ชำแหละ ปตท เปิดหลักฐานปล้นประเทศไทย ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียม ระบบการจัดเก็บรายได้ปิโตรเลียมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบสัมปทาน (Concession System) และระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract, PSC) ชำแหละ ปตทใช้อะไรตัดสินเลือกระบบสัมปทานหรือระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการพิจารณาการว่าเราจะเลือกใช้ระบบสัมปทานหรือระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต จะต้องพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. ศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศ 2. ปริมาณความต้องการใช้ปิโตรเลียม 3. ราคาปิโตรเลียม หรือแม้กระทั่งวิธีที่จะใช้เก็บผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษในกรณีที่มีการสำรวจพบปิโตรเลียมเป็นแหล่งขนาดใหญ่ที่สามารถผลิตได้ในต้นทุนต่ำ ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract, PSC) จำเป็นต้องมีการเจรจาระหว่างรัฐกับผู้ประกอบการ เพราะรัฐจะร่วมลงทุนด้วยส่วนหนึ่ง และจะต้องรับความเสี่ยงในการลงทุนสำรวจและพัฒนาด้วยเช่นกัน ประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย เป็นต้น ระบบสัมปทาน (Concession System) ผู้รับสัมปทานจะต้องรับความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเลือกระบบสัมปทานหรือระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต ต่างก็ให้ผลประโยชน์และช่วยประชาชนทั้งสองทาง ดังนั้นเราควรเข้าใจถึงการเก็บภาษีต่างๆ เพื่อช่วยค้ำจุนประเทศให้เดินหน้าต่อไปนั่นเอง ติดตามอ่านบทความดีๆได้ที่ https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/ Share This:
กำไรแสนล้าน ของปตท. อาจจะง่ายต่อการชี้ชวนหรือมีอคติ ในหลงเชื่อว่า ได้มาจากการที่ปตท โกงคนไทย เอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้ใช้น้ำมัน แต่เอาเข้าจริง เมื่อชำแหละ ปตท เปรียบเทียบกับสัดส่วนของยอดขายทั้งหมดก่อนจะพูดว่าปตท โกงคนไทย และนำไปจัดลำดับเข้ากับบริษัทพลังงานชั้นนำอื่นๆ ในโลก และธุรกิจอื่นๆของบริษัทในประเทศไทย กลับพบว่า กำไรของปตท. ที่กล่าวว่า ปตท กำไรแสนล้าน อยู่ในระดับที่ต่ำสุด คือ มีเพียงร้อยละ 3.7 นี่ถ้า ปตท.เป็นบริษัทเอกชนเต็มตัว ผู้บริหารคงถูกตำหนิว่า บริหารงานอย่างไรจึงมีผลกำไรน้อยกว่าคนอื่น แต่เมื่อปตท.ยังคงมีกระทรวงการคลังถือหุ้น ร้อยละ 51 จึงต้องถามว่า พอใจกับผลกำไรในระดับนี้หรือไม่ เพราะเพียงเท่านี้ ก็ยังถูกประชาชนโจมตี ว่าปตท โกงคนไทย เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค เพียงเพราะคำว่าปตท กำไรแสนล้าน… อย่าลืม ว่า ประเทศไทยอยู่ในฐานะประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงาน หากเราไม่ยอมให้องค์กรพลังงานของประเทศ มีกำไรเพียงพอสำหรับการออกไปลงทุนแข่งขัน เพื่อแย่งชิง แหล่งพลังงานนอกประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนก็เตรียมรอซื้อพลังงานราคาแพงได้เลย เพราะแต่ละบริษัทต่างก็คำนึงถึงผลกำไรในสัดส่วนที่มากกว่าที่ปตท.เป็นอยู่ หรือว่าเราพอใจที่จะให้ปตท.กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ขาดทุนและยังต้องขอรับงบประมาณจากรัฐมาอุดหนุน อย่างที่เป็นอยู่หลายแห่ง …ประเด็นสำคัญ ที่ควรจะต้องสนใจคือ […]
ข้อโจมตีอีกประการหนึ่งของ “กลุ่มทวงคืนพลังงาน” คือ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศไทยมีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก ตัวอย่างที่คนพวกนี้เผยแพร่ไปทั่วคือ ราคาขายปลีกในประเทศไทยยังแพงกว่าในสหรัฐอเมริกาทั้งที่คนไทยโดยเฉลี่ยมีรายได้ต่ำกว่าคนอเมริกันอย่างมาก คนพวกนี้จงใจเลือกหยิบข้อมูลชำแหละ ปตท เฉพาะจุดโดยไม่กล่าวถึงภาพรวมทั้งหมด เป็นความจริงที่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในสหรัฐฯมีราคาต่ำกว่าไทย โดยปัจจุบันราคาขายปลีกในสหรัฐฯเท่ากับลิตรละ 32.60 บาท ขณะที่ราคาขายปลีกของไทยอยู่ที่ลิตรละ 45.25 บาท แต่จากสถิติราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในเกือบ 200 ประเทศทั่วโลกในเดือนเมษายน 2556 จะพบว่า ประเทศไทยมีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินอยู่ในระดับกลาง ๆ อันดับที่ 95-100 และยังมีอีกหลายประเทศที่พลเมืองมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าคนไทย แต่มีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินแพงกว่า เช่น ศรีลังกา (46.8 บาท) เนปาล (47.8 บาท) กัมพูชา (49.2 บาท) ราวันดา (69.6 บาท) เป็นต้น ประเทศที่มีราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินแพงที่สุดในโลกคือ ตุรกี ที่ลิตรละ 90 บาท! ความจริงคือ ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินไม่ได้สัมพันธ์กับระดับรายได้ของประชากรในแต่ละประเทศ ประเทศยากจนไม่จำเป็นต้องมีราคาน้ำมันถูกกว่าประเทศร่ำรวย เพราะแม้ว่าราคาตัวเนื้อน้ำมันหน้าโรงกลั่นจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่รัฐบาลในแต่ละประเทศก็มีนโยบายภาษีน้ำมันที่ไม่เหมือนกัน ประเทศที่จัดเก็บภาษีน้ำมันสูงก็จะมีราคาขายปลีกสูง ประเทศยากจนที่มีราคาน้ำมันแพงมาก เช่น ในอาฟริกา […]
“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” สร้างนิทานเรื่อง “ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน” และเรื่อง “สัญญาสัมปทานขายชาติ” ก็เพื่อลากไปสู่ประเด็นโจมตีหลักคือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันเบนซิน ที่คนพวกนี้อ้างว่า มีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี 2555 ประเทศไทยกลั่นน้ำมันดิบนำเข้าและน้ำมันดิบ (รวมคอนเดนเสท) ที่ผลิตในประเทศ ออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ประกอบด้วยผลผลิตหลัก เช่น ก๊าซแอลพีจี เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน เป็นต้น รวม 988,964 บาร์เรลต่อวัน แต่ในปีเดียวกัน ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นจำนวน 767,612 บาร์เรลต่อวัน จึงมีเหลือส่งออกไปต่างประเทศจำนวน 199,304 บาร์เรลต่อวัน นัยหนึ่ง ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณที่กลั่นได้ ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 จึงต้องส่งออก “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” โจมตีอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันได้กำไรมหาศาลจากการที่ปตท ปล้นทรัพยากรไทยเอาไปขายน้ำมันสำเร็จรูปในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปี 2555 สูงถึง 270,000 ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวไทยที่ […]
เร็วๆนี้ได้อ่านบทความดีๆจาก http://pichitlk.blogspot.com/2013/03/blog-post_29.html#more ที่กล่าวถึงเรื่องพลังงานไทยในมุมมองที่ต่างออกไป จึงขอหยิบยกมากล่าวสักตอน ขบวนการ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีจุดประสงค์ที่แท้จริงทางการเมืองคือ อาศัยความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาน้ำมันแพง มาปลุกระดมความไม่พอใจ โดยพุ่งเป้าไปที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรัฐบาล โดยอ้างว่า เบื้องหลังการชำแหละ ปตท.ก็คือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่เข้ามาควบคุม ปตท.ด้วยการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน แล้วเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2544 คนพวกนี้จึงเรียกร้องให้ “ทวงคืน ปตท.” ซึ่งก็คือ ถอน ปตท.ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ยกเลิกหุ้น ปตท. และหวนคืนสู่การเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปดังเดิม นิยายพลังงานไทยที่คนพวกนี้ผูกเรื่องขึ้นมาโดยคร่าวๆ คือ ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน มีทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบปริมาณมหาศาล แต่คนไทยกลับต้องใช้น้ำมันราคาแพงเพราะมีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาฮุบทรัพยากร เริ่มตั้งแต่สมคบกับบริษัทขุดเจาะต่างชาติที่ได้สัมปทานแบ่งส่วนผลประโยชน์ให้รัฐไทยน้อยมาก แอบส่งออกน้ำมันดิบไทยไปขายในตลาดโลก แล้วนำเข้าน้ำมันดิบราคาแพงจากตะวันออกกลางเข้ามากลั่น บวกต้นทุนเทียมและตั้งราคาหน้าโรงกลั่นเพื่อกินกำไรส่วนต่าง จัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยมีราคาขายปลีกแพงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก! คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการปกปิดบิดเบือนข้อมูลโดยหน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้อง และหันไปอ้างแหล่งข้อมูลต่างประเทศที่ดูขลังน่าเชื่อถือแทน เช่น การสารสนเทศพลังงานของสหรัฐอเมริกา หรืออีไอเอ เป็นต้น อ้างไปถึงว่า เป็นข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐหรือซีไอเอก็มี ทั้งที่ถ้าลงมือตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ก็จะพบว่า ข้อมูลพลังงานไทยจากแหล่งข้อมูลต่างประเทศ เช่น […]
หลายๆคนสงสัยว่า ไทยผลิตก๊าซได้อันดับที่ 23 ของโลกอ้างอิงจาก Energy Information Administration ของอเมริกา แต่อ้างว่านำเข้าก๊าซในราคาสูง แม้ว่าประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซฯ ได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลกตามข้อมูลของ EIA http://www.eia.gov/countries แต่ทราบหรือไม่ว่าเราสามารถผลิตก๊าซฯ ได้เพียง 1.1% ของการผลิตก๊าซฯทั่วโลกเท่านั้น ในขณะที่อเมริกา รัสเซีย ผลิตได้ถึง 19.3% และ 18.4% เพียงแค่ 2 ประเทศ รวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก แล้วจะเรียกว่าเราผลิตก๊าซฯ ได้เยอะได้อย่างไร ไม่เชื่อลองเข้าไปดูใน www.bp.com/statisticalreview นอกจากนั้นจาก website EIA เช่นกันที่บอกว่า ในขณะที่เราผลิตก๊าซฯ ได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลกแต่เรามีปริมาณการใช้ก๊าซฯสูงเป็นอันดับ 20 ของโลก และเป็นผู้นำเข้าอันดับที่ 21 ของโลกเลยที่เดียว ปตท จะปล้นเงียบ ได้อย่างไร ในเมื่อจากข้อมูลของ สนพ. ในปี 2554 ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซฯ […]