Articles Posted in the " บทความทั้งหมด " Category

  • ตามติด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลง คดี ปตท. คืนท่อก๊าซไม่ครบ อมท่อ

    ตามที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้แถลงข่าวว่าได้ดำเนินการยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าประพฤติมิชอบในการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท. ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 โดยศาลได้นัดฟังคำตัดสินว่าจะรับเป็นคดีหรือไม่ ในวันที่ 19 มิถุนายน 2561 นั้น   จากข้อเท็จจริงที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าว ปตท. ขอเรียนว่า กรณีเดียวกันนี้ น.ส.รสนา โตสิตระกูล และนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ได้เคยเป็นโจทย์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริต(คดี ปตท. คือท่อก๊าซไม่ครบ หรืออมท่อ) และประพฤติมิชอบกลางไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2560 และศาลอาญาคดีทุจริตฯท่อก๊าซ (อมท่อ) ได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์คดี ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำพิพากษาลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 ยืนตามคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตฯ คดี(ปตท. อมท่อ)ดังกล่าวจึงถึงที่สุด   ทั้งนี้ ปตท. ขอเรียนยืนยันว่า ปตท. ได้ดำเนินการแบ่งแยกและส่งมอบทรัพย์สิน(ท่อก๊าซ)ให้แก่กระทรวงการคลังตามคำพิพากษาศาลฯ คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว […]


  • ชาญศิลป์ ตรีนุชกร … CEO คนใหม่ ปตท. กับกรณีคดีทุจริตปาล์มอินโด

    กำลังจะถึงช่วงผลัดเปลี่ยนครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง กับหัวเรือใหญ่ขององค์กรด้านพลังงานที่สำคัญของประเทศ อย่าง ปตท. โดยไม้ต่อครั้งนี้ได้รับการแต่งตั้งเป็นมติอย่างเอกฉันท์จากบอร์ด ปตท. ซึ่งเราก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ลูกหม้อผู้ทำงานกับ ปตท. มาอย่างยาวนานมาถึง 35 ปี กับระยะเวลาการทำงาน 1 ปี 6 เดือน จะต่อยอดนำพา ปตท. ให้ก้าวหน้าไปทิศทางไหน สำหรับใครที่อยากจะรู้จักผู้ชายคนนี้ให้มากขึ้น อาจจะตกใจเล็กน้อย เพราะหากไปเสิร์ชชื่อ “ชาญศิลป์ ตรีนุชกร” ในกูเกิ้ล ก็อาจจะพบชื่อนี้ไปปรากฏในข่าวที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตโครงการปลูกปาล์มที่อินโดนีเซีย ซึ่งตรงนี้ “ชาญศิลป์” กล่าวยืนยันว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความผิดในคดีนี้ และตนไม่ได้ถูก ปตท. ฟ้องร้อง แต่อย่างใด ส่วนข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ตนเข้าไปเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปตท. กรีน เอนเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเข้าไปลงทุนธุรกิจปลูกปาล์มในอินโดนีเซีย โดยช่วงเวลาที่ตนเข้าไปรับตำแหน่งนั้น เป็นช่วงหลังจากเกิดปัญหา ต่อมาจึงมีการตรวจพบหลักฐานความผิดปกติและเริ่มการสืบสวนผู้ที่เกี่ยวข้อง จาก ปตท. และส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้ามาพิจารณาสอบสวน และยื่นฟ้องคดีต่อศาล โดยตนไม่ได้เกี่ยวข้อง แต่ถูก ป.ป.ช. เชิญไปให้ข้อมูลในฐานะที่เคยบริหารงานเท่านั้น […]


  • ไขทุกข้อสงสัย … กับบทสรุป ปตท. นั้น เพื่อใคร?

    มีข้อมูลที่บิดเบือนอยู่มากมายในโลกโซเชียล ที่นำพาไปสู้ความเข้าใจผิด โดยเฉพาะกับ บริษัทที่ถูกโยงไปเป็นประเด็นทางการเมือง อย่าง ปตท. เกิดเป็นคำถาม “ปตท. ทำเพื่อใคร?” ทั้งเรื่องการตั้งบริษัทบนเกาะเคย์แมน การแปรรูป รวมถึงเรื่องราคาพลังงาน เรื่องราวเหล่านี้ถูกพูดถึงบ่อย และหลายคนก็พยายามตั้งคำถาม โดยไม่สนใจว่าคำตอบของคำถามเหล่านี้ ก็มีข้อมูล มีการออกมาตอบอยู่เรื่อยๆ โดยไม่มีการพยายามปิดบังอะไร ซึ่งจะขอแยกอธิบายออกเป็นข้อๆ ดังนี้ ไม่มีบัญชีลับอะไรใด เพราะ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ต้องแสดงทรัพย์สิน รวมถึงรายรับรายจ่าย มีกรรมการ มีผู้ตรวจสอบจากภายนอกด้วย แถมยังมี สตง. รับรองบัญชีอีก ปัจจุบัน คุณไพรินทร์ หมดวาระเป็นประธาน ปตท. ไปแล้ว เกาะเคย์แมนไม่ได้เป็นเกาะฟอกเงินอย่างในหนัง เป็นการเปิดเพื่อกระจายความเสี่ยง ปัจจุบันมีกฎหมายรองรับ มีการตรวจสอบ มีการรายงานลงในบัญชี สามารถตรวจสอบได้ใน 56-1 การลงโฆษณาในสื่อ เป็นหลักของการตลาด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าสินค้าใดๆ ก็มีการประชาสัมพันธ์ การแปรรูป ปตท. เริ่มสมัยคุณชวน เมื่อประมาณ ปี 42 โดยหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ซื้อขายวันแรก […]


  • Котировки акций SAUDI KAYAN PETROCHEMICAL COMPANY REGISTERED на finanz.ru

    Котировки акций SAUDI KAYAN PETROCHEMICAL COMPANY REGISTERED на finanz.ru

    Котировки акций SAUDI KAYAN PETROCHEMICAL COMPANY REGISTERED на finanz.ru На предприятии также будет расположена установка по получению аминопроизводных специального назначения. Помимо расширения ассортимента производимой в Саудовской Аравии продукции, Saudi Kayan планирует создать центр прикладной инженерии, специализирующийся на разработке промышленной продукции и решений. в год. Предоперационные расходы аравийской компании Yanbu National Petrochemical Company (Yansab) составили 12 […]


  • คะแนน ปตท. ผ่านเกณฑ์ความโปร่งใส ไม่ทุจริตโกงชาติ รายงานจาก ป.ป.ส.

    เปิดผลประเมิน 442 หน่วยงาน ผ่านเกณฑ์“คุณธรรม/ความโปร่งใส” ITA ประจำปี 2560” เฉลี่ย 81.53 คะแนน ปตท. เกินเกณฑ์เฉลี่ย เปิดผลประเมิน 442 หน่วยงาน ปี 60 ผ่านเกณฑ์“คุณธรรม/ความโปร่งใส” เฉลี่ย 81.53 ปตท. กฟผ. เกินเกณฑ์เฉลี่ย วันนี้(16 พ.ย.) มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า ป.ป.ช. ได้เผยแพร่ผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ 2560 จำนวนทั้งสิ้น 422 หน่วยงาน โดยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 อยู่ที่ 81.53 คะแนน ทั้งนี้จากผลการประเมิน พบว่า องค์กรศาล (เฉพาะหน่วยงานธุรการ) 3 หน่วยงาน พบว่า สำนักงานศาลยุติธรรมได้คะแนนสูงสุด […]


  • คุณจะกลายเป็นคนโง่ทันที เมื่อคิดว่า ปตท. คือกล่องดวงใจทักษิณ

        ข้อความสุดแสนมโน ไม่ต้องคิดจะปองดองได้เด็ดขาด ถ้าคิดแชร์เลย โดยไม่หาข้อมูลเพิ่มเติม     ปตท.เคยเป็นทรัพย์สินของรัฐ ใช่หรือไม่? ข้อมูลจาก http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=PTT&selectPage=5     ทุกวันนี้ก็ยังเป็น แถมตรวจสอบง่าย โดยอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แถมยังเป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่างหาก ข้อมูลจาก http://www.oic.go.th/ginfo/page2.asp?i=007&x=4&m=&o=     ปตท.ถูกแปรรูปสมัยทักษิณ เป็นนายกใช่หรือไม่?     ไม่ใช่แน่นอน     การแปรรูป ปตท. เริ่มจาก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2544 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ รับทราบผลการประชุมการระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งเห็นชอบแผนเตรียมความพร้อมในการนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยในจำนวนนี้มี การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบที่จะนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างช้าภายในเดือนพฤศจิกายน 2544     หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันหารือถึงการกำหนดโครงสร้างและขั้นตอนในการแปรสภาพ ปตท. เป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการนำ ปตท. เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ภายในปี 2544     หุ้นถูกจัดสรรหมดภายใน77 วินาที ใช่หรือไม่?     เรื่องการขายหุ้น ปตท. นี้ เป็นที่กังขาด่าทอของหลายฝ่าย โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า […]


  • บทสัมภาษณ์ ผู้บริหาร ปตท. คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช

    สำรวจแหล่งพลังงานและเบื้องหลังการทำงานสนุกๆ ของ คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช CEO ของ ปตท. จากคุณ นภษร ศรีวิลาศ ข้อมูลจาก: https://readthecloud.co/ceo-3/     ภาพตรงหน้าจากห้องรับรองชั้นบนสุดของอาคารสำนักงานใหญ่ บริษัทพลังงานแห่งชาติ คือภาพมุมสูงของสวนรถไฟ ยาวสุดลูกหูลูกตาไปถึงสวนจตุจักร มีตึกสูงน้อยใหญ่เป็นฉากหลัง     วันนั้นเรามีนัดกับกัปตันทีมของบริษัทพลังงานแห่งชาติ ขอโทษที่เราชอบชื่อนี้มากกว่าชื่อทางการ ไม่ใช่เพราะชาตินิยม แต่ด้วยภารกิจแบกรับความคาดหวังของคนหลายฝ่าย เราคิดว่าชื่อนี้น่าจะเหมาะสมกว่า     ช่วงเวลาสั้นๆ ที่เราเริ่มต้นพูดคุยกับ คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นอกจากวิสัยทัศน์ในการทำงานที่เห็นเชิงประจักษ์ ยังมีแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความยั่งยืน ผ่านทั้งกิจกรรมส่งเสริมสังคมและโครงการใหม่ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อเกื้อกูลให้สังคมและธุรกิจเรียนรู้ไปด้วยกัน     คุณเทวินทร์ไม่ค่อยได้เล่าเรื่องเบื้องหลังการทำงานสนุกๆ เหล่านี้ให้ใครฟังบ่อยนัก อย่างเช่นผลงานที่ภาคภูมิใจที่สุด หน้าที่เล็กๆ ที่คิดถึงเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหาร สิ่งที่มักจะทำเสมอเมื่อเข้าปั๊มน้ำมัน ปตท. หนังเรื่องโปรด การไปบวชที่อินเดีย และแหล่งพลังงานในการทำงานของเขา     อย่ารอช้า มาสำรวจแหล่งพลังงานของกัปตันทีมคนนี้ด้วยกัน How I Manage     คุณเทวินทร์เคยให้สัมภาษณ์ว่า อยากให้ ปตท. เป็นเหมือนนักฟุตบอลทีมชาติไทยที่ทุกคนรักและช่วยเชียร์เต็มที่     นี่คือวิธีการที่ทำให้คนไทยรักและเชียร์ […]


  • ปตท. เป็นของใคร ปตท. เป็นของทักษิณจริงหรือ?

        ยังมีกลุ่มใครบางคนที่มีความพยายามสร้างความเข้าใจผิดให้ประชาชนเกิดความเข้าใจที่สับสน โดยเฉพาะในโลกโซเชียลว่า ปตท. เป็นของทักษิณอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะกลุ่ม NGO ด้านพลังงานบางกลุ่ม ที่ต้องการเรียกคะแนนเสียง จากความเกลียดชังทางการเมือง     ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว หุ้นใน ปตท. ประมาณ 67% นั้น เป็นของรัฐบาล ถือหุ้นผ่านทั้งกระทรวงการคลัง กองทุนรวมวายุภักษ์ และกองทุนประกันสังคม โดยที่เมื่อมีการตรวจสอบไปถึงคนในตระกูลชินวัตร พบว่ามีการถือหุ้น เพียง 7,700 หุ้น จากหุ้นทั้งหมด 2.85 พันล้านหุ้น หรือคิดเป็น 0.0002% เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถมีอิทธิพลต่อการบริหารงานของ ปตท. ได้เลย     ส่วนในกรณีที่มีการตั้งข้อสงสัยว่า อาจถือหุ้นผ่านบริษัทนอมินีต่างประเทศ ต้องเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องที่สามารถทำได้และเปิดเสรีอยู่แล้ว ซึ่งหากจะเหมาว่ากองทุนนอมินีต่างชาติทั้งหมดเป็นของทักษิณ นั่นหมายความว่า ทักษิณต้องมีเงินมหาศาลขนาดที่ว่าจะซื้ออะไรก็ได้เลยทีเดียว ดูข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ “ปตท. เป็นของใคร จะเป็นของของทักษิณจริงหรือไม่” ได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=t_wEDAkaMpk Share This:


  • ย้อนดูการแปรรูปปั๊ม ปตท. สมัยคุณปู่ คุณย่า สู่ยุคปัจจุบัน

    สุดคลาสสิก! ย้อนเวลากลับไปชมภาพ ‘ปั๊มน้ำมัน’ สมัยคุณปู่ คุณย่า     ปัจจุบัน ‘ปั๊มน้ำมัน’ เป็นมากกว่าการให้บริการน้ำมัน เพียงอย่างเดียว เรียกได้ว่า ปั๊มน้ำมันคือเพื่อนเดินทางอย่างแท้จริง นอกจากจะให้บริการ ห้องน้ำสะอาด หรือแม้กระทั่งห้องอาบน้ำ ร้านสะดวกซื้อที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ร้านอาหารทั้งไทย และเทศ ที่เปิดบริการ 24 ชั่วโมง กาแฟสดยี่ห้อเดียวกัน แต่รสชาติไม่เหมือนกันเลยสักร้าน หรือ แม้กระทั่ง ร้านขายเสื้อผ้า และของโอทอป ก็มีบริการที่ปั๊มน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ‘ตราสามทหาร’     ปั๊มน้ำมันสามทหารในจังหวัดลำพูน เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2503 ปัจจุบันได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ปั๊มน้ำมันสามทหาร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้ามาศึกษา และเยี่ยมชมได้ ในปี พ.ศ.2521 มีการเปลี่ยนแปลงจากสถานีบริการน้ำมัน ตราสามทหาร มาเป็น ปตท. โดยวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อดำเนินกิจการด้านพลังงานด้วยการพึ่งพาตนเอง เพราะในช่วงนั้นประเทศไทยประสบวิกฤติขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการอุปโภค-บริโภค ภาพนี้คือ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่ปรับเปลี่ยนจากตราสามทหาร ตั้งอยู่บริเวณพระบรมมหาราชวังแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สำหรับ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ในยุคแรก […]


  • สาเหตุการแปรรูป ของ ปตท. และประโยชน์ที่ชาติได้รับ

        จากที่เคยเล่าไว้ถึง สาเหตุของการแปรรูป และประโยชน์ที่ประเทศชาติได้รับ ซึ่งจะขอย้อนความ ถึงประโยชน์ที่ชาติจะได้รับจากการแปรรูป 3 ข้อหลัก คือ เป็นการระดมทุนเพื่อไปแก้ไขปรับสถานการณ์การเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย ของ ปตท. ซึ่งเป็นผลดีต่อรัฐ เพราะรัฐจะได้ปันผลเป็นรายได้ ในรูปแบบต่างๆ กลับเข้าสู่รัฐมากขึ้น เป็นการระดมทุนเพื่อนำเงินไปซื้อโรงกลั่น ทำให้โรงกลั่นเป็นของคนไทย เงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ เป็นการกระตุ้นตลาดหลักทรัพย์ ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น     โดยจะเห็นว่าการแปรรูปในครั้งนี้สร้างผลประโยชน์มากมายให้กับประเทศ ในรูปแบบของเม็ดเงินเข้ารัฐและเม็ดเงินลงทุน จากที่มีกระแสทวงคืน ปตท. ให้กลับมาเป็นของรัฐ ทั้งที่ตอนนี้ ปตท. กลายเป็นบริษัทมหาชนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะเกิดผลเสียอย่างไรต่อประเทศบ้าง หากใช้วิธียึดคืน นั่นคือการทำลายความน่าเชื่อถือในการลงทุนของประเทศ ซึ่งมีผลโดยตรงกับนักลงทุนที่จะนำเงินมาลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ทำให้ประเทศชาติเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากนักลงทุนและมีผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ หากใช้วิธีซื้อคืน รัฐต้องระดมทุนมหาศาลเพื่อซื้อหุ้นจำนวน 2.8 พันล้านหุ้น คิดมูลค่าหุ้นทั่วไป รัฐจะต้องใช้เงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท (คิดมูลค่าต่อหุ้น 380 บาท) ในการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ     นอกจากจะเป็นเรื่องยากและเกิดความเสียหายมากมายในการนำหุ้นกลับมาเป็นของรัฐแล้ว รัฐยังต้องลงแรงในการเข้ามาบริหารงานในส่วนนี้ด้วย ซึ่งไม่มีอะไรการันตีเลยว่าการลงทุนมหาศาลอย่างนี้จะสร้างความคุ้มค่าให้กับรัฐ กลับกันจะเพิ่มความเสี่ยงในการบริหารอีกด้วย     สิ่งหนึ่งที่กลุ่มทวงคืนพลังงานหรือ NGO มักนำมาเพื่อปลุกปั่นกระแสทวงคืนพลังงาน […]