Articles Posted by the Author:

  • ย้อนดูการแปรรูปปั๊ม ปตท. สมัยคุณปู่ คุณย่า สู่ยุคปัจจุบัน

    สุดคลาสสิก! ย้อนเวลากลับไปชมภาพ ‘ปั๊มน้ำมัน’ สมัยคุณปู่ คุณย่า     ปัจจุบัน ‘ปั๊มน้ำมัน’ เป็นมากกว่าการให้บริการน้ำมัน เพียงอย่างเดียว เรียกได้ว่า ปั๊มน้ำมันคือเพื่อนเดินทางอย่างแท้จริง นอกจากจะให้บริการ ห้องน้ำสะอาด หรือแม้กระทั่งห้องอาบน้ำ ร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ร้านอาหารทั้งไทย และเทศ ที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง กาแฟสดยี่ห้อเดียวกัน แต่รสชาติไม่เหมือนกันเลยสักร้าน หรือ แม้กระทั่ง ร้านขายเสื้อผ้า และของโอทอป ก็มีบริการที่ปั๊มน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ‘ตราสามทหาร’     ปั๊มน้ำมันสามทหารในจังหวัดลำพูน เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2503 ปัจจุบันได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ปั๊มน้ำมันสามทหาร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้ามาศึกษา และเยี่ยมชมได้ ในปี พ.ศ.2521 มีการเปลี่ยนแปลงจากสถานีบริการน้ำมัน ตราสามทหาร มาเป็น ปตท. โดยวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อดำเนินกิจการด้านพลังงานด้วยการพึ่งพาตนเอง เพราะในช่วงนั้นประเทศไทยประสบวิกฤติขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการอุปโภค-บริโภค ภาพนี้คือ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่ปรับเปลี่ยนจากตราสามทหาร ตั้งอยู่บริเวณพระบรมมหาราชวังแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สำหรับ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในยุคแรก […]


  • สาเหตุการแปรรูป ของ ปตท. และประโยชน์ที่ชาติได้รับ

        จากที่เคยเล่าไว้ถึง สาเหตุของการแปรรูป และประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับ ซึ่งจะขอย้อนความ ถึงประโยชน์ที่ชาติจะได้รับจากการแปรรูป 3 ข้อหลัก คือ เป็นการระดมทุนเพื่อไปแก้ไขปรับสถานการณ์การเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย ของ ปตท. ซึ่งเป็นผลดีต่อรัฐ เพราะรัฐจะได้ปันผลเป็นรายได้ ในรูปแบบต่างๆ กลับเข้าสู่รัฐมากขึ้น เป็นการระดมทุนเพื่อนำเงินไปซื้อโรงกลั่น ทำให้โรงกลั่นเป็นของคนไทย เงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ เป็นการกระตุ้นตลาดหลักทรัพย์ ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น     โดยจะเห็นว่าการแปรรูปในครั้งนี้สร้างผลประโยชน์มากมายให้กับประเทศ ในรูปแบบของเม็ดเงินเข้ารัฐและเม็ดเงินลงทุน จากที่มีกระแสทวงคืน ปตท. ให้กลับมาเป็นของรัฐ ทั้งที่ตอนนี้ ปตท. กลายเป็นบริษัทมหาชนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะเกิดผลเสียอย่างไรต่อประเทศบ้าง หากใช้วิธียึดคืน นั่นคือการทำลายความน่าเชื่อถือในการลงทุนของประเทศ ซึ่งมีผลโดยตรงกับนักลงทุนที่จะนำเงินมาลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ประเทศชาติเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากนักลงทุนและมีผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ หากใช้วิธีซื้อคืน รัฐต้องระดมทุนมหาศาลเพื่อซื้อหุ้นจำนวน 2.8 พันล้านหุ้น คิดมูลค่าหุ้นทั่วไป รัฐจะต้องใช้เงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท (คิดมูลค่าต่อหุ้น 380 บาท) ในการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ     นอกจากจะเป็นเรื่องยากและเกิดความเสียหายมากมายในการนำหุ้นกลับมาเป็นของรัฐแล้ว รัฐยังต้องลงแรงในการเข้ามาบริหารงานในส่วนนี้ด้วย ซึ่งไม่มีอะไรการันตีเลยว่าการลงทุนมหาศาลอย่างนี้จะสร้างความคุ้มค่าให้กับรัฐ กลับกันจะเพิ่มความเสี่ยงในการบริหารอีกด้วย     สิ่งหนึ่งที่กลุ่มทวงคืนพลังงานหรือ NGO มักนำมาเพื่อปลุกปั่นกระแสทวงคืนพลังงาน […]


  • ข้อสงสัย สตง เรื่องการรับรองรายงานบัญชีประจำปีของ ปตท.

    ตั้งข้อสงสัยถึง สตง เรื่องการรับรองรายงานบัญชีประจำปีของ  ปตท. กับ การตรวจสอบเรื่องคืนท่อก๊าซ     หากท่านผู้อ่านได้เคยอ่านรายงานประจำปี ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ อย่างหนึ่งที่ต้องมีคือ การตรวจสอบเอกสาร รับรองทรัพย์สินและค่าใช้จ่ายต่างๆ และในกรณีของบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจด้วยแล้ว รายงานประจำปี ย่อมมีความเข้มงวดในการตรวจสอบจาก หน่วยงานต่างๆ     กลับมาที่เรื่อง การคืนท่อส่งก๊าซ ที่เป็นคดีกันอยู่ขณะนี้ระหว่าง ปตท. กับ คตง. ที่ได้มีการออกสื่อไปต่างๆ ซึ่งขัดกับการระบุลงไปในรายงานประจำปี ของ ปตท. โดยสิ้นเชิง ดังนั้นน่าจะต้องกลับมาตั้งข้อสังเกตุที่เป็นหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบบัญชีว่า มีจุดประสงค์ใดกันแน่   สตง. ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากที่ให้ความเห็นเรื่องท่อในทะเลถือเป็นสาธารณะสมบัติ เป็นการตีความโดยไม่เป็นไปตามคำสั่งศาลและการพิจารณาของ ครม. หรือไม่? สตง. บกพร่องในหน้าที่ เนื่องจากได้รับข้อมูลแบ่งแยกทรัพย์สินจาก ปตท. ตั้งแต่เดือนม.ค. 2551 แต่ดำเนินการล่าช้า โดยให้ความเห็นไม่ทันกำหนดเวลาที่ต้องรายงานศาลในเดือน ธ.ค. 51 หรือไม่? สตง. ปกปิดความบกพร่องของตนเอง กล่าวร้ายผู้อื่น ขาดจริยธรรมและจรรยาบรรณของการปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานตรวจสอบของรัฐ โดยกล่าวหา ปตท. ว่าให้ข้อมูลไม่ครบต่อศาล ทั้งที่เป็นผู้ให้ข้อมูลล่าช้าเอง […]


  • รองปลัดคลังสวนกลับ คตง. สตง. หมิ่นศาล กั๊กข้อมูลปกปิดความผิดตัวเอง

    รองปลัดคลังสวนกลับ คตง. สตง. หมิ่นศาล กั๊กข้อมูล ปกปิดความผิดตัวเอง     นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวในฐานะเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าจะละเว้นการปฏิบัติหน้าที่กรณีที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ระบุว่า บมจ.ปตท. (PTT) คืนท่อก๊าซให้กระทรวงการคลังไม่ครบถ้วนและรายงานข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐว่า ข้อกล่าวหาทั้ง  2 ประเด็นดังกล่าว ปราศจากเหตุและผลทุกประการ      ที่มา ภาพ http://www.mof.go.th/vayupak/inc_news_detail.php?id=313     นอกจากนั้น ยังมีการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้ทำความเห็นไปยังศาลปกครองและศาลปกครองได้ตอบยืนยันเป็นทางการแล้วว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินเรียบร้อยแล้ว อีกทั้ง คตง. และ สตง.ก็รู้ว่าที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดก็มีคำวินิจฉัยเป็นที่สุดแล้วว่า การแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว การที่ คตง.และ สตง. ยังเห็นว่าไม่ครบจึงเท่ากับเป็นการดูหมิ่นศาลปกครอง     อีกทั้งยังปกปิดความผิดของตัวเองที่รับรองงบการเงินของ บมจ.ปตท.ที่ผ่านมาอย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งที่ สตง. เป็นผู้ทักท้วงว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินยังไม่ครบถ้วน รวมทั้งละเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ให้หารือคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีที่มีปัญหาโดยได้ข้อยุติต่อไป แต่กรณีนี้การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกายังไม่เป็นที่ยุติ คตง.กับ สตง.กลับมาสรุปเองว่าการแบ่งแยกทรัพย์สินยังไม่ครบถ้วน และใช้อำนาจกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และรายงานเท็จ     นายอำนวย กล่าวว่า พฤติกรรมของ คตง.และ สตง.ดังกล่าวเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตเป็นอย่างยิ่ง     สำหรับข้อเท็จจริงที่ คตง.และ […]


  • ข่าวแฉ ปตท ขี้โกง แต่องค์กรโปร่งใสนานาชาติ ถือว่า ปตท. โปร่งใสที่สุด

    องค์กรโปร่งใสนานาชาติจัดให้ ปตท. ติดกลุ่มท็อป 25 หรืออยู่ในกลุ่มที่ถือว่าโปร่งใสที่สุด     เองค์กรโปร่งใสนานาชาตินำ 100 บรรษัทมาจัดอันดับด้านความโปร่งใสอินเดียคะแนนสูงสุด บรรษัทจีนต่ำสุด ไทยมี 3 บริษัทติด Top 25 ทั้งอินโดรามา,ไทย ยูเนียน โฟรเซน และ ปตท. ส่วนกลุ่มซีพีอยู่ในกลุ่มรั้งท้ายโปร่งใส่อันดับ 93 ได้ 0.6 จาก 10 คะแนน     เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2559 องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International)รายงานความโปร่งใสประจำปี 2016 ของบรรษัทใหญ่ระดับโลก (Transparency in Corporate Reporting: Assessing Emerging Market Multinationals) โดยสำรวจ 100 บรรษัทในประเทศเศรษฐกิจใหม่ 15 ประเทศที่ไม่เพียงแต่ทำธุรกิจในประเทศตัวเองแต่ยังออกไปทำธุรกิจนอกประเทศ 185 ประเทศทั่วโลกถือได้ว่าบรรษัทเหล่านี้เกิดความล้มเหลวในด้านความโปร่งใส มีการคอร์รัปชั่นพร้อมกับเรียกร้องให้หยุดคอร์รัปชั่นที่ไปทำธุรกิจในต่างประเทศ     จากการสำรวจพบว่า 75 % ของ […]


  • ปตท. “ความภาคภูมิใจ และ สมบัติอันล้ำค่าของคนไทย”

    ปตท. “ความภาคภูมิใจ และ สมบัติอันล้ำค่าของคนไทย” Pride and Treasure of Thailand PTT = Pride and Treasure of Thailand ปตท. “ความภาคภูมิใจ และ สมบัติอันล้ำค่าของคนไทย”     บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล- อดุลยเดชที่ได้พระราชทาน “หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง” แก่พสกนิกรชาวไทย ซึ่ง ปตท. ในฐานะ บริษัทพลังงานแห่งชาติ ได้น้อมนํามาเป็นแนวทาง ในการดําเนินธุรกิจตลอดมา เพื่อที่จะเป็นองค์กรแห่ง ความภาคภูมิใจและเป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทย (Pride and Treasure of Thailand) โดยมุ่งมั่น เป็นองค์กรที่ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล ปฏิบัติภารกิจหลักในการจัดหาพลังงานให้แก่ประเทศ อย่างพอเพียง ทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน ควบคู่ไปกับ การดูแลสังคม ชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม ปตท. ได้ดําเนินธุรกิจให้มีผลตอบแทนที่เหมาะสม […]


  • ปตท.โกง คืนท่อก๊าซฯไม่ครบ จะฟ้องกี่ครั้งผลก็เหมือนเดิม

    เรื่องท่อก๊าซฯ จะฟ้องกี่ครั้งผลก็เหมือนเดิม     เรื่องปตท.โกง คืนท่อก๊าซฯไม่ครบ จะฟ้องกี่ครั้งผลก็เหมือนเดิม ศาลระบุชัด “หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” ไม่อาจนำมาฟ้องคดีได้อีก ข้อความด้านบนเป็นส่วนหนึ่งในคำสั่งล่าสุดของศาลปกครอง ในคดีหมายเลขดำเลขที่ ๖๐๓/๒๕๖๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๗๖๘/๒๕๖๐ สืบเนื่องจากกรณีล่าสุด ที่มีผู้ฟ้องคดีดังกล่าวต่อศาลปกครองอีกครั้ง     โดยในคำฟ้องมีการระบุให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งรวม ๗ ข้อ ซึ่งคดีนี้มีสองประเด็นสำคัญที่ศาลจะต้องพิจารณาคือ คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีเป็นคำฟ้องที่ศาลสามารถรับไว้พิจารณาได้หรือไม่     โดยศาลได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้เนื้อหาของคดีจะอยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียหรือประโยชน์โดยตรง อีกทั้งไม่สามารถแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้ว่า การโอนคืนท่อก๊าซธรรมชาติของ บริษัท ปตท.ให้แก่กระทรวงการคลัง ซึ่งผู้ฟ้องเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้ความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะก่อความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีโดยตรงและเป็นการเฉพาะตัวอย่างไร     นอกจากนั้นที่สำคัญยังระบุว่า     “การที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ กระทำการโอนคืนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน(ท่อก๊าซฯ)จากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ให้แก่กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ ฟ. ๔๗/๒๕๔๙ คดีหมายแดงที่ ฟ. ๓๕/๒๕๕๐ ยังมีลักษณะเป็นการร้องขอที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคดีตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าวซึ่งศาลปกครองสูงสุดได้มีการสั่งคำร้องในส่วนของการบังคับคดีไว้แล้วว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีนั้นได้ ศาลจึงไม่อาจรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาได้” จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ      อย่างไรก็ดีจะเห็นได้ว่าคดีนี้เป็นคดีล่าสุดในประเด็นเรื่องท่อก๊าซธรรมชาติที่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง แต่อาจไม่ใช่คดีสุดท้าย เพราะจากข่าวที่ปรากฏ จะเห็นว่ายังคงมีความพยามอย่างต่อเนื่องในการทวงคืนท่อก๊าซฯจากบุคคลบางกลุ่ม แต่ไม่ว่าจะเป็นคดีใด ถ้าคำขอในคดีมีเนื้อหาเป็นการขอให้บังคับในตัวท่อก๊าซธรรมชาติ ศาลปกครองจะไม่สามารถรับไว้พิจารณาได้ ดังที่เคยมีคำสั่งหรือคำพิพากษาไปหลายครั้งแล้วในก่อนหน้านี้ […]


  • สตง. ให้ ปตท. ชี้แจงเรื่องแบ่งแยกท่อก๊าซไปให้รัฐ

    ท่อก๊าซ ปตท. สำคัญไฉน โดย ฉกาจนิตย์ จุณณะภาต นักกฎหมายพลังงาน     จากการเดินสายชี้แจงเรื่อง hot issue ที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องการให้ ปตท. แบ่งแยกท่อก๊าซของ ปตท. ไปให้รัฐ ในช่วงที่ผ่านมา นั้น     ผมเริ่มมองเห็นภาพว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของ ปตท. กับ รัฐ อย่างที่เคยเข้าใจเสียแล้ว แต่การหาทางออกที่ไม่ถูกต้องของเรื่องนี้ จะกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนทุกคนมากทีเดียว     ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น คือ ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยจะเกิดความปั่นป่วนอย่างมาก เพราะขนาดของกลุ่ม ปตท. ในตลาดมีขนาดถึง 1 ใน 4 ของภาพรวม     เอกชนและนักลงทุน จะสูญเสียความเชื่อมั่นและไม่กล้าลงทุนในโครงการใหญ่อีก เพราะไม่รู้ว่าจะโดนรัฐยึดไปเมื่อไหร่     นอกจากนั้น ระบบคุ้มครองสิทธิ์ของเอกชนโดยศาลจะสั่นคลอน เพราะคำพิพากษาของศาลไม่ถูกเชื่อถือโดยหน่วยงานของรัฐ     เรื่องย่อๆ เกี่ยวกับท่อก๊าซ ปตท. นี้ เพจ ‘สรุป’ ได้จัดทำไว้แล้วค่อนข้างดีสำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามมาก่อน #สรุป #สรุปเดียว ลองอ่านกันได้ครับ […]


  • รู้แล้วอึ้ง เมื่อเห็นคะแนนความโปร่งใสขององค์กรต่างๆ (สตง.)

    คุณจะต้องอึ้ง เมื่อได้เห็นคะแนนความโปร่งใสองค์กรต่างๆ จากเอกสารนี้     เห็นองค์กรอิสระคอยตรวจสอบนั่นนี่องค์กรต่างๆ แต่พอมีการจัดให้คะแนนความโปร่งใสองค์กร กลับอยู่ในอันดับที่ไม่น่าเชื่อ     มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ป.ป.ช. ได้เผยแพร่ผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity &Transparency Assessment หรือ ITA) ประจำปีงบประมาณ 2558 (ป.ป.ช. ประกาศผลเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2559) (สามารถดูอันดับได้ทาง https://www.nacc.go.th/download/article/article_20160912155521.pdf)     ทั้งนี้ มีการประเมินหน่วยงานทั้งสิ้น 115 หน่วยงาน แบ่งเป็น สำนักงานศาล (เฉพาะหน่วยธุรการ) 3 หน่วยงาน องค์กรอิสระ 3 หน่วยงาน องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ 2 หน่วยงาน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 1 หน่วยงาน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 1 หน่วยงาน หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 55 หน่วยงาน องค์การมหาชน 50 […]


  • แปรรูปเพื่ออะไร … ทำไมต้องขายสมบัติชาติ ?

        อ่านข่าว “ซาอุดิอาระเบียเตรียมขายหุ้น IPO ของ Aramco” แล้วก็กลับมามองย้อนถึงสถานการณ์ในประเทศไทย เพราะตั้งแต่มีการแปรรูป ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็มักถูกกลุ่มที่พยายามปลุกระดมทางการเมือง คอยบิดเบือนให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นการ “ขายสมบัติชาติ” อยู่เสมอ โดยไม่มองว่าหลังการแปรรูป รัฐหรือประชาชนได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการแปรรูปในครั้งนั้น     ย้อนกลับไปในปี 2544 ได้มีการจัดจำหน่ายหุ้น บมจ. ปตท. ซึ่งแปรสภาพมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน 920,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200,000,000 บาท เพื่อระดมทุนด้วยเหตุผล สำคัญ 3 ข้อ คือ ปตท. ต้องการเงินทุน เพื่อไปแก้ไขปรับสถานการณ์การเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย การที่ ปตท. ระดมทุนในครั้งนี้ถือเป็นผลดีต่อรัฐ เพราะผลกำไรที่เกิดจากบริษัทในเครือก็มีผลต่อบริษัทแม่ และปันผลเป็นรายได้สู่รัฐ โดยที่รัฐไม่ต้องควักเงินลงทุนและถือความเสี่ยงเพิ่ม ซึ่งในเวลานั้นเป็นช่วงเศรษฐกิจในยุค IMF รัฐยังขาดสภาพคล่องทางการเงิน ปตท. มีโอกาสที่จะได้ลงทุนในอุตสาหกรรมการกลั่น และปิโตรเคมีที่บอบช้ำหนักหลังวิกฤติ ทำให้ราคาถูก อีกทั้งรัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณมาให้ได้ ปตท. จึงจำเป็นที่จะต้องระดมทุนเพื่อนำเงินไปซื้อโรงกลั่น […]