Articles Posted in the " ทวงคืน ปตท " Category

  • พลังงานไทยตอนที่ 6 : ความจริงเกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี

    พลังงานไทยตอนที่ 6 : ความจริงเกี่ยวกับก๊าซแอลพีจี

    “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” และ “กลุ่มทวงคืน ปตท” ยังมีประเด็นโจมตีรัฐบาลที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือนโยบายก๊าซแอลพีจี ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในประเทศไทยได้มาจาก 3 แหล่งคือโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น)ได้จากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศสาเหตุหนึ่งของราคาน้ำมันแพงในประเทศไทยคือ การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีเช่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 น้ำมันเบนซินมีราคาขายปลีกลิตรละ 45.15 บาท เป็นเงินสมทบกองทุนฯ ถึง 9.70 บาทขณะที่น้ำมันดีเซลต้องจ่ายเข้ากองทุนฯ ลิตรละ 3.40 บาท แก๊ซโซฮอล95 E10 สมทบลิตรละ 3.50 บาทประมาณตัวเลขในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 มีเงินเข้าสมทบกองทุนฯ ทั้งสิ้น 254.58 ล้านบาท โดยได้จากน้ำมันดีเซลมากที่สุดคือ 192.20 ล้านบาทจากน้ำมันเบนซิน 18.62 ล้านบาท น้ำมันก๊าซโซฮอล95 E10 จำนวน 30.42 ล้านบาทและน้ำมันก๊าซโซฮอล91 E10 จำนวน 12.74 ล้านบาทรัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนฯสูงมากเพราะเหตุใด? ผลก็คือประเทศไทยจากที่เคยผลิตก๊าซแอลพีจีเหลือใช้และส่งออกได้ถึงวันละ […]


  • พลังงานไทย ตอนที่3 ผลประโยชน์จากสัมปทานปิโตรเลียม

    พลังงานไทย ตอนที่3 ผลประโยชน์จากสัมปทานปิโตรเลียม

    “กลุ่มทวงคืน พลังงานไทย” นอกจากจะแต่งนิทานเรื่องประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานแล้ว ยังตั้งข้อกล่าวหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่ครอบงำ ปตท ไปอยู่เบื้องหลังบริษัทสำรวจและผลิตต่างชาติให้สัมปทานผลิตปิโตรเลียมในเงื่อนไขที่บริษัทต่างชาติจึงทำให้ได้ผลตอบแทนมหาศาล ปตท กำไรแสนล้าน แต่แบ่งปันผลประโยชน์ให้กับรัฐไทยเป็นจำนวนน้อยนิด “กลุ่มทวงคืน พลังงานไทย” อ้างถึงค่าภาคหลวงที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ว่ามีอัตราเพียงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่ายกับภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่อัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ซึ่งคนพวกนี้อ้างว่า “ต่ำที่สุดในอาเซียน” และต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีทั้งค่าภาคหลวง ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากกำไรก่อนหักภาษีแล้วยังมีภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีก รวมเป็นประโยชน์ให้รัฐสูงถึงร้อยละ 80-90 ข้อเสนอของคนพวกนี้มีตั้งแต่ให้แก้กฎหมายเพิ่มสัดส่วนผลประโยชน์ให้รัฐได้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 80-90 ไปจนถึงยกเลิกสัมปทานบริษัทต่างชาติทั้งหมด แล้วให้บริษัท ปตท สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) สำรวจขุดเจาะและผลิตแต่เพียงรายเดียว ความจริงคือ ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยมีพัฒนาการมาสามขั้นตอน มีการแก้กฎหมายหลายครั้ง มีการปรับเปลี่ยนอัตราการแบ่งปันผลประโยชน์ไปตามยุคสมัยและประสบการณ์ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ระบบ Thailand I เริ่มตั้งแต่ พรบ.ปิโตรเลียมฉบับแรก พ.ศ.2514 กำหนดค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่าย และ พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีกร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ […]


  • พลังงานไทย ตอนที่ 2 : ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานจริงหรือ?

    พลังงานไทย ตอนที่ 2 : ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานจริงหรือ?

    เร็วๆนี้ได้อ่านบทความดีๆจาก http://pichitlk.blogspot.com/2013/03/blog-post_29.html#more ที่กล่าวถึงเรื่องพลังงานไทยในมุมมองที่ต่างออกไป จึงขอหยิบยกมากล่าวสักตอน ขบวนการ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีจุดประสงค์ที่แท้จริงทางการเมืองคือ อาศัยความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาน้ำมันแพง มาปลุกระดมความไม่พอใจ โดยพุ่งเป้าไปที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรัฐบาล โดยอ้างว่า เบื้องหลังการชำแหละ ปตท.ก็คือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่เข้ามาควบคุม ปตท.ด้วยการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน แล้วเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2544 คนพวกนี้จึงเรียกร้องให้ “ทวงคืน ปตท.” ซึ่งก็คือ ถอน ปตท.ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ยกเลิกหุ้น ปตท. และหวนคืนสู่การเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปดังเดิม นิยายพลังงานไทยที่คนพวกนี้ผูกเรื่องขึ้นมาโดยคร่าวๆ คือ ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน มีทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบปริมาณมหาศาล แต่คนไทยกลับต้องใช้น้ำมันราคาแพงเพราะมีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาฮุบทรัพยากร เริ่มตั้งแต่สมคบกับบริษัทขุดเจาะต่างชาติที่ได้สัมปทานแบ่งส่วนผลประโยชน์ให้รัฐไทยน้อยมาก แอบส่งออกน้ำมันดิบไทยไปขายในตลาดโลก แล้วนำเข้าน้ำมันดิบราคาแพงจากตะวันออกกลางเข้ามากลั่น บวกต้นทุนเทียมและตั้งราคาหน้าโรงกลั่นเพื่อกินกำไรส่วนต่าง จัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยมีราคาขายปลีกแพงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก! คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการปกปิดบิดเบือนข้อมูลโดยหน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้อง และหันไปอ้างแหล่งข้อมูลต่างประเทศที่ดูขลังน่าเชื่อถือแทน เช่น การสารสนเทศพลังงานของสหรัฐอเมริกา หรืออีไอเอ เป็นต้น อ้างไปถึงว่า เป็นข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐหรือซีไอเอก็มี ทั้งที่ถ้าลงมือตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ก็จะพบว่า ข้อมูลพลังงานไทยจากแหล่งข้อมูลต่างประเทศ เช่น […]


  • พลังงานไทย ตอนที่1 ขบวนการ “สามทวงคืน” จากรัฐบาลทุนสามานย์

    พลังงานไทย ตอนที่1 ขบวนการ “สามทวงคืน” จากรัฐบาลทุนสามานย์

    ในช่วงระยะสองปีมานี้ ขบวนการโจมตีรัฐบาลและบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ในประเด็นราคาน้ำมันแพง ได้ขยายตัวขึ้นจนเป็นประเด็นถกเถียงทั่วไปว่าพลังงานไทย พลังงานใครทำไมบ้านเราราคาน้ำมันถึงแพง ทำไมต้องอิงราคาตลาดสิงคโปร์จนเกิดเป็นเครือข่ายกลุ่ม “ทวงคืน ปตท” หรือ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีผู้คนเข้าร่วมบนสื่อออนไลน์หลายพันคนแม้แต่คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมด้วย ขบวนการ “ทวงคืน” ดังกล่าว มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ริเริ่มโดยนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภาเริ่มแรกมุ่งโจมตีนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยรักไทยโดยรวมและเน้นไปที่การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2544 ในเวลานั้น คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการแจกจ่ายหุ้นปตท.ในหมู่นักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ ชูป้าย “ทวงคืนสมบัติชาติ” ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ในกรณีของ ปตท.ก็ได้ไปฟ้องเป็นคดีในศาลปกครอง ให้ยกเลิกการแปลงสภาพ ปตท.ซึ่งยืดเยื้อมาถึงปี 2550 เมื่อเกิดกรณีการจดทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน กลุ่มสันติอโศก พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนักการเมืองสว.กลุ่มเผด็จการก็รวมตัวกันเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย”ฉวยใช้กรณีปราสาทพระวิหารปลุกกระแสคลั่งชาติเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ปี 2543 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา การเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย” ได้ขยายประเด็นปราสาทพระวิหารไปสู่พื้นที่ทับซ้อนอื่นๆตลอดแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา แล้วเอามาผูกโยงกับประเด็นผลประโยชน์พลังงานโดยลากเส้นพรมแดนของพวกตนลงไปครอบคลุมแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพื่อแสดงว่า การ “สูญเสียดินแดน” บนบกจะนำไปสู่การ “สูญเสียพื้นที่ทางทะเล” ให้แก่กัมพูชาด้วย […]


  • จุดแข็งของประเทศในอาเซียน เวียดนามมีปริมาณสำรองน้ำมันเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย

    จุดแข็งของประเทศในอาเซียน เวียดนามมีปริมาณสำรองน้ำมันเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย

    ได้อ่านกระทู้ดีๆจากพันทิป http://pantip.com/topic/30765661  เรื่องจุดแข็งต่างๆของประเทศในอาเซียนนั้นมีอะไรกันบ้าง แล้วประเทศไทยมีจุดแข็งอะไรในอาเซียน จะเป็นการส่งออกน้ำมันของประเทศไทยได้เป็นจุดแข็งของประเทศไทยหรือเปล่า จากจุดแข็งของประเทศในอาเซียน ก็ไม่เห็นว่าเขาจะบอกว่าไทยเป็นซาอุดิอาระเบียแห่งตะวันออกไกล หรือปตท ส่งออกน้ำมันมากที่สุดเลยนี่ เครดิตภาพ เพจมหานครอาเซียน http://on.fb.me/1dZjoBi   จากภาพนั้น ประเทศไทยมีจุดแข็งคือเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร อีกทั้งยังมีแรงงานเป็นจำนวนมาก และยังเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในจุดแข็งนั้นไม่ได้พูดถึงเรื่องการส่งออกน้ำมันเลยด้วยซ้ำ และไม่ได้พูดถึงเรื่องน้ำมันเลย กลับกลายเป็นบรูไน เวียดนาม และมาเลเซียที่มีจุดแข็งทางด้านการส่งออกน้ำมัน จริงๆประเทศไทยน่าจะเพิ่มจุดแข็งเรื่อง สร้างข่าวลือ สร้างภาพ ทะเลาะเบาะแว้งกันเอง หลงเชื่อคนง่าย งมงาย ลงไปเป็นจุดแข็งที่คนอื่นไม่สามารถมาทำลายได้ด้วย คงจะดูเหมาะกันดี ดังนั้น ในเมื่อประเทศไทยไม่ได้มีจุดแข็งในเรื่องน้ำมัน ก็เปิดใจยอมรับเถอะพวกที่ ทวงคืน ปตท หรือคิดว่าปตท ฉวยโอกาสในเรื่องการส่งออกน้ำมันนั้น อาจจะเป็นเพียงแค่ข่าวลือก็ได้ ติดตามอ่านบทความดีได้ที่ https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/     Share This:


  • ชาวทวงคืนพลังงาน/ปตท..คุณอยากเห็นประเทศไทยเกิดการนองเลือดใช่หรือไม่?

    ชาวทวงคืนพลังงาน/ปตท..คุณอยากเห็นประเทศไทยเกิดการนองเลือดใช่หรือไม่?

    เรื่องราวและที่มาอธิบายได้ตามภาพนี้ ตามรายละเอียดไม่ได้มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซีย อดีตประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC มีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นการหักดิบต่อความนิยมทางการเมืองของตัวเองเป็นอย่างยิ่ง กลับมีแต่การปลุกระดมให้คนไทยลุกฮือ บอกคนไทยมันโง่บ้าง ไทยเฉยบ้าง ทำไมไม่เอาอย่างชาวอินโดนีเซียกันบ้าง ผมว่าชาวทวงคืนนี่ชักจะเพี้ยนไปกันใหญ่แล้วล่ะก่อนอื่นคงต้องเท้าความกันสักหน่อยว่า (คงต้องแตะเรื่องสีเสื้อสักเล็กน้อยครับ) ต้นกำเนิดของการทวงคืน ปตทนี่มันเริ่มมาจากกลุ่มพันธมิตรนำโดยคนที่คุณก็รู้ว่าใคร (นึกถึงคนๆ นี้แล้ววลีนี้ก็ก้องอยู่ในหูผมครับ “ท้ากสิน…ออกไป๊” ทั้งๆ ที่เขาคนนั้นก็ออกไปตั้งนานละ แต่การเมืองกลุ่มก้อนนี้ก็ยังไปไม่พ้น “ท้ากสิน…ส้ากที” โอเคครับกลับมาที่เรื่องของเราดีกว่า) และเรื่องการทวงคืนท้ากสิน เอ๊ย!!! ทวงคืน ปตท นี่ก็เงียบหายไปช่วงหนึ่งในสมัยรัฐบาลขิงแก่ต่อด้วยรัฐบาลประชาธิปัตย์มันกลับมาหนักข้อขึ้นมาอีกครั้งก็ตอนเมื่อน่าจะต้นปีที่แล้วนี่ล่ะเมื่อมีผู้เชียวชาญพลังงานท่านหนึ่งตกจากตึกแกรมมี่มาจุติเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน” ร่วมกับ “สอวอหญิงท่านหนึ่ง”  ที่ก็มีความเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลปัจจุบันพอสมควร ขณะที่ทางกลุ่มเสื้อแดงเองซึ่งค่อนข้างมีความหลากหลายทางอุดมการณ์ก็มีคนเสื้อแดงบางคนหันมาเล่นเรื่อง “ทวงคืน ปตท” กับเขาบ้างโดยไปๆ มาๆ คนซื้อแดงกลุ่มนี้ก็รวมตัวกับกลุ่มสอวอ&หม่อม แล้วสร้างวาทะกรรมว่า “เรื่องพลังงานเป็นเรื่องของส่วนรวมไม่มีสีเสื้อเข้ามาเกี่ยวข้อง”  ไปออกเวทีร่วมกันในพื้นที่เหลืองบ้าง แดงบ้าง ปะปนกันไป เพื่อให้ข้อมูลจริง (ที่เอาไปพูดไม่หมด) เพื่อหามวลชนและพวกพ้อง อีกทางหนึ่งคราวนี้เราไปไกลสักหน่อยที่มาบตาพุด มีวิศวกรท่านหนึ่งไม่พอใจเรื่อง ปตท ไม่ตอกเสาเข็ม (ไม่รู้แกเป็นอะไรกับเสาเข็มมากมั๊ยอาจจะมีปมด้อยเรื่องเสาเข็มอะไรสักอย่าง) ออกมาสร้างเพจ “กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่นมาบตาพุด” สร้างไปสร้างมาแกเริ่มสนุก เลยสร้าง “ทวงคืนพลังงานไทย“ ต่อด้วย “Thai Energy Get Back” และล่าสุด “แหล่งน้ำมันในเมืองไทย” ด้วยการทำ Infographic จับแพะชนแกะอันลือลั่นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงาน เอาล่ะครับ 3 ย่อหน้าที่กล่าวมารวมถึงลูกเพจที่เชื่อข้อมูลของกลุ่มดังกล่าวสุดริ่มทิ่มประตูนั้น ผมขอเรียกรวมๆ ว่า “ชาวทวงคืน ปตท” แล้วกัน อย่างที่ผมบอกครับว่าชาวทวงคืนไม่มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซียมีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าวเลยผมขออนุญาตลองวิเคราะห์ดูว่าเหตุใดรัฐบาลอินโดฯจึงยอมหักดิบทุบหม้อข้าวฐานเสียงตัวเองอย่างนั้น จากข้อมูลที่หาได้ในอินเตอร์เน็ตนี่ล่ะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://pantip.com/topic/30625508 Share This:


  • คนไทยถูกปตท ปล้นเงียบหรือว่าความจริงถูกบิดเบือน?

    คนไทยถูกปตท ปล้นเงียบหรือว่าความจริงถูกบิดเบือน?

    หลายๆคนสงสัยว่า ไทยผลิตก๊าซได้อันดับที่ 23 ของโลกอ้างอิงจาก Energy Information Administration ของอเมริกา แต่อ้างว่านำเข้าก๊าซในราคาสูง แม้ว่าประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซฯ ได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลกตามข้อมูลของ EIA http://www.eia.gov/countries  แต่ทราบหรือไม่ว่าเราสามารถผลิตก๊าซฯ ได้เพียง 1.1% ของการผลิตก๊าซฯทั่วโลกเท่านั้น ในขณะที่อเมริกา รัสเซีย  ผลิตได้ถึง 19.3% และ 18.4% เพียงแค่ 2 ประเทศ รวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก แล้วจะเรียกว่าเราผลิตก๊าซฯ ได้เยอะได้อย่างไร ไม่เชื่อลองเข้าไปดูใน www.bp.com/statisticalreview   นอกจากนั้นจาก website EIA เช่นกันที่บอกว่า ในขณะที่เราผลิตก๊าซฯ ได้เป็นอันดับที่ 24 ของโลกแต่เรามีปริมาณการใช้ก๊าซฯสูงเป็นอันดับ 20 ของโลก และเป็นผู้นำเข้าอันดับที่ 21 ของโลกเลยที่เดียว ปตท จะปล้นเงียบ ได้อย่างไร ในเมื่อจากข้อมูลของ สนพ. ในปี 2554 ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซฯ […]


  • ทวงคืน ปตททำไม? ทวงคืนจากใคร?

    ทวงคืน ปตททำไม? ทวงคืนจากใคร?

    จากหัวข้อที่ตั้ง คือมีข้อสงสัยในจุดยืนของคนที่อยากจะทวงคืน ปตท ว่า คุณจะทวงคืนมาจากใคร? ก็ในเมื่อตอนนี้กระทรวงการคลัง (รัฐบาล) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด? แล้วถ้าสมมติว่าทวงคืนได้สำเร็จเสร็จทุกกระบวนการ ปตทจะตกไปอยู่ที่ใคร? เป็นส่วนกลางให้ประชาชนบริหารกันเองเหรอ? ที่บอกว่าทวงคืน ปตท นี่คือทวงคืน ปตท จากรัฐหรือว่าทวงคืน ปตท จาก ปตท? ที่ถามว่า ทำไมถึงต้องทวงคืนจากรัฐล่ะ ก็ตารางรายชื่อผู้ถือหุ้นก็มีแสดงอยู่ให้เห็นอยู่โต้งๆ ว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 51% แล้วถ้าจะบอกว่า ปตทนั่นแหละเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำมันแพง เรามาดูตารางโครงสร้างราคาน้ำมัน จาก http://www.iwebgas.com/oil/oil.html กัน ว่าที่แพง แพงเพราะอะไรบ้าง   จากรูปตารางโครงสร้างน้ำมัน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 56 จะเห็นได้ว่ามีการบวกเพิ่มเยอะแยะมาก และในกรอบสีแดงนั้น คือที่รัฐบาลบวกเพิ่มทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นภาษีสรรพสามิต กองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาษีเทศบาล VAT ราคาหน้าโรงกลั่นจริงๆ แค่ 17-25 บาท (เชื้อเพลิงที่ผลิตได้) หลายคนสงสัยอีกแหละ อ้าว! แล้วไอ้ราคาหน้าโรงกลั่นเนี่ยมาจากไหน ในเมื่อน้ำมันก็ขุดขึ้นมาจากในอ่าวไทย หรือในหลายๆแหล่งของประเทศไทย […]


  • ทวงคืน ปตททำไม? มาช่วยกันแก้ก่อนจะสายดีกว่าไหม?

    ทวงคืน ปตททำไม? มาช่วยกันแก้ก่อนจะสายดีกว่าไหม?

    ราคาน้ำมันเพื่อนบ้านถูกกว่าจริงเหรอ? ลักลอบขายก๊าซตามชายแดนเกี่ยวยังไงกับเรา? และถ้าราคาพลังงานของเรายังเหมือนเดิม จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเปิดเสรีอาเซียน? ปตท ปล้นชาติหรือคนไทยกำลังโดนเพื่อนบ้านปล้นก­ำไร? แล้วจะทวงคืน ปตท ทำไม? หาคำตอบได้ในรู้ทันก๊าซ ตอนที่ 4 : แก้ก่อนจะสาย Share This:


  • พลังงานไทย พลังงานใคร โรงกลั่นก็เป็นธุรกิจที่มีแต่กำไรส่วนคนไทยขาดทุนทั้งปีทั้งชาติ

    พลังงานไทย พลังงานใคร โรงกลั่นก็เป็นธุรกิจที่มีแต่กำไรส่วนคนไทยขาดทุนทั้งปีทั้งชาติ

    ในการทำธุรกิจ ย่อมมีทั้งขึ้น-ลง เป็นธรรมดา ธุรกิจโรงกลั่นก็เช่นเดียวกัน ที่มีทั้งขึ้นและลง คงไม่มีธุรกิจใดที่จะมีแต่ขึ้นอย่างเดียวหรอก มิเช่นนั้นคนก็คงแห่ไปทำธุรกิจนั้นกันหมดแล้ว ที่ผ่านมาโรงกลั่นก็มีขาดทุน เพราะถ้ามีแต่กำไรจริง ทำไมในปี 2546 บริษัท เชลล์ ถึงต้องขายโรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC)? เหตุผลคือ ไม่สามารถแบกรับภาระขาดทุนได้ และถ้าไปดูข้อมูลผลประกอบการ ปี 2551 จะเห็นได้ว่า โรงกลั่นขาดทุนรวมกันหลายหมื่นล้านบาท ที่สงสัยกันว่าพลังงานไทย พลังงานใคร ทำไมโรงกลั่นถึงส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าขายให้คนไทย ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าโครงสร้างราคาน้ำมันบ้านเราเป็นยังไง มันประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ – ต้นทุนเนื้อน้ำมัน – ค่าภาษีและกองทุน – ค่าการตลาด แล้วจะให้ทวงคืน ปตท ยังไง ก็ในเมื่อเวลาที่โรงกลั่นส่งออกน้ำมันไปขายต่างประเทศนั้น จะเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุน ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศ จะต้องไปจ่ายภาษีและกองทุนอีกครั้งตามแต่ละประเทศจะเรียกเก็บ จึงทำให้เข้าใจผิดไปว่าโรงกลั่นส่งออกน้ำมันราคาถูกซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการคิดกันคนละฐานราคาเท่านั้น ดูจากกราฟค่าการกลั่นของโรงกลั่นในประเทศไทย โครงสร้างราคาน้ำมันสำเร็จรูป (เฉลี่ยไตรมาสที่ 1/2555) จะเห็นได้ว่า ความเป็นจริงที่ว่ากันว่า ปตท ส่งออกน้ำมันออกต่างประเทศถูกกว่าที่ขายในประเทศไทย ก็เพราะว่า ราคานั้นเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษีและกองทุนน้ำมันของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศต่างๆก็เก็บภาษีไม่เท่ากัน แล้วแต่ละประเทศก็คิดราคากันคนละฐานราคาเท่านั้น ดังนั้น ค่าน้ำมันประเทศไทยแพงเพราะภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บนั่นเอง […]