Articles Posted in the " บทความทั้งหมด " Category

  • Форекс против акций. Чем лучше торговать?

    Форекс против акций. Чем лучше торговать?

    Форекс против акций. Чем лучше торговать? Ликвидность акций. частных клиентов в Admiral Markets UK Ltd. https://maxitrade-reviews.ru теряют средства при торговле CFD. частных клиентов в Admiral Markets UK Ltd. теряют средства при торговле CFD. частных клиентов в Admiral Markets UK Ltd. теряют средства при торговле CFD. частных клиентов в Admiral Markets UK Ltd. теряют средства при […]


  • ข้อถกเถียงทำไมน้ำมันต้องอิงราคาสิงค์โปร์ – ราคาส่งออกถูกกว่าขายในประเทศ และทำไมอุตฯปิโตรเคมีซื้อก๊าซถูกกว่าประชาชน

    การเปิดประเด็นเรื่องพลังงานทั้งของกลุ่มจับตาการปฏิรูปพลังงานไทยและกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน ยังคงเป็นข้อมูลคนละชุดเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ล่าสุดน.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตวุฒิสมาชิก กรุงเทพมหานคร กลุ่มจับตาการปฏิรูปพลังงานไทย (จปพ.) หรือ “Thai Energy Reform Watch” กล่าวว่า “น้ำมันทุกลิตรผลิตออกโรงกลั่นในประเทศแท้ๆ ขายในประเทศ ทำไมต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์ บวกค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ทั้งที่ไม่ได้เกิดขึ้น” เป็นประเด็นที่ น.ส.รสนาตั้งเป็นคำถามฝากไปถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ช่วงแถลงเปิดตัว “กลุ่มจับตาการปฏิรูปพลังงานไทย” เสนอให้ยกเลิกโครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูปโดยอ้างอิงราคาสิงคโปร์ พร้อมกับตัดค่าใช้จ่ายเทียมออกไป ต่อประเด็นนี้“กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน” ที่มีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นแกนนำ โดยนายมนูญ ศิริวรรณ อดีตผู้บริหาร บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ชี้แจงข้อมูลว่าทำไมราคาน้ำมันที่ผลิตในประเทศ ขายคนไทยต้องอิงราคาสิงคโปร์   นายมนูญ ศิริวรรณ นายมนูญกล่าวว่า ที่มาของการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปอ้างอิงราคาสิงคโปร์ เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยไม่มีโรงกลั่นน้ำมัน ขณะนั้นรัฐบาลต้องการจูงใจให้ต่างชาติย้ายฐานจากการผลิตจากสิงคโปร์เข้ามาตั้งโรงกลั่นในประเทศไทย โดยการันตีกับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงกลั่นในประเทศไทยต้องได้รับผลตอบแทนในรูปของค่าการกลั่น หรือ “refinery margin” น้อยกว่าตั้งโรงกลั่นน้ำมันที่สิงคโปร์ สาเหตุหลักๆ ที่ต้องมีมาตรการจูงใจต่างชาติมีดังนี้ 1.ค่าขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมาประเทศไทยมีต้นทุนสูงกว่าสิงคโปร์ […]


  • “ชาญศิลป์” ซีอีโอ ปตท.คนใหม่ยันสรรหาโปร่งใส-ไม่มีเอี่ยวคดีทุจริตปลูกปาล์ม

    บอร์ด ปตท.อนุมัติตั้ง “ชาญศิลป์” ซีอีโอคนใหม่ตามที่คณะกรรมการสรรหาฯ เสนอ โดยมีวาระอยู่ในตำแหน่ง 1 ปี 8 เดือน ระบุกระบวนการสรรหาซีอีโอโปร่งใส ยัน “ชาญศิลป์” ไม่ได้ถูก ป.ป.ช.กล่าวหาทุจริตโครงการปลูกปาล์มน้ำมัน นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.ได้เสนอชื่อ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.คนใหม่ต่อจาก นายเทวินทร์ วงศ์วานิช โดยให้มีผลในวันที่ 31 สิงหาคม 2561 และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี 8 เดือน นับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้ง (เนื่องจากนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร จะมีอายุครบ 60 […]


  • แปรรูป ปตท. กับวาทะกรรมขายสมบัติชาติ

        คำว่า “ขายสมบัติชาติ” เป็นวาทะกรรมที่บางกลุ่มหยิบยกเพื่อโจมตีการแปรรูป ปตท.มาอย่างช้านานจนถึงปัจจุบัน โดยการแปรรูปในครั้งนี้ คุณบรรยง พงษ์พานิชหย่อนความคิดเห็นลงในบทความตอนหนึ่ง เรื่อง ตำนาน “การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ” … ปตท. เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ 2544 (ตอน 5) ว่า “คนจำนวนมากเข้าใจว่า เงื่อนไขการแปรรูปฯ นี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อบังคับให้เรา “ขายสมบัติชาติ” เพื่อเอาเงินไปใช้หนี้ และมีไม่น้อยเลยที่คิดเลยไปว่าเป็นแผนการชั่วร้ายให้ขายให้ต่างชาติ” … ซึ่งถ้าอ่านจากบทความนี้จะพบว่าไม่ได้เป็นความจริงอย่างที่กล่าวกัน     ทั้งนี้คุณบรรยง ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องราวการแปรรูป ปตท. ครั้งนี้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และสร้างประโยชน์อย่างไรต่อประทศบ้าง     “ผมขอยืนยันว่า การขายหุ้น IPO ของ ปตท.ในปี 2544 กระทำอย่างโปร่งใส อย่างมืออาชีพ ไม่ได้มีเรื่องสกปรกตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด ซึ่งผมและทีมงานได้เคยไปอธิบายในที่ต่างๆ มามากมาย รวมทั้งกรรมาธิการของสภา เพียงแต่ยังไม่เคยเขียนอธิบายด้วยตัวเอง (จะเขียนอธิบายในบทความครั้งหน้าภายในสุดสัปดาห์นี้ครับ…เพราะเมื่อก่อนยังไม่รู้ว่าตัวเองเขียนหนังสือเป็นมาก่อน)     IPO ของ ปตท. โดยขายหุ้นทั้งหมด 920 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200 ล้านบาทในครั้งนั้น […]


  • ราคาน้ำมันขึ้น ลงใครกำหนด

        มีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้ออกมาอยู่เนืองๆ ในกรณีที่ผู้บริโภคบางกลุ่ม มองว่าราคาน้ำมันเมืองไทยแพงเกินไป และ ปตท. เป็นต้นเหตุของราคา เพราะปตท. เป็นผู้กำหนดราคาขายน้ำมันในประเทศ ตรงนี้จะขอนำส่วนหนึ่งของคำแถลงที่ทาง ผู้บริหารของ ปตท. ได้ตั้งโต๊ะแถลง หลังจากมีประเด็นร้อนว่อนในโลกโซเชียลในด้านลบกับ บริษัท ปตท. ทั้งในเรื่องการกำหนดราคาน้ำมันที่เอาเปรียบประชาชน จนได้กำไรสูงเป็นแสนล้านบาท พร้อมชักชวนบอยคอตเติมน้ำมันที่ปั๊มของ ปตท.     “นายเทวินทร์ กล่าวว่า ปี 2560 ราคาน้ำมันทั้งปีเฉลี่ยเป็นขาขึ้น โดย ปตท. มีการปรับขึ้น 21 ครั้ง ปรับลง 21 ครั้ง แต่ราคาหน้าปั๊มขายต่ำกว่าต่างชาติ 20 วัน ไม่เคยขายแพงกว่ารายอื่นเลย แม้แต่ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ 6 เม.ย. – 28 พ.ค. 2561 ปตท.ปรับขึ้นราคาน้ำมัน 6 ครั้ง ปรับลง 1 ครั้ง โดยไม่เคยมีช่วงเวลาที่ขายแพงกว่าเจ้าอื่น แต่มีช่วง 9 […]


  • แจง! ส่งออกน้ำมันถูกกว่าที่ขายในประเทศ-ผูกขาดขายน้ำมันแพง?

    ซีอีโอ “ปตท.” แจง! ส่งออกน้ำมันถูกกว่าที่ขายในประเทศ-ผูกขาดขายน้ำมันแพง?     จากกรณี กระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราคาน้ำมันในประเทศสูง โดยเฉพาะในโลกโซเชี่ยลมีเดียที่มีโจมตี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้น้ำมันมีราคาสูง ล่าสุด เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในเรื่องราคาน้ำมัน ดังนี้   “หยุดเติมน้ำมัน ปตท.” อารมณ์ เหตุผล หรือเจตนาแอบแฝง ?     ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นถึง 20% ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ดีเซล และ LPG สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลกด้วยเช่นกัน ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ มีค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น     ผู้ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้คือประเทศผู้ส่งออกพลังงาน ซึ่งก็เคยประสบปัญหารายได้หายไปเมื่อราคาพลังงานดิ่งลงตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว เป็นวัฏจักรที่มีการขึ้นลงเช่นเดียวกับอุสาหกรรมอื่นๆที่มีการลงทุนขนาดใหญ่และมี lead time นาน     คนทั่วไปอาจจะไม่เข้าใจธุรกิจพลังงานและกลไกตลาดโลก จึงเริ่มมองหาจำเลยที่จะระบายความโกรธแค้นที่เขาต้องเดือดร้อน ใกล้ตัวที่สุดคือผู้ค้าขายน้ำมัน โดยเฉพาะ ปตท. ซึ่งเป็นผู้ค้าสำคัญในประเทศไทย จนถึงขั้นมีขบวนการรณรงค์ให้หยุดเติมน้ำมัน ปตท. และบิดเบือนต่ออีกว่า […]


  • ทำไมน้ำมันส่งออก จึงถูกกว่าราคาขายในประเทศ

    ทำไมน้ำมันส่งออก จึงถูกกว่าราคาขายใน ปท. ??       ขอเล่าถึงประสบการณ์ในฐานะผู้ที่อยู่ในธุรกิจโรงกลั่นมาก่อนกว่า 30 ปีว่า อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันในประเทศมีที่มาที่ไป     อย่างไรตามข้อเท็จจริง… โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยเกิดขึ้นมารองรับความต้องการใช้ในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ไม่ได้สร้างมาเพื่อการส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศ เพราะถ้าสร้างมาเพื่อการส่งออกเหมือนกับโรงกลั่นในประเทศสิงคโปร์ “ไม่คุ้มค่า” ลงทุนแน่นอน และคงไม่มีนักลงทุนที่ไหนจะใส่เงินกว่า 100,000 ล้านบาท เมื่อรู้ปลายทางว่าจะขาดทุนแน่นอน รัฐบาลในอดีตได้เห็น “ความจำเป็น” ที่จะต้องสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศในขณะนั้น จึงประกาศเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ     ภาครัฐได้จูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนสร้างโรงกลั่น ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการลดภาษีเงินได้ จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI แต่สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นถ้าราคาน้ำมันที่ผลิตจากโรงกลั่น ไม่ใช้ราคาเทียบเท่าการนำเข้าจากตลาดสิงคโปร์ (ราคาอ้างอิงซื้อขายที่สิงคโปร์+ค่าปรับคุณภาพตามมาตรฐานไทย คือ ยูโร 4+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน+ค่าสูญเสีย) ก็ “ยาก” ที่จะมีโรงกลั่นเกิดขึ้นในประเทศไทย และหากไม่มีการลงทุนสร้างโรงกลั่นให้เกิดขึ้นในประเทศก็เท่ากับว่าประเทศจะต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปมหาศาล เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานที่ขยายตัวต่อเนื่อง     ในปัจจุบันที่เริ่มเห็นว่ามีการส่งออกน้ำมันบ้างนั้น จะพบว่ามีปริมาณส่งออก “น้อยมาก” ถ้าเปรียบเทียบจากปริมาณการผลิตทั้งหมด เหตุผลที่ต้องมีการส่งออกน้ำมันบางส่วน เพราะโรงกลั่นไม่สามารถเลือกน้ำมันดิบที่จะป้อนเข้าโรงกลั่นได้ ส่งผลให้ผลิตน้ำมันไม่พอดีกับความต้องการในประเทศ รวมไปถึงการใช้กำลังการกลั่นให้เต็มที่เพื่อลดค่าใช้จ่าย จึงทำให้มีน้ำมันสำเร็จรูปบางชนิดผลิตออกมาเกินความต้องการจึงต้องส่งออก     อย่างไรก็ตาม […]


  • นอมินี (Nominee) รู้สึกอย่างไรกับคำนี้ | ปตท. นอมินี

    นอมินี (Nominee) คุณรู้สึกยังไงกับคำๆนี้ / เจ้าของคือระบอบทักษิณ / คือทุนสามานย์ / ใช่ไหม? ถือซะว่าเป็นการบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัวของผมนะครับ คือผมรู้จักคำว่า นอมินี-Nominee นี่ครั้งแรกน่าจะย้อนไปสมัยยุคพันธมิตรเฟื่องฟู ยอมรับว่าตอนนั้นก็เป็นสาวกคนนึงของ ASTV นะครับ จำได้ว่าคำว่า นอมินี-Nominee นี่เป็นหนึ่งในวาทะกรรมของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ใช้โจมตีคุณทักษิณเรื่องการให้คนอื่นถือหุ้นในบริษัทต่างๆแทน ดังนั้น Mindset แรกๆของผมต่อคำว่า นอมินี-Nominee = การให้คนอื่นถือหุ้นในบริษัทต่างๆแทนตนเอง (ซึ่งมีความหมายไปในทางที่ไม่ดี) ยอมรับว่าตอนนั้นยั้งเด็กอยู่ครับ น่าจะประมาณ 20 ต้นๆ ฟังอะไรก็ไม่ได้คิดตามเท่าไร ใครเขาเล่าอะไรให้ฟัง มันฮึกเหิม มันปลุกใจ มันสนุก ก็เฮโลไปตามเขา พาลทำให้คำๆหนึ่งที่เป็นคำธรรมดาสามัญ ที่ตลาดหุ้นทั่วโลกเขาก็ใช้กันเป็นสากลอย่าง นอมินี-Nominee กลายเป็นคำไม่ดีไปเสียได้ มาวันนี้ ในวันที่อายุสามสิบต้นๆ ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านเรื่องราวมาพอสมควร ผมเริ่มเรียนรู้คำว่า นอมินี-Nominee เสียใหม่ และเข้าอกเข้าใจมันมากขึ้น จากการหาความหมายของคำว่า นอมินี-Nominee ใน Internet […]


  • สาเหตุราคาน้ำมันขึ้นลงไม่เท่ากัน เช่นขึ้น 60 สต. ลง 40 สต.

        เชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนต้องเคยสงสัยเวลาดูข่าวการปรับราคาน้ำมันหน้าปั๊ม และก็คงเหมือนกับผมที่ข้องใจบ้างไม่มากก็น้อยว่าทำไมการขึ้นลงของราคาแต่ละครั้งมันไม่เท่ากันเลยและราคามักจะขึ้นในสัดส่วนมากกว่าตอนลงบ่อยๆ เช่นเวลาขึ้นๆ 60 สต. แต่ตอนลงๆแค่ 40 สต.       จากที่ลองรวบรวมข้อมูลราคาน้ำมันและโครงสร้างราคาย้อนหลัง ผมพบว่าสัดส่วนการขึ้นลงของราคาน้ำมันจะสัมพันธ์กับค่าการตลาดในช่วงนั้น  และการจะเข้าใจในเรื่องนี้ จะต้องทำความใจใน สามประเด็นนี้ก่อนว่า   1.ราคาสิงคโปร์และค่าการตลาดมีผลต่อการปรับราคาหน้าปั๊ม และ 2.ช่วงเวลาในการปรับราคามีผลทำให้การขึ้นลงแต่ละครั้งไม่เท่ากัน 3.แล้วมีเหตุผลอะไรที่ต้องทำแบบนั้นด้วย ?? (แล้วปั๊มน้ำมันได้ประโยชน์จากส่วนต่างตรงนี้หรือไม่?)       ประเด็นแรก ค่าการตลาดมีผลต่อการปรับราคาน้ำมัน โดยหลักการแล้วราคาน้ำมันในประเทศจะอิงกับราคาสิงคโปร์เมื่อราคาสิงคโปร์มีการปรับ ราคาหน้าโรงกลั่นไทยก็จะมีการปรับตาม ทำให้ค่าการตลาดในประเทศเปลี่ยนเพราะค่าต้นทุนน้ำมันๆเปลี่ยน ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น เมื่อราคาหน้าโรงกลั่นลดลงในขณะที่ปั๊มยังขายราคาเดิมอยู่จะทำให้ค่าการตลาดสูงเพราะปั๊มมีรายได้เพิ่มขึ้นเพราะต้นทุนน้ำมันถูกลง  และเมื่อค่าการตลาดมันสูงเกินเกณฑ์ค่าเฉลี่ย (จากการศึกษาของสถาบันปิโตรเลียม ค่าการตลาดโดยเฉลี่ยที่เหมาะสมของทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันจะอยู่ที่ประมาณ 1.7-2.0) ผู้ค้าก็จะมีการปรับลดราคาลง ในทางกลับกันเมื่อราคาหน้าโรงกลั่นเพิ่มในขณะที่ปั๊มยังขายราคาเดิมอยู่ก็จะทำให้ค่าการตลาดต่ำเพราะต้นทุนน้ำมันๆสูงขึ้นทำให้รายได้ของปั๊มลดลง และเมื่อค่าการตลาดมันต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย ผู้ค้าก็จะมีการปรับราคาขึ้น โดยหลักการพื้นฐานแล้วมันจะเป็นแบบนั้นครับ (ราคาน้ำมันจะมีการปรับเมื่อค่าการตลาดสูงหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ย)       ประเด็นที่สอง เรื่องช่วงเวลาในการปรับ (หรือช่วงห่างระหว่างค่าการตลาดโดยเฉลี่ยกับค่าการตลาดน้ำมันในช่วงนั้น) อันนี้สำคัญมากที่เป็นเหตุผลที่จะอธิบายว่าทำไมการขึ้นลงของราคาแต่ละครั้งมันไม่เท่ากันและทำไมสัดส่วนที่ปรับขึ้นมากกว่าตอนที่ปรับลง (อย่างเช่น ปรับขึ้น 60 สต. แต่ปรับลงแค่ 40 สต.) จากย่อหน้าที่แล้วเรารู้แล้วว่าค่าการตลาดมีผลต่อการปรับราคาหน้าปั๊ม ..แต่ตัวที่ทำให้การปรับราคาขึ้นลงไม่เท่ากันมันคือช่วงระยะเวลาในการปรับคับ ตรงนี้ผมขออนุญาติอธิบายแยกเป็นสองส่วนคือตอนที่ปรับราคาลงกับตอนที่ปรับขึ้น..   […]


  • ว่าด้วยเรื่องการปรับราคาน้ำมัน ขึ้น50ลง30 ขึ้น 60 ลง 40

    มีคนเข้าใจผิดและด่ากันเยอะเรื่องการปรับราคาน้ำมัน ว่าทำไมตอนปรับขึ้นมันปรับขึ้นเยอะกว่าตอนปรับลง บ้างก็ว่า ขึ้น50ลง30 ขึ้น60ลง40 … แต่ในความเป็นจริงแล้ว การขึ้นลงราคาที่ต่างกัน ผู้บริโภคอย่างเราได้ประโยชน์อย่างไรมาดูกัน!!! ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก https://m.facebook.com/fellowshipoftheenergy/posts/1815080521892460 Share This: