Articles Posted by the Author:


  • ข้อเท็จจริง:ท่อก๊าซ ปตท.ขอชี้แจงความจริงอีกครั้ง

    ข้อเท็จจริง:ท่อก๊าซ ปตท.ขอชี้แจงความจริงอีกครั้ง

    ท่อก๊าซ / ศาลปกครอง คดีคืนท่อก๊าซ – สตง. ทวงคืนท่อก๊าซ ปตท. – แปรรูปท่อก๊าซ จากของรัฐให้เป็นของเอกชน – นโยบายแปรรูปท่อก๊าซกลายเป็นของเอกชนฟรีๆ ไม่ต้องเสียภาษี – ท่อก๊าซ เป็นสาธารณสมบัติ การยักยอกท่อก๊าซ คือ การปล้นอธิปไตยทางเศรษฐศาสตร์ – สตง. สั่ง ปตท. คืนท่อก๊าซ แล้วลุงตู่เลิกอุ้ม ปตท. ปล้นชาติซะที – ผู้ตรวจการจี้ รัฐไม่แยกท่อก๊าซก่อนแปรรูปขัดมติ ครม. แนะนายกฯ สั่งทบทวนแบ่งทรัพย์สิน – แยกท่อก๊าซขาย … อนุมัติไปแล้ว การทบทวนก็แค่ให้ไปตรวจ – ข้าราชการ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทวงคืนท่อก๊าซ จาก ปตท. เป็นกรรมการได้รับเงินและโบนัสจากกำไรของกลุ่มบริษัท ปตท. – 12 ปี ปตท. จ่ายค่าเช่าท่อก๊าซให้รัฐ 5,000 ล้านบาท ฟันรายได้จากการเก็บค่าผ่านท่อ 300,000 […]


  • เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. ตอนที่ 2

    เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. ตอนที่ 2

    เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. ตอนที่ 2 คงไม่มีบริษัทไหนบนโลกที่ยอมจ้างพนักงานด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงกว่าความสามารถในการสร้างมูลค่าให้บริษัทของพนักงานคนนั้นๆ  ยกตัวอย่าง พนักงาน ก. เงินเดือน 15,000 บาท นั่นหมายความว่าพนักงานผู้นี้มีความสามารถในการสร้างรายได้ให้บริษัทมากกว่าเดือนละ 15,000 บาทนั่นเอง ซึ่งเงินเดือนสูงหรือต่ำไม่สามารถวัดค่าได้จากสายตาคนภายนอก แต่เป็นเรื่องระหว่างพนักงานคนนั้นกับบริษัท ที่จะสามารถวัดมูลค่าเงินเดือนว่าคุ้มค่ามากแค่ไหน เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. ก็เช่นกัน มีผู้นำตัวเลขจากรายงานประจำปีของบริษัท นำมาหาค่าเฉลี่ยและนำเสนอข้อมูลว่า เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. สูงมาก ซึ่งไม่สามารถวัดได้ว่าคำว่าสูงนั้นหมายถึงอย่างไร ในเมื่อค่าคำว่า “สูง” ของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน จากมุมมองของคนทั่วไปเงินเดือน 10,000 – 20,000 บาท อาจมองว่าตัวเลขเงินเดือนนี้สูงมากกว่ารายได้รายปีของพวกเขาเสียอีก แต่ถ้าเป็นระดับผู้บริหารด้วยกันในบริษัทต่างๆ คงไม่มองแบบเดียวกัน เพราะพวกเขาต่างรู้ดีว่า เงินเดือนมาพร้อมความรับผิดชอบ และความสามารถเสมอ ยิ่งต้องใช้ความสามารถมากก็ยิ่งได้รับเงินเดือนมาก เพราะอย่างที่บอกในตอนต้นว่าเรากำลังพูดถึง “บริษัท” หากบริษัทจ้างพนักงานด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงกว่าความสามารถของพนักงานคนนั้นๆ นั่นหมายความว่ารายจ่ายของบริษัทจะสูงกว่ารายรับ และปลายทางการบริหารก็คงไม่พ้นคำว่า “เจ๊ง” เป็นแน่ ไม่เพียงผู้บริหารของ ปตท. เท่านั้น ประเทศไทยยังมีผู้บริหารมากความสามารถ เต็มไปด้วยประสบการณ์ ที่ได้รับค่าตอบแทนเหมาะสมต่อสิ่งที่พวกเขาทำเพื่อบริษัทมากมาย ยกตัวเอย่าง […]


  • ตอบข้อสงสัย ค่าการตลาดน้ำมันสูงคืออะไร น้ำมันแพงได้ยังไง

    ค่าการตลาดน้ำมันสูง ก่อนที่จะเริ่มพูดคุยถึง “ค่าการตลาดน้ำมัน” เราควรทราบถึงว่าน้ำมัน 1 ลิตร เราต้องจ่ายค่าอะไรบ้างได้แก่ ต้นทุนสินค้า (ราคาหน้าโรงกลั่น), ภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ, กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง, กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน, และ ค่าการตลาด ( Marketing Margin ) Share This:


  • ปี2558 การขึ้นราคา LPG จะทำให้ราคาน้ำมันถูกลงมั้ย

    ปี2558 การขึ้นราคา LPG จะทำให้ราคาน้ำมันถูกลงมั้ย

    ขึ้นราคา LPG/ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ตอนที่ 2     ประชาชนได้อะไรจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน?.. เป็นคำถามที่ประชาชนให้ความสนใจมาก เพราะนอกจากประชาชนจะรู้สึกว่าการปรับโครงสร้างในครั้งนี้ เหมือนการขึ้นราคา LPG ซึ่งทำให้ประชาชนต้อง “จ่ายมาก” ขึ้น โดยลืมให้ความสำคัญว่าการปรับในครั้งนี้ประเทศชาติจะได้ประโยชน์อะไร และประโยชน์นี้จะส่งผลถึงประชาชนอย่างไรบ้าง จึงจะขอนำเสนอประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ออกเป็นข้อย่อยให้พิจารณากัน ดังนี้  1. LPG มีเพียงพอใช้ในทุกภาคส่วน เนื่องจาก     – เดิมผู้ขาย LPG มีความต้องการขายให้ภาคปิโตรเคมีมากกว่า เนื่องจากราคาที่สูงกว่า เพราะในภาคส่วนอื่นๆ มีการกำหนดราคาที่ถูกกว่า จนภาคส่วนอื่นๆ ต้องพึ่งพาการนำเข้าซึ่งมีราคาสูงกว่า การปรับโครงสร้างราคาจึงเป็นการสร้างความเท่าเทียมในด้านราคา     – ผู้ขายไม่มีแรงจูงใจในการขาย LPG เนื่องจากราคาขายในประเทศค่อนข้างต่ำไม่คุ้มค่าในการผลิต การปรับโครงสร้างราคาใหม่จึงสร้างอุปทานให้เกิดความต้องการขยายการผลิตเพื่อขายในประเทศมากขึ้น     – ก่อนการปรับโครงสร้างราคา เมื่อเข้าสู่ AEC ผู้ขายจะมีความต้องการขายออกนอกประเทศมากกว่า เนื่องจากราคาขายในประเทศถูกกว่าส่งออกค่อนข้างมาก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้า LPG อยู่ 15% หากมีการส่งออกมาก ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น การปรับโครงสร้างราคา LPG ให้ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ใน AEC จึงเป็นการลดอุปทานในการส่งออก 2. LPG […]


  • ราคาน้ำมันตลาดโลกลด เปิดมุมมองใหม่

    ราคาน้ำมันตลาดโลกลด เปิดมุมมองใหม่

    เหตุผลที่ราคาน้ำมันตลาดโลกลดแต่ทำไมราคาน้ำมันไทยไม่ลด น้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม จัดอยู่ในสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ “Commodity” หมายถึง สินค้าที่ตัวสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม ด้วยเหตุที่สินค้าโภคภัณฑ์มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ราคาน้ำมันตลาดโลกนั้นได้กำหนดให้น้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม ด้วยความเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ จึงมีการอ้างอิงราคาตลาดกลาง (ตลาดค้าที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนั้น) โดยมีแหล่งผลิตน้ำมันดิบที่สำคัญในโลก 3 แห่ง ได้แก่ น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) และน้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI) ปัจจัยกำหนดราคา Oil Futures ราคา Oil Futures ปรับเปลี่ยนขึ้นลงทุกวัน ตามการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้น้ำมันดิบและปริมาณน้ำมันดิบที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ ความต้องการใช้น้ำมันดิบ (Demand) อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจาก – การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว ความต้องการใช้น้้ามันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความต้องการน้ำมันดิบและราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มตาม ในทางตรงกันข้าม ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวหรือภาวะถดถอย กิจกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลง ความต้องการน้ำมันดิบก็จะลดลง และท้าให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามไปด้วย – สภาพภูมิอากาศ ความต้องการน้ำมันดิบอาจเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เช่น ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ จะมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามฤดูกาล โดยในฤดูหนาว […]


  • บ่อน้ำมันในไทย

    บ่อน้ำมันในไทย

    บ่อน้ำมันในไทย     การมีบ่อน้ำมันมากแปลว่าประเทศนั้นๆ มีน้ำมันมากใช่หรือ? … ไม่ต้องคิดนาน คงมีหลายท่านที่อมยิ้มเบาๆ พลางคิดในใจว่า มันจะเกี่ยวกันได้อย่างไร ซึ่งก็น่าแปลกที่บางกลุ่มชอบนำประเด็นเรื่องจำนวนบ่อน้ำมันหรือบ่อปิโตรเลียมในประเทศ มาตั้งเป็นขอ้สังเกตว่าน้ำมันในประเทศเราต้องมีมากอย่างแน่นอน สำหรับใครที่ยังสงสัยเรื่อง บ่อน้ำมันในไทย ขอเอาตรรกะง่ายๆ มาฝากกันว่า ประเทศหนึ่งมีบ่อปิโตรเลียม 100 บ่อ บ่อหนึ่งขุดได้เฉลี่ย 100 บาร์เรลต่อวัน เทียบกับประเทศที่ 2 มีบ่อปิโตรเลียม 10 บ่อ แต่ละบ่อขุดได้เฉลี่ยวันละ 3,000 บาร์เรลต่อวัน คำถามคือประเทศไหนสามารถขุดน้ำมันได้มากกว่ากัน (แน่ล่ะ! คำตอบคือประเทศที่ 2 )     ตอบให้เคลียร์กันไปสำหรับบางคนที่ยังมีข้อสงสัยว่า จริงหรือ? ในเมื่อเรากับพม่าก็อยู่ติดกัน ลักษณะทางธรณีวิทยาต้องมีความใกล้เคียงกันสิ หรือแต่ละประเทศก็อยู่บนพื้นโลก มีสภาพแวดล้อมไม่ได้แตกต่างกันหลายเท่าตัวขนาดนั้น จริงหรือที่ธรณีวิทยาจะมีความแตกต่างกัน จนสามารถเสาะหาปิโตรเลียมได้ต่างกันขนาดนั้น คำตอบคือ “จริง” ครับ     จากที่เห็นในภาพจะเห็นว่าประเทศไทยต้องใช้แรงงานมากกว่า ต้นทุนสูงกว่าในการจะขุดหาปิโตรเลียม แถมแต่ละแหล่งก็อยู่แยกเป็นกระเปาะเล็กๆ ยากต่อการขุดด้วย จึงมีปริมาณการผลิตน้อยกว่าประเทศพม่าซึ่งเป็นหลุมใหญ่ ขุดเจาะง่ายและใช้งบประมาณน้อยกว่าไทย     ปัจจุบันประเทศไทยมีหลุมปิโตรเลียมทั้งหมด 6,908 แต่ที่ยังมีการเปิดผลิตอยู่มีทั้งสิ้น 3,179 หลุม ที่เหลืออีก […]


  • ว่าด้วยคำพิจารณา ศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซ ปตท.

    ว่าด้วยคำพิจารณา ศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซ ปตท.

    ท่อก๊าซ ปตท. / ศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซ ก่อนอื่นขอสรุปความจากข้อเขียนที่เคยกล่าวไปแล้ว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556 ศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซตัดสินว่า ปตท. คืนท่อครบแล้ว และได้จำหน่ายคดีออกจากระบบ โดยหลักเกณฑ์การคืนท่อก๊าซนั้น คือ ที่ดินที่เกิดจากการใช้อำนาจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเวนคืนมา หรือที่ดินของเอกชนที่ทางการปิโตรเลียมเป็นผู้จ่ายค่าทดแทน โดยหากที่ดินนั้นเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น ปตท.จำเป็นต้องส่งคืนท่อก๊าซคืนสู่รัฐ และใช้วิธีจ่ายเงินเช่าท่อจากรัฐ ส่วนที่ดินใดที่ไม่เข้าข่ายก็ให้ตกเป็นของ ปตท. สำหรับใครที่ยังสงสัยว่าท่อก๊าซ หรือ ท่อก๊าซ ปตท. ที่เป็นประเด็นอยู่ตอนนี้คืออะไร  ขออธิบายสั้นๆ ว่า “ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.  ประกอบด้วยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก  และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล” ใช้เพื่อลำเลียงปิโตรเลียมเหลวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เนื่องจากมีแรงส่งโดยธรรมชาติ “โดยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. จะต่อเชื่อมแหล่งก๊าซธรรมชาติต่างๆ ในอ่าวไทย สถานีแอลเอ็นจี และท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา เยตากุนและซอติก้าสหภาพเมียนมาร์ ที่ชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ เข้ากับผู้ผลิตไฟฟ้า โรงแยกก๊าซธรรมชาติและลูกค้าอุตสาหกรรมภายในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ซึ่งมีมากกว่า 450 ราย คิดเป็นความยาว มีความยาวประมาณ 493 กิโลเมตร” …ข้อมูลจาก http://www.pttplc.com ในส่วนรายละเอียดการคืนนั้น […]


  • ข้าราชการบอร์ด ปตท.ผลประโยชน์ทับซ้อน

    ข้าราชการบอร์ด ปตท.ผลประโยชน์ทับซ้อน

    ข้าราชการบอร์ด ปตท. ตามที่กลุ่มบางกลุ่มที่คัดค้าน สัมปทานรอบที่ 21 และไม่เห็นด้วยกับกระบวนการทำงานของกระทรวงพลังงาน รวมถึง ปตท. มีการตั้งคำถามทั้งต่อคนที่มีความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ไปจนถึงผู้ถือหุ้นต่างๆ ด้านพลังงาน ทุกคำถามมีการตอบคำถามและคำชี้แจง แต่น่าเสียดายที่คำตอบกลับมีผู้ให้ความสนใจน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับคำถาม และหลายคำถามก็ได้สร้างอคติให้คนเข้าใจผิดเรื่องพลังงานจนเกิดเป็นกระแสต่อต้านอยู่ในทุกวันนี้ ยกตัวอย่างคำถามหนึ่ง ที่อดีต สว. ท่านหนึ่งเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของข้าราชการ บอร์ด ปตท. ความว่า “ที่ผ่านมาเห็นชัดว่าข้าราชการของกระทรวงพลังงานคือตัวปัญหา เพราะเข้าไปนั่งเป็นทั้งบอร์ดปตท. และอยู่ใน กบง.ที่มีบทบาทกำกับดูแลราคาน้ำมัน ซึ่งเมื่อปตท.มีกำไร ข้าราชการที่เข้าไปนั่งเป็นบอร์ด ปตท.ก็จะได้รับโบนัส จึงเป็นเรื่องของผลประโยชน์หลายแสนล้านบาทที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรง” ซึ่งคำถามดังกล่าวถูกนำมาเล่นเป็นละครรีเมคไม่จบสิ้น ทั้งที่อีกฝ่ายก็ตอบข้อข้องใจครั้งแล้วครั้งเล่า จนบางทีคนตอบยังท้อใจ ตรงนี้ผู้เขียนขอหยิบยกคำตอบของ ดร. คุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ที่ตอบคำถามนี้ (อีกครั้ง) ในงานสัมมนา เดินหน้าประเทศไทยเพื่อความมั่นคงทางพลังงานที่ยั่งยืน  ซึ่งจัดขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชนิดคำต่อคำมาให้อ่านกัน “ผมอยากที่จะเรียนอีกสักนิดหนึ่งครับที่ ท่าน สปช. รสนา พูดถึงผลประโยชน์ทับซ้อน ท่านธีระชัยด้วย เหมือนทวงความซื่อสัตย์สุจริตและการรักษาประโยชน์ส่วนรวมจากผม ผมก็เสียใจอยู่นิดหนึ่งครับว่า […]


  • ปตท. ใช้เงินปิดปากสื่อ ข่าวเท็จจริงเป็นอย่างไร

    ปตท. ใช้เงินปิดปากสื่อ ข่าวเท็จจริงเป็นอย่างไร

    ปตท. ใช้เงินปิดปากสื่อ ผู้เขียนใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อให้ไม่พูดถึงสื่อหลักช่องใดๆ หรือหนังสือพิมพ์หัวใดก็ตาม ซึ่งยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก แต่จะพยายามหลีกเลี่ยงและกล่าวถึงให้น้อยที่สุดแล้วกัน …. คำถามที่มักถูกตั้งขึ้นและโหนกระแสเป็นช่วงๆ คือ ปตท. ใช้เงินปิดปากสื่อหรือไม่? ซึ่งจากคำถามนี้ ชี้ให้เห็นว่าบุคคลที่ตั้งคำถามนี้มีความเคลือบแคลงใจต่อการปฎิบัติหน้าที่ของสื่อ ที่มักไม่พูดถึงสถานการณ์ที่กลุ่มบางกลุ่มพยายามตั้งคำถามต่อรัฐ เช่น ราคาน้ำมันแพง ราคาแก๊สแพง ปตท. ฉ้อฉล หรือแม้แต่กำไร ปตท. เกิดจากการขูดรีดประชาชน ว่าจริงหรือไม่? มองในฐานะประชาชนที่เสพข่าว สื่อมักเลือกประเด็นข่าวที่ประชาชนส่วนมากให้ความสนใจ โดยตัดเรื่องความคิดเห็น ทรรศนะหรืออคติ ที่มีต่อข่าวนั้นๆ ออก ใช้เพียงข้อเท็จจริงในการนำเสนอข้อมูล โดยประชาชนเองเป็นผู้เสพข้อมูลนั้นๆ และตัดสินใจตามความคิดของแต่ละคน โดยเราต้องแยกให้ออกระหว่างตัว “ข่าวกับบทความจากบุคคลต่างๆ ที่ลงในสื่อข่าว” ว่ามีเป้าหมายและตัวเนื้อความที่แตกต่างกันชัดเจน บางครั้งเราอาจเห็นนักเขียนที่มีชื่อแสดงทรรศนะด้านการเมือง ด้านพลังงานลงในสื่อหนังสือพิมพ์ สิ่งนั้นไม่ใช่ข่าวแต่คือ “บทความ” โดยเราจะเห็นว่ายิ่งสื่อใดๆ ที่มีจำนวนคนเสพเป็นจำนวนมาก เช่นสื่อโทรทัศน์ช่องหลัก หรือหนังสือพิมพ์ทั่วไปที่ไม่ลงข่าวเฉพาะทาง สื่อนั้นๆ จะยิ่งระวังตัวเป็นอย่างมากในการนำเสนอข่าวที่ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่งหรือโน้มน้าวให้คนเชื่อในทิศทางที่ตนต้องการ ตามจรรยาบรรณในการทำงานของตนเอง กลับมาที่คำถามว่า ปตท. ใช้เงินปิดปากสื่อจริงหรือไม่ ผู้เขียนไม่อยากฟันธงลงไป เนื่องจากอยากให้ข้อมูลที่เป็นกลางเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเลือกตัดสินใจได้ แน่ล่ะว่าเรื่องของ “เงิน” เป็นเรื่องใหญ่ในการทำธุรกิจ […]