เหตุผลที่ราคาน้ำมันตลาดโลกลดแต่ทำไมราคาน้ำมันไทยไม่ลด น้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม จัดอยู่ในสินค้าโภคภัณฑ์ หรือ “Commodity” หมายถึง สินค้าที่ตัวสินค้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม ด้วยเหตุที่สินค้าโภคภัณฑ์มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ราคาน้ำมันตลาดโลกนั้นได้กำหนดให้น้ำมันดิบหรือปิโตรเลียม ด้วยความเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ จึงมีการอ้างอิงราคาตลาดกลาง (ตลาดค้าที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนั้น) โดยมีแหล่งผลิตน้ำมันดิบที่สำคัญในโลก 3 แห่ง ได้แก่ น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) และน้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI) ปัจจัยกำหนดราคา Oil Futures ราคา Oil Futures ปรับเปลี่ยนขึ้นลงทุกวัน ตามการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้น้ำมันดิบและปริมาณน้ำมันดิบที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้ ความต้องการใช้น้ำมันดิบ (Demand) อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจาก – การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัว ความต้องการใช้น้้ามันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความต้องการน้ำมันดิบและราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มตาม ในทางตรงกันข้าม ในภาวะเศรษฐกิจหดตัวหรือภาวะถดถอย กิจกรรมที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลง ความต้องการน้ำมันดิบก็จะลดลง และท้าให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงตามไปด้วย – สภาพภูมิอากาศ ความต้องการน้ำมันดิบอาจเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เช่น ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ จะมีความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภทแตกต่างกันไปตามฤดูกาล โดยในฤดูหนาว […]
บ่อน้ำมันในไทย การมีบ่อน้ำมันมากแปลว่าประเทศนั้นๆ มีน้ำมันมากใช่หรือ? … ไม่ต้องคิดนาน คงมีหลายท่านที่อมยิ้มเบาๆ พลางคิดในใจว่า มันจะเกี่ยวกันได้อย่างไร ซึ่งก็น่าแปลกที่บางกลุ่มชอบนำประเด็นเรื่องจำนวนบ่อน้ำมันหรือบ่อปิโตรเลียมในประเทศ มาตั้งเป็นขอ้สังเกตว่าน้ำมันในประเทศเราต้องมีมากอย่างแน่นอน สำหรับใครที่ยังสงสัยเรื่อง บ่อน้ำมันในไทย ขอเอาตรรกะง่ายๆ มาฝากกันว่า ประเทศหนึ่งมีบ่อปิโตรเลียม 100 บ่อ บ่อหนึ่งขุดได้เฉลี่ย 100 บาร์เรลต่อวัน เทียบกับประเทศที่ 2 มีบ่อปิโตรเลียม 10 บ่อ แต่ละบ่อขุดได้เฉลี่ยวันละ 3,000 บาร์เรลต่อวัน คำถามคือประเทศไหนสามารถขุดน้ำมันได้มากกว่ากัน (แน่ล่ะ! คำตอบคือประเทศที่ 2 ) ตอบให้เคลียร์กันไปสำหรับบางคนที่ยังมีข้อสงสัยว่า จริงหรือ? ในเมื่อเรากับพม่าก็อยู่ติดกัน ลักษณะทางธรณีวิทยาต้องมีความใกล้เคียงกันสิ หรือแต่ละประเทศก็อยู่บนพื้นโลก มีสภาพแวดล้อมไม่ได้แตกต่างกันหลายเท่าตัวขนาดนั้น จริงหรือที่ธรณีวิทยาจะมีความแตกต่างกัน จนสามารถเสาะหาปิโตรเลียมได้ต่างกันขนาดนั้น คำตอบคือ “จริง” ครับ จากที่เห็นในภาพจะเห็นว่าประเทศไทยต้องใช้แรงงานมากกว่า ต้นทุนสูงกว่าในการจะขุดหาปิโตรเลียม แถมแต่ละแหล่งก็อยู่แยกเป็นกระเปาะเล็กๆ ยากต่อการขุดด้วย จึงมีปริมาณการผลิตน้อยกว่าประเทศพม่าซึ่งเป็นหลุมใหญ่ ขุดเจาะง่ายและใช้งบประมาณน้อยกว่าไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีหลุมปิโตรเลียมทั้งหมด 6,908 แต่ที่ยังมีการเปิดผลิตอยู่มีทั้งสิ้น 3,179 หลุม ที่เหลืออีก […]
ท่อก๊าซ ปตท. / ศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซ ก่อนอื่นขอสรุปความจากข้อเขียนที่เคยกล่าวไปแล้ว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556 ศาลปกครองคดีคืนท่อก๊าซตัดสินว่า ปตท. คืนท่อครบแล้ว และได้จำหน่ายคดีออกจากระบบ โดยหลักเกณฑ์การคืนท่อก๊าซนั้น คือ ที่ดินที่เกิดจากการใช้อำนาจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเวนคืนมา หรือที่ดินของเอกชนที่ทางการปิโตรเลียมเป็นผู้จ่ายค่าทดแทน โดยหากที่ดินนั้นเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น ปตท.จำเป็นต้องส่งคืนท่อก๊าซคืนสู่รัฐ และใช้วิธีจ่ายเงินเช่าท่อจากรัฐ ส่วนที่ดินใดที่ไม่เข้าข่ายก็ให้ตกเป็นของ ปตท. สำหรับใครที่ยังสงสัยว่าท่อก๊าซ หรือ ท่อก๊าซ ปตท. ที่เป็นประเด็นอยู่ตอนนี้คืออะไร ขออธิบายสั้นๆ ว่า “ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ประกอบด้วยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล” ใช้เพื่อลำเลียงปิโตรเลียมเหลวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เนื่องจากมีแรงส่งโดยธรรมชาติ “โดยระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. จะต่อเชื่อมแหล่งก๊าซธรรมชาติต่างๆ ในอ่าวไทย สถานีแอลเอ็นจี และท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา เยตากุนและซอติก้าสหภาพเมียนมาร์ ที่ชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ เข้ากับผู้ผลิตไฟฟ้า โรงแยกก๊าซธรรมชาติและลูกค้าอุตสาหกรรมภายในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท.ซึ่งมีมากกว่า 450 ราย คิดเป็นความยาว มีความยาวประมาณ 493 กิโลเมตร” …ข้อมูลจาก http://www.pttplc.com ในส่วนรายละเอียดการคืนนั้น […]
ปตท. ใช้เงินปิดปากสื่อ ผู้เขียนใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อให้ไม่พูดถึงสื่อหลักช่องใดๆ หรือหนังสือพิมพ์หัวใดก็ตาม ซึ่งยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก แต่จะพยายามหลีกเลี่ยงและกล่าวถึงให้น้อยที่สุดแล้วกัน …. คำถามที่มักถูกตั้งขึ้นและโหนกระแสเป็นช่วงๆ คือ ปตท. ใช้เงินปิดปากสื่อหรือไม่? ซึ่งจากคำถามนี้ ชี้ให้เห็นว่าบุคคลที่ตั้งคำถามนี้มีความเคลือบแคลงใจต่อการปฎิบัติหน้าที่ของสื่อ ที่มักไม่พูดถึงสถานการณ์ที่กลุ่มบางกลุ่มพยายามตั้งคำถามต่อรัฐ เช่น ราคาน้ำมันแพง ราคาแก๊สแพง ปตท. ฉ้อฉล หรือแม้แต่กำไร ปตท. เกิดจากการขูดรีดประชาชน ว่าจริงหรือไม่? มองในฐานะประชาชนที่เสพข่าว สื่อมักเลือกประเด็นข่าวที่ประชาชนส่วนมากให้ความสนใจ โดยตัดเรื่องความคิดเห็น ทรรศนะหรืออคติ ที่มีต่อข่าวนั้นๆ ออก ใช้เพียงข้อเท็จจริงในการนำเสนอข้อมูล โดยประชาชนเองเป็นผู้เสพข้อมูลนั้นๆ และตัดสินใจตามความคิดของแต่ละคน โดยเราต้องแยกให้ออกระหว่างตัว “ข่าวกับบทความจากบุคคลต่างๆ ที่ลงในสื่อข่าว” ว่ามีเป้าหมายและตัวเนื้อความที่แตกต่างกันชัดเจน บางครั้งเราอาจเห็นนักเขียนที่มีชื่อแสดงทรรศนะด้านการเมือง ด้านพลังงานลงในสื่อหนังสือพิมพ์ สิ่งนั้นไม่ใช่ข่าวแต่คือ “บทความ” โดยเราจะเห็นว่ายิ่งสื่อใดๆ ที่มีจำนวนคนเสพเป็นจำนวนมาก เช่นสื่อโทรทัศน์ช่องหลัก หรือหนังสือพิมพ์ทั่วไปที่ไม่ลงข่าวเฉพาะทาง สื่อนั้นๆ จะยิ่งระวังตัวเป็นอย่างมากในการนำเสนอข่าวที่ไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่งหรือโน้มน้าวให้คนเชื่อในทิศทางที่ตนต้องการ ตามจรรยาบรรณในการทำงานของตนเอง กลับมาที่คำถามว่า ปตท. ใช้เงินปิดปากสื่อจริงหรือไม่ ผู้เขียนไม่อยากฟันธงลงไป เนื่องจากอยากให้ข้อมูลที่เป็นกลางเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเลือกตัดสินใจได้ แน่ล่ะว่าเรื่องของ “เงิน” เป็นเรื่องใหญ่ในการทำธุรกิจ […]
จากนโยบายการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน LPG และ NGV เมื่อปลายปีที่แล้ว และปรับใช้จริงในส่วนของ LPG เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สร้างกระแสต่อต้านให้พูดถึงมากในสังคม เหตุผลหลักคงหนีไม่พ้นการทำให้ราคา LPG สูงขึ้น จนกลุ่มคนบางกลุ่มเข้าใจว่า การปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ แท้จริงแล้ว เป็นการขึ้นราคา LPG นั่นเอง ปัญหา “โครงสร้างราคาพลังงานบิดเบี้ยว” เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน เกิดจากการใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงผิดวัตถุประสงค์ นอกจากรักษาเสถียรภาพด้านราคาแล้ว ยังใช้กองทุนน้ำมันฯ เป็นเครื่องมือในการทำประชานิยม โดยกำหนดราคาขายปลีก LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้มีราคาต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ส่งผลให้คนใช้เบนซินต้องจ่ายเงินอุดหนุนคนใช้แก๊ส นอกจากนั้น LPG ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงยังมีหลายราคาก่อให้เกิดปัญหาการลักลอบขายแก๊สผิดประเภท (ขายข้ามภาค) รวมทั้งลักลอบส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ขาย LPG ในราคาแพงกว่า จากการที่ราคา LPG ถูกกำหนดให้ต่ำกว่าต้นทุน สามารถสรุปเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ 1. ผู้ผลิต LPG จะเลือกขายให้ภาคปิโตรเคมีก่อน (เนื่องจากราคาภาคปิโตรเคมี ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงราคากันเอง) ส่วนที่เหลือจึงจะขายให้ภาคเชื้อเพลิง (รัฐกำหนดราคาไว้ที่ 333 ดอลลาร์/ตัน) หากไม่เพียงพอจะนำเข้า LPG มาใช้เป็นเชื้อเพลิง 2. เมื่อมีความต้องการใช้ […]
เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. น่าแปลกใจที่ในสถานการณ์ด้านพลังงานค่อนข้างมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ (ประชาชนหลายท่าน มักรู้สึกว่าแพงเกินไป โดยปราศจากความเข้าใจพื้นฐานโครงสร้างพลังงาน) แทนที่จะช่วยกันทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาพลังงาน รวมถึงการรณรงค์ให้ประหยัดพลังงานเพื่อลดการนำเข้า แต่มีกลุ่มคนบ้างกลุ่ม อาศัยความรู้สึกทางสังคมที่เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในรายได้ ตั้งเป้าโจมตีว่าเงินเดือนผู้บริหาร Share This:
หยุดข้อมูลบิดเบือน เงินเดือนซีอีโอ ปตท ไม่ได้สูงเกือบ 5 ล้านบาทอย่างที่คิด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทที่อยู่ในความนิยมอันดับต้นๆ เป็นที่ที่หลายคนใฝ่ฝันอยากทำงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่แก่กล้าด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิ เพื่อมาในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการ (บอร์ด ) และผู้ที่ยังเพิ่งเริ่มวัยทำงาน เพราะผลตอบแทนสูง เพราะมีทั้งเงินเดือน โบนัส ค่าเบี้ยประชุม หุ้น สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) และสวัสดิการ รวมไปถึง ค่าเช่าบ้าน ค่าปฏิบัติงานต่างจังหวด และค่าล่วงเวลา ข้อมูลเหล่านี้ปรากฏชัดเจนในหนังสือรายงานประจำปีของปตท. 2550 ที่ระบุว่า ได้จ่ายผลตอบแทนให้กรรมการบริษัทซึ่งมีงานหลักในการประชุมรวมทั้งสิ้นประมาณ 42 ล้านบาท (ตาราง”42 ล้านบาทเบี้ยประชุม โบนัส กรรมการ”) โดยมีโอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และสุชาติ ธาดาธำรงเวช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) […]
การปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ของภาครัฐ เป็นเพราะ ปตท โก่งราคาน้ำมัน จริงหรือ? Share This:
สุดท้ายแล้วหากใครยังสงสัยว่าบทสรุปแล้วข้อมูลที่ให้มานั้นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและ ปตท. คืนท่อก๊าซครบจริงหรือไม่นั้น ขออนุญาต หยิบยกคำสั่งศาลมาให้อ่านพิจารณากัน “คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ท่ามกลางกระแสถาโถมจากหน่วยงานต่างๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 ศาลชั้นต้นก็ได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่ออ่านคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 800/2557 ที่มาจากการอุทธรณ์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวกรวม 1,455 คน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนยันตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง คือ ไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์ไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความ เนื่องจาก ปตท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำพิพากษาในคดีแปรรูป ปตท. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 2. การที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวกรวม 1,455 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ปตท. ส่งคืนท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งในทะเลและบนบก จึงเป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่ต้องห้าม 3. สำหรับประเด็นข้อกล่าวอ้างที่ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 กำหนด (เรื่องที่ให้ สตง. รับรอง) ไม่ใช่เหตุที่จะกล่าวอ้างว่าการดำเนินการตามคำพิพากษายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย สรุป ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจากคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด […]
ต่อจากตอนที่แล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดซึ่งถูกนำมาปฏิบัติโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 มีทรัพย์สินอยู่สามประเภทข้างต้นที่ ปตท. จะต้องส่งคืนท่อก๊าซให้แก่กระทรวงการคลัง เพราะเป็นการได้มาโดยการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ รูปภาพ :www.pttplc.com 1. ที่ดินที่ได้มาจากการใช้อำนาจเวนคืน – ที่ดินส่วนนี้ คือ ที่ดินในโครงการท่อส่งก๊าซระยอง – โรงไฟฟ้าบางปะกง – โรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ท่อสายประธาน) จำนวน 106 แปลง ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดระยอง จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ 2. ที่ดินที่เป็นสิทธิการใช้ที่ดินเหนือที่ดินของเอกชน ประกอบด้วยที่ดินประมาณ 4,070 ไร่ 2 งาน 26.75 ตารางวา จำนวนเจ้าของที่ดินประมาณ 7,508 ราย อยู่ในโครงการ ดังนี้ -โครงการท่อบางปะกง – วังน้อย -โครงการท่อจากชายแดนไทยและพม่า – ราชบุรี -โครงการท่อราชบุรี – วังน้อย 3. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ […]