน โดยมีการลดราคาหุ้นเพิ่มทุน หวังให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเข้ามาลงทุน จากนั้นจะนำโกลว์ฯออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
บริษัทคงใช้เวลาอีกช่วงในการปรับองค์กร ให้เกิดประสิทธิภาพหลังการควบกิจการ เพื่อรองรับแผนการในอนาคต โดยเฉพาะเป้าหมายการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าแบบหมุนเวียนอีก 8,000 เมกกะวัตต์ ซึ่งเป็นแผนระยะยาว ลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ส่วนการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน จะทำการทดลองด้านการพาณิชย์ ทำแบตเตอรี่ต้นแบบ เพื่อทดสอบกระบวนการผลิตและการใช้งานจริง
ด้าน อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย สรุปว่า ในกลุ่มปตท.รายได้ 80% มาจากธุรกิจขั้นปลาย โดยสร้างกำไรประมาณ 30-40%
รายได้ดังกล่าว ทำให้ปตท. ติดอันดับกิจการชั้นนำของนิตยสารฟอร์จูน ซึ่งสร้างผลดีต่อทั้งภาพพจน์ ในแง่ของการทำธุรกิจระดับนาชาติชาติ ขณะเดียวกันอีกกิจการในกลุ่มปลายน้ำคือค้าปลีกน้ำมันจะลงถึงระดับชุมชน เป็นเศรษฐกิจชุมชน ช่วยชุมชน และอีกด้านต้องประคับประคองธุรกิจปิโตรเคมีที่อยู่ในช่วงขาลง โดยต้องเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ทำให้อยู่ในกลุ่มกิจการที่มีประสิทธิภาพ
ในแง่ภาพรวมแผนงานลงทุนกลุ่มปตท. อรวดี โพธิสาโร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์องค์กร กล่าวว่า ต้องเน้นทำให้เกิดการเชื่อมโยงในกลุ่ม โดยเม็ดเงินลงทุนสำคัญในอนาคตเป็นการลงทุนของจีพีเอสซี การลงทุนในสหรัฐอเมริกาของพีทีทีจีซี การลงทุนในพลังงานชนิดใหม่ รวมถึงโครงการแบตเตอรี่
ส่วนมุมมองซีอีโอ ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มปตท.กล่าวว่า ปตท.ต้องสร้างการแข่งขัน ควบคู่ความมั่นคง รวมถึงปรับแผน กลยุทธ์บริษัทให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐ และมองหาโอกาสในธุรกิจไบโอเคมีคัล รวมถึงพลังงานทางเลือก พลังงานจากพืช
สุดท้าย ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานกรรมการ ปตท. กล่าวว่า กลุ่มปตท.จะหาโอกาสใหม่ๆ โดยไฟฟ้าที่จะเป็นพลังงานสำคัญ โดยที่ได้ทำไปแล้ว อาทิ การสร้างโรงไฟฟ้าลอยน้ำ ตัดแปลงมาจากเรือขนก๊าซ การศึกษาลู่ทางลงทุนผลิตไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน หากมีโอกาสปตท.อยากจะลงทุนด้านสายส่งไฟฟ้า
ทั้งหมดคือข้อมูลโดยตรงจาก 11 ผู้บริหารระดับสูงของปตท. ที่ไม่เพียงแสดงถึงทิศทางการลงทุนปตท.เท่านั้นแต่แทบกล่าวได้ว่า คือการวางอนาคตพลังงานของไทย