ทวงคืน ท่อก๊าซ / ปตท. คืนท่อก๊าซไม่ครบ อันที่จริงประเด็นเรื่อง ปตท. คืนท่อก๊าซให้รัฐครบหรือไม่นั้น เป็นประเด็นเดิมที่พูดถึงกันอยู่เนืองๆ แต่ช่วงหลังโดยเฉพาะหลังจาก คสช. ได้ยึดอำนาจ ประเด็นเรื่องการทวงคืน ท่อก๊าซ ดูเหมือนจะถูกหยิบยกมาเล่น ไม่ต่างจากเกมการเมืองอย่างไม่รู้จบ นั่นอาจเพราะคาดหวังให้ คสช. ใช้อำนาจโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านศาล ซึ่งท้ายที่สุดแล้วศาลก็ตัดสินว่า ปตท. คืนท่อก๊าซ ครบแล้วและจำหน่ายคดีท่อก๊าซออกจากสารบบไปแล้วตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 แต่กระนั้นเหมือนว่า “คำตัดสินศาล” จะไม่อาจหยุดความต้องการในการทวงท่อก๊าซ จากกลุ่มคนบางกลุ่มได้ กลายเป็นการดีเบตวาทะของกลุ่มคน 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งบอกว่าคืนไม่ครบต้องคืนทุกท่อก๊าซปตท. อีกฝ่ายเชื่อถือคำสั่งศาล ซึ่งอันที่จริงเรื่องนี้ไม่ได้มีความซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจ เพียงแต่ด้วยการให้ข้อมูลแบบขาดๆ หายๆ หรือข้อมูลไม่ครบ ส่งผลให้ผู้ที่คอยติดตามเกิดความสับสนและเข้าใจเรื่องราวผิดไปจากข้อเท็จจริง “จุดเริ่มต้น ภายหลังจากที่ได้มีการแปรสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ไปเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 เพื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อมา วันที่ 31 สิงหาคม […]
ขึ้นราคาก๊าซ เสื้อแดง ท่ามกลางกระแสความปรองดองในประเทศ ที่ทุกคนพยายามละลายสี ละลายความขัดแย้ง เพื่อให้ประเทศได้เดินหน้าต่อไป ยังมีรากลึกบางอย่างที่ยังฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของคนไทยบางกลุ่ม ยังคงมีการแบ่งแยกว่า คนนั้นเป็นพวกคนนี้ องค์กรนี้อยู่ในอำนาจของคนนั้น ให้เราเห็นอยู่ประปราย ไม่เว้นแม้แต่เรื่องเกี่ยวกับพลังงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในประเทศ ที่ยังคงถูกพูดถึงแม้จะผ่านระยะเวลามาหลายปีว่า ปตท.เป็นของใคร โดยไม่คำนึงว่านโยบายต่างๆ ที่ออกมาเพื่อผลประโยชน์แก่คนทั้งชาติ แต่กลับมองว่าเมื่อนโยบายได้การสนับสนุนจากคนสีใด สีนั้นต้องได้ประโยชน์และอีกสีต้องเสียผลประโยชน์เป็นแน่ ย้อนไปปี 2556 มีการพูดถึงสถานการณ์ราคาก๊าซในประเทศที่ได้รับการอุดหนุนราคาจากภาครัฐโดยเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำมัน ซึ่งหากจะมองกันดีๆ ก็จะทราบว่าการให้คนใช้น้ำมันช่วยอุดหนุนราคาก๊าซ ก็ดูไม่เป็นธรรมกับผู้ใช้น้ำมันเลย จึงเริ่มมีนโยบายที่จะยกเลิกกองทุนน้ำมัน ซึ่งจะมีผลให้ราคาก๊าซเพิ่มขึ้น แต่ราคาน้ำมันจะลดลง ในวันที่ 28-30 สิงหาคม 2556 ได้มีกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “รวมพลคนรักษ์พลังงาน” เข้าชุมนุมที่หน้าสำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต และมีกลุ่มคนเสื้อแดงเข้าร่วมปราศรัยกว่า 100 คน โดยแกนนำได้ขึ้นเวทีปราศรัย ระบุว่ามาให้กำลังใจนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน และเห็นด้วยกับนโยบายขึ้นราคา LPGของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อยกเลิกเก็บเงินคนใช้น้ำมัน ซึ่งมองในความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงความคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่มาเพื่อสนับสนุนนโยบายและให้กำลังแก่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เท่านั้น อย่างไรก็ดีจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้บางสี บางกลุ่มเริ่มตั้งคำถามและข้อสงสัย พยายามโยงทักษิณ และกลุ่มเสื้อแดงเข้ากับ […]
ทำไมแก๊สแพง คำว่า “น้ำมันแพง” หรือ “แก๊สแพง” กลายเป็นคำที่คนมักใช้ติดปาก แม้ว่าเราจะไม่สามารถวัดได้ว่า “แพง” หมายถึงอย่างไร และคำว่า “ถูก” ที่เราต้องการคือราคาเท่าไหร่ รู้แต่ว่าราคาถูก คือราคาที่ฉันอยากได้ เป็นราคาแบบตามใจฉัน แต่เพราะราคาปัจจุบันยังไม่ถูกใจ จึงกร่นด่าว่าแพงไว้ก่อน ซึ่งหากจะวัดคำว่าแพง จากกำไรที่ได้ ราคาแก๊ส (LPG) หน้าปั๊มอยู่ที่ 23.96 บาท ในขณะที่ค่าการตลาดหรือกำไรอยู่ที่ 3.2566 บาท (9/6/2558) เมื่อคิดเป็นสัดส่วนกำไรคือ 13.59% ยังไม่นับต้นทุนของแต่ละปั๊ม นั่นแปลว่าสินค้าชนิดนี้ไม่ได้สร้างกำไรให้ผู้ค้ามากมายเลย บางท่านอาจแย้งว่า ในเมื่อก๊าซขุดได้ในประเทศ ทำไมจึงต้องตั้งราคาต้นทุนไว้ซะสูง โดยลืมคิดไปว่าในความเป็นจริง อุปสงค์หรือความต้องการใช้ก๊าซของประเทศไทยมากกว่าอุปทานหรือการจัดหาที่สามารถหาได้ในประเทศเสียอีก ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซส่วนหนึ่งในรูป LNG (Liquid Natural gas) ซึ่งมีราคาสูงมาก นอกจากนี้ ราคาขายปลีกก๊าซบ้านเรายังรวมภาษีสรรพสามิตและเงินเก็บเข้ากองทุนอีกด้วย ก่อนที่เราจะตัดสินใจว่า ทำไมแก๊สแพง (LPG) มาทำความรู้จักกับโครงสร้างราคากันก่อนดีกว่า 1. ในโครงสร้างราคาน้ำมันและ LPG นั้นจะประกอบด้วยหลักๆ คือ ราคาหน้าโรงกลั่น […]
มติ ครม.ให้ปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากอ่าวไทย มักมีการกล่าวอ้างว่า “ปิโตรเคมีแย่งประชาชนใช้ก๊าซ” ในสังคมโซเชียล หรือบ้างก็ว่า LPG ในภาคปิโตรเคมี เป็นเหตุผลให้ไทยต้องนำเข้าก๊าซอยู่ในปัจจุบัน และหากตัดธุรกิจในส่วนนี้ไป ก๊าซที่ผลิตได้นั้นเพียงพอต่อความต้องการใช้ก๊าซ ในประเทศ ทำความเข้าใจกันสักนิด ย้อนไปในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ปี 2525 – 2529 ได้กล่าวถึงแผนการพัฒนาชายฝั่งตะวันออกให้กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ โดยได้วางบทบาทพื้นที่มาบตาพุดเป็น “แหล่งอุตสาหกรรมหลัก” เช่น อุตสาหกรรมแยกก๊าซ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมโซดาแอชเป็นต้น นั้นหมายความว่า “ปิโตรเคมี” เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รวมถึงเป็นเหตุผลในการสร้างโรงแยกก๊าซอีกด้วย อ้างอิงไปถึง มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่ 3/2551 (ครั้งที่ 122) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ในข้อที่ 7 ว่าด้วย มาตรการด้านการค้า ในข้อที่ 7.1.1 “โดยหลักการจัดสรรการผลิตก๊าซ LPG ในประเทศ จะถูกจัดสรรไปให้กับภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีเป็นลำดับแรก และจัดสรรให้ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ หากปริมาณการผลิตก๊าซ […]
เบื้องหลังน้ำมันไทย เมื่อต้นปีที่ผ่านมามีการแชร์คลิปของทหารท่านหนึ่งที่ออกมากล่าวถึงเบื้องหลังน้ำมันไทย และมีการแชร์จนเกิดความเข้าใจผิดในกลุ่มคนที่ได้รับชมคลิป รวมถึงเกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงานของรัฐ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เนื้อหาที่นำมาพูดนั้น ส่วนหนึ่งเป็นคำพูดเพียงครึ่งเดียว มีความจริงปนอยู่บางส่วน โดยหากนำมาพูดไม่เต็มประโยคก็มักจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด โดยจะขอนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ คำว่า “น้ำมันและแก๊ส จะหมดภายในอีก 6-7 ปี” หรือ ก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี ไม่ได้หมายถึงปริมาณปิโตรเลียมใต้ดินมีเหลือให้เราขุดขึ้นมาอีก 6-7 ปี หากแต่หมายถึง การคำนวณจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้ว 8.41 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ณ สิ้นปี พ.ศ. 2556 หารด้วยปริมาณการผลิตทั้งปีจากอัตราการผลิตเฉลี่ยประมาณ 4,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก็จะเหลือประมาณ 6.8 ปี ตามรายงานของ BP Statistical Review of world energy 2013 workbook ซึ่งตัวเลข 6-7 ปีนี้ เป็นตัวเลขเฉลี่ยรวมปริมาณสำรองและการผลิตก๊าซธรรมชาติจากทุกแหล่ง ในบางแหล่งที่อัตราการผลิตสูงอาจจะเหลือ 3-4 ปี ต้องเร่งสำรวจหาเพิ่มในกระเปาะอื่นๆ บางแหล่งอาจจะยาวถึง […]
รู้จริงพลังงานไทย กล่าวถึงสถานการณ์ความต้องการใช้พลังงานไทย ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งคาดว่าก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี,ราคาก๊าซตลาดโลกลด,ตลอดจนมติ ครม.ให้ปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากอ่าวไทย, แหล่งพลังงานไทยที่มี เช่น บ่อน้ำมันไทย, แสวงหาแหล่งพลังงานนอกประเทศ เช่น แหล่งผลิตน้ำมันประเทศโอมาน, ผลิตก๊าซจากประเทศเวียตนาม, เมียนม่าร์ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไทย การขยายการนำเข้า ตลอดจนราคาน้ำมันตลาดโลก, ราคาน้ำมันประเทศลาว ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน และการเตรียมความพร้อมด้านพลังงานในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน AEC สถานการณ์ความต้องการใช้พลังงานไทย ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งคาดว่าก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี,ราคาก๊าซตลาดโลกลด,ตลอดจนมติ ครม.ให้ปิโตรเคมีใช้ก๊าซจากอ่าวไทย, ยกเลิกสัมปทานปิโตรเลี่ยม, แหล่งพลังงานไทยที่มี เช่น บ่อน้ำมันไทย และแหล่งน้ำมันทับซ้อน ตลอดจนราคาน้ำมันตลาดโลก, ราคาน้ำมันประเทศลาว ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตอบข้อสงสัยที่ว่า ก๊าซจะหมดภายใน 7 ปี จริงหรือ เราสามารถหาแหล่งพลังงานจากไหนมาทดแทนได้หรือไม่ Share This:
ปตท. กำไรแสนล้าน ภาษาไทยเป็นภาษาซึ่งมีความซับซ้อนทางภาษา และซ่อนนัยยะการสื่อความหมายอยู่มากมาย บางคำ พูดกันอยู่โต้งๆ แต่กลับมีวาระซ่อนเร้นของความหมายที่น่ากลัว ซ่อนอคติ การติเตียน คำกำกวม และการทำให้เข้าใจผิด อย่างคำง่ายๆ ที่เราคุ้นชินในช่วงหลายปีที่ผ่านมา …”ปตท. กำไรแสนล้าน” ปตท. กำไรแสนล้าน ซ่อนนัยยะอะไรให้เราตีความหมายกันบ้าง ลองคิดเล่นๆ ถ้ามีคนบอกว่าบริษัทหนึ่ง ที่เราต้องซื้อสินค้า(ที่เรารู้สึกว่าแพง)ของเขาเป็นประจำนั้น มีกำไรแสนล้าน เราคงจะรู้สึกในทันที ว่ากำไรมากมายมหาศาลเหลือเกิน กำไรนั้นต้องเป็นเงินที่ขูดรีดจากเราแน่ๆ และกำไรนั้นต้องเกิดจากการคอรัปชั่น โดยแอบซ่อนความรู้สึกอิจฉาอยู่เบาๆ เพราะเชื่อสิหากมีคนหยิบยื่นโอกาสให้คุณเป็นผู้บริหารบริษัทแสนล้าน น้อยคนนักที่จะกล้าปฎิเสธ เอาใหม่ๆ หากเราเติมว่า “ปตท.กำไรแสนล้าน จากรายได้ 2.88 ล้านล้านบาท” (ข้อมูลสถิติ ปี 2013) ซึ่งคิดเป็นกำไรสุทธิเพียง 3.28% หมายความว่า ทุกๆ รายรับ 100 บาท เป็นกำไร 3.26 บาท หรือคิดง่ายๆ ว่าขายของ 1 ชิ้น ราคา 100 บาท […]