Articles Posted in the " ชำแหละน้ำมันแพง " Category

  • วาทกรรมชวนเชื่อ สู่ประเด็น “ไม่เติม ปตท.”

    หลากหลายคำในแง่ลบอาทิ น้ำมันแพง, ปรับราคาขึ้นมากกว่าลง, น้ำมันไทยแพงกว่าเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองของเหล่าคนในโซเชียลยามเมื่อมีการปรับราคาน้ำมัน เกิดเป็นโอกาสให้บางกลุ่มหยิบฉวยสร้างวาทกรรมให้เข้าใจผิดด้วยข้อมูลชวนเชื่อและชักจูงรณรงค์ให้เลิกเติม ปตท. หรือ ไม่เติม ปตท. ความเข้าใจผิดว่าด้วย ปตท. (ปัจจุบันคือ PTTOR) เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน ผนวกกับสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายทำให้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดเป็นช่วงขาขึ้น กอปรกับ กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แห่กันลดกำลังการผลิตที่เคยหารือกันไว้รวมถึงน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์อยู่ในช่วงขาขึ้น และเป็นผลให้ราคาน้ำมันไทยปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ในช่วงตั้งแต่ปลายเมษายนถึงปัจจุบัน(มิถุนายน) ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ดีเซลปรับขึ้น ประมาณ 20เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่เบนซินปรับขึ้นเกือบ 30 เหรียญ/บาร์เรล) จึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้น้ำมันอย่างรุนแรงและมองว่า ปตท. กำลังเอาเปรียบคนไทย เจ้าอื่นก็ปรับขึ้นเช่นกัน แต่ลอยตัวไปด้วยสาเหตุใดผู้เขียนก็มิอาจทราบได้ แน่นอนว่ากระแสรณรงค์ไม่เติม ปตท. ไม่ได้รุนแรงเหมือนสถานการณ์ปี 61 อาจเพราะหลายคนเข้าใจดีว่าการปรับราคาน้ำมันในประเทศครั้งนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายังมีหลายคนที่มีความเข้าใจผิดเรื่องการปรับราคา บ้างก็เทียบกับตลาดน้ำมันดิบ บ้างก็โจมตีการบริหารของรัฐ หรือบ้างก็นำราคาน้ำมันของไทยไปเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งหากมองตามความเป็นจริงแล้ว การปรับราคาในประเทศไทย ปตท. ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน แต่เป็นการปรับตามการอ้างอิงของตลาด และตามภาพจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันแต่ละปั๊มในประเทศไทย ส่วนใหญ่ราคาเท่ากัน การจะรณรงค์ไม่เติม ปตท. เพียงเจ้าเดียว […]


  • หยิบมาผิดตลาด แต่ด่ากราดบริษัทน้ำมัน

    ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 63 ที่เขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันจะถูกกว่าน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่ม (ที่โจมตีเรื่องพลังงานเป็นประจำ) หรือนักการเมืองบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อชิงพื้นที่ออกสื่อ) พยายามจุดกระแสโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าแพง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าน้ำมันจะลงเท่าไหร่ ก็จะออกมาโจมตีว่าให้ลงมากกว่านี้อยู่ดี โดยเป้าการโจมตีก็พุ่งตรงไปที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท.(ถึงตอนนี้จะกลายเป็นบริษัทลูกอย่าง PTTOR (โออาร์) ทำหน้าที่ในการจำหน่ายน้ำมันแทน ปตท. ไปแล้วก็เถอะ) เพราะคิดกันเองว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ โดย “ตลาด” ที่คนเหล่านี้ใช้อ้างอิงในการโจมตีคือ ตลาด WTI กับ Brent หรือแม้แต่เคยมีคนหัวหมอ ใช้น้ำมันดิบ Dubai ด้วยก็ตาม ซึ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ตลาดน้ำมันดิบ”!!! ก่อนจะไปดูว่าทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ 3 ตลาดนี้ในการอ้างอิงราคาได้ เรามาทำความรู้จักของตลาดทั้ง 3 แห่งกันก่อน WTI Crude หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็น “ตลาดน้ำมันดิบ” ที่สำคัญของอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน […]


  • สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    สารพัดค่าที่ทำให้ราคาน้ำมันไม่ลดตามตลาดแบบบัญญัติไตรยางค์

    “ทำไมราคาน้ำมันแพง ทั้งที่ตลาดโลกก็ลดมาเยอะแล้ว” “แต่ก่อนตลาดโลก 60 น้ำมันไทย 30 ตอนนี้ตลาดโลก 20 น้ำมันไทยต้องเหลือ 10 บาทสิ” “สถานการณ์ตลาดโลกลดไปตั้งเยอะ ของไทยลดนิดเดียวเอง” … สารพัดคำบ่นของผู้ใช้น้ำมันที่มีต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่พบเห็นเป็นประจำในคอมเมนต์ปรับลดราคาน้ำมัน (ไม่นับพวกที่บ่นว่าน้ำมันถูก แต่ออกไปไหนไม่ได้) มันบอกอะไรเราได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาที่น้อยมาก เลยจะขออธิบายสั้นๆ ถึงเหตุผลที่เราไม่สามารถเอาราคาตลาดที่ประกาศกันโครมคราม ตอนรายงานข่าวเศรษฐกิจตอนเช้า มาเทียบกับราคาหน้าปั๊มไทยได้แบบบัญญัติไตรยางค์ (สมมติว่าทุกคนเข้าใจตรงกันว่าราคาตลาดในที่นี้ หมายถึงราคาตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ไม่ใช่ตลาดน้ำมันดิบอเมริกา (WTI) ที่หลายคนชอบเข้าใจผิดเอาราคาน้ำมันไทยไปเทียบ) ในโครงสร้างราคามีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่น โครงสร้างราคาน้ำมัน หรือราคาขายปลีกหน้าปั๊มที่เราใช้อยู่ มีหลายส่วนที่ประกอบกันกลายเป็นราคาขายปลีกหน้าปั๊ม ซึ่งมันมีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่นที่เราอ้างอิงราคาตลาด ทั้งนี้ในโครงสร้างราคายังประกอบไปด้วย – ภาษี … ทั้งภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีสรรพสามิต รัฐจะเป็นผู้กำหนดตายตัว ดังนั้นภาษีส่วนนี้จึงไม่ได้ขึ้นลงตามราคาตลาด เช่นเดียวกับภาษีเทศบาลที่จะเป็นไปตามสัดส่วนของภาษีสรรพสามิต โดยมีเพียงภาษีมูลค่าเพิ่มชนิดเดียวที่มีอัตราส่วนการเก็บเป็นร้อยละ 7 เทียบกับราคา และตัวเลขจะปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน – กองทุนน้ำมัน … […]


  • อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    อินโดนีเซียจะลดการอุดหนุนราคาน้ำมัน

    ปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พล ท. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าอินโดนีเซียอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศมากเกินไป จนกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจของประเทศ โดยปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค เพราะไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย จากการขยายตัวของพลเมืองที่สูงเป็นอันดับสี่ของโลก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ตลอดจนนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานอย่างยาวนาน จนทำให้ราคาพลังงานต่ำจนเกินไป เกิดการบริโภคพลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และไม่มีประสิทธิภาพ ข้อสำคัญราคาพลังงานที่ต่ำจนเกินไป ทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียเสพย์ติดพลังงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะลดการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน ก็จะเกิดแรงต้านจากภาคประชาชน จนกระทั่งเกิดการจลาจล กลายเป็นปัญหาทางการเมือง จนบางครั้งถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเช่นในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นต้น แม้แต่ในสมัยของรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยเจอกับปัญหาการก่อจลาจลจากการขึ้นราคาน้ำมัน(ลดการอุดหนุนราคา)มาแล้ว จนต้องลดราคาลงมาหลังจากขึ้นไปได้ไม่นาน จึงยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าเที่ยวนี้รัฐบาลจะทำไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เรื่องการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากในทุกประเทศ และดูจะเห็นตรงกันว่า ถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานเหลือเฟือ ชนิดที่ว่าใช้กันไปอีกร้อยปีก็ยังไม่หมด และเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ (ส่งออกมากกว่านำเข้า) […]


  • ชำแหละน้ำมันแพง ไทยส่งออกน้ำมันให้เพื่อนบ้านลิตรละ20กว่าๆแล้วทำไมคนไทยต้องจ่าย40 บาท

    ชำแหละน้ำมันแพง ไทยส่งออกน้ำมันให้เพื่อนบ้านลิตรละ20กว่าๆแล้วทำไมคนไทยต้องจ่าย40 บาท

    ไทยส่งออกน้ำมันให้เพื่อนบ้านลิตรละ 24-25 บาท แล้วทำไมคนไทยต้องจ่ายลิตรละ 40 บาท คำถาม ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ไทยส่งออกเบนซิน-ดีเซลขายกัมพูชาและลาวลิตรละ  24-25 บาท แล้วทำไมคนไทยต้องจ่ายลิตรละ 40 บาท ความจริง ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน  ราคาส่งออกเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษี กองทุน และอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ  ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศมีนโยบายด้านภาษีและกองทุนต่างกัน การคำนวณราคาขายปลีกจึงต่างกัน ขณะที่ราคาที่จำหน่ายในประเทศที่นำมาเปรียบ เทียบนั้นเป็นราคาขายปลีกซึ่งรวมภาษีและกองทุนต่าง ๆ แล้ว  ( ปัจจุบันภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บของไทยอยู่ที่ประมาณ 14.80 บาทต่อลิตรสำหรับเบนซิน  91  และ 12  บาทต่อลิตรสำหรับแก๊สโซฮอล์  95 และ 2.95 บาทต่อลิตรสำหรับน้ำมันดัเซล  ณ  ราคาวันที่  19 เม.ย. 2555 ) ฉะนั้น เมื่อรวมภาษีและกองทุนที่แต่ละประเทศเรียกเก็บแล้ว  ราคาน้ำมันที่กัมพูชาและลาวไม่ได้ถูกกว่าไทย  โดยราคาเบนซินของกัมพูชาและลาวอยู่ที่  43 บาท  ขณะที่พม่าอยู่ที่  33  บาทต่อลิตรเพราะเก็บภาษีต่ำกว่า   ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ในการขนส่งและผลิต ประเทศไทยยังมีราคาต่ำกว่าเพื่อนบ้าน    […]


  • ทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย)ถูกกว่าไทย?

    ทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน(มาเลเซีย)ถูกกว่าไทย?

    ยังคงมีอีกหลายๆคงที่ยังตั้งข้อสงสัยว่าทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้านถูกกว่าบ้านเรา เพราะเนื่องจากมาเลเซียขายเชื้อเพลิงถูกกว่าเรา แต่ก็ไม่มีใครไปหาเหตุผลมาบอกได้ว่ามาเลเซียเขาทำอย่างไร มีแต่คนที่ไม่หวังดีต่อประเทศเอาข้อเท็จจริงอันนี้มาโจมตีบริษัท บางบริษัทว่าเอาเปรียบประชาชน และรัฐบาลว่าเก็บภาษีขูดเลือดขูดเนื้อคนไทยราคาเชื้อเพลิงจึงแพงโดยไม่ดูสาเหตุอื่นประกอบเลย ดูแต่เรื่องราคา (อีกแล้ว) จะพาไปดูกันนะว่ามาเลเซียเขาเป็นอย่างไร และทำอะไรถึงทำให้ราคาเชื้อเพลิงถูกและสุดท้ายผู้อ่านก็ตัดสินกันเองละกันว่าอยากให้เมืองไทยเป็นแบบนั้นหรือไม่   หากคุณลองหาข้อมูลจากเวบไซต์ของปิโตรนาสแล้วศึกษาเองจะพบความเป็นจริงดังต่อไปนี้ 1. ปิโตรนาส ซึ่งเป็นของรัฐบาลมาเลเซีย กำไรมากกว่า ปตท อยู่อันดับสูงกว่าในเวทีโลกด้วยซ้ำ 2. งงไหมว่าทำไมเขาขายในประเทศถูก แต่รวยกว่าปตท??? เพราะปิโตรนาสเขาขุดก๊าซ/น้ำมันดิบขึ้นมา แล้วส่งออกน่ะสิ ส่งไปแถบ ญี่ปุ่น เกาหลี และอื่นๆ ขายได้แพงกว่าตั้ง 3-4 เท่าของราคาก๊าซในประเทศไทยนะ 3. อาจมีคนเถียงว่า ได้ยินว่าประเทศไทยเราก็ส่งออกหนิ น่าจะรวย… อย่าลืมว่าไทยเรานำเข้าน้ำมันดิบกว่า80% มากลั่นในประเทศแล้วได้น้ำมันสำเร็จรูป ถ้าเหลือเกินความต้องการในประเทศจึงส่งออก ไทยจึงได้แค่ค่าการกลั่น และปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นจิ๊บจ้อยมาก แต่ที่มาเลเขาส่งออกนั้น ไม่ได้เป็นกำไรจากค่าการกลั่น มันเป็นกำไรจากธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต ซึ่งรุ้ๆ กันว่า ธุรกิจนี้ High risk High Return (ใครยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต กับธุรกิจโรงกลั่น […]