Articles Posted in the " ปตท กำไรแสนล้าน " Category

  • ปตท. กำไรแสนล้าน

    ปตท. กำไรแสนล้าน

    ปตท. กำไรแสนล้าน  ภาษาไทยเป็นภาษาซึ่งมีความซับซ้อนทางภาษา และซ่อนนัยยะการสื่อความหมายอยู่มากมาย บางคำ พูดกันอยู่โต้งๆ แต่กลับมีวาระซ่อนเร้นของความหมายที่น่ากลัว ซ่อนอคติ การติเตียน คำกำกวม และการทำให้เข้าใจผิด อย่างคำง่ายๆ ที่เราคุ้นชินในช่วงหลายปีที่ผ่านมา …”ปตท. กำไรแสนล้าน” ปตท. กำไรแสนล้าน ซ่อนนัยยะอะไรให้เราตีความหมายกันบ้าง ลองคิดเล่นๆ ถ้ามีคนบอกว่าบริษัทหนึ่ง ที่เราต้องซื้อสินค้า(ที่เรารู้สึกว่าแพง)ของเขาเป็นประจำนั้น มีกำไรแสนล้าน เราคงจะรู้สึกในทันที ว่ากำไรมากมายมหาศาลเหลือเกิน กำไรนั้นต้องเป็นเงินที่ขูดรีดจากเราแน่ๆ และกำไรนั้นต้องเกิดจากการคอรัปชั่น โดยแอบซ่อนความรู้สึกอิจฉาอยู่เบาๆ เพราะเชื่อสิหากมีคนหยิบยื่นโอกาสให้คุณเป็นผู้บริหารบริษัทแสนล้าน น้อยคนนักที่จะกล้าปฎิเสธ เอาใหม่ๆ หากเราเติมว่า “ปตท.กำไรแสนล้าน จากรายได้ 2.88 ล้านล้านบาท” (ข้อมูลสถิติ ปี 2013) ซึ่งคิดเป็นกำไรสุทธิเพียง 3.28% หมายความว่า ทุกๆ รายรับ 100 บาท เป็นกำไร 3.26 บาท หรือคิดง่ายๆ ว่าขายของ 1 ชิ้น ราคา 100 บาท […]


  • ปตท กำไรแสนล้าน ชำแหละ ปตท กำไรแสนล้าน เรื่องจริงหรือเพียงเข้าใจผิด?

    ปตท กำไรแสนล้าน ชำแหละ ปตท กำไรแสนล้าน เรื่องจริงหรือเพียงเข้าใจผิด?

    กำไรแสนล้าน ของปตท. อาจจะง่ายต่อการชี้ชวนหรือมีอคติ ในหลงเชื่อว่า ได้มาจากการที่ปตท โกงคนไทย เอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้ใช้น้ำมัน แต่เอาเข้าจริง เมื่อชำแหละ ปตท เปรียบเทียบกับสัดส่วนของยอดขายทั้งหมดก่อนจะพูดว่าปตท โกงคนไทย และนำไปจัดลำดับเข้ากับบริษัทพลังงานชั้นนำอื่นๆ ในโลก และธุรกิจอื่นๆของบริษัทในประเทศไทย กลับพบว่า กำไรของปตท. ที่กล่าวว่า ปตท กำไรแสนล้าน อยู่ในระดับที่ต่ำสุด คือ มีเพียงร้อยละ 3.7 นี่ถ้า ปตท.เป็นบริษัทเอกชนเต็มตัว ผู้บริหารคงถูกตำหนิว่า บริหารงานอย่างไรจึงมีผลกำไรน้อยกว่าคนอื่น แต่เมื่อปตท.ยังคงมีกระทรวงการคลังถือหุ้น ร้อยละ 51 จึงต้องถามว่า พอใจกับผลกำไรในระดับนี้หรือไม่ เพราะเพียงเท่านี้ ก็ยังถูกประชาชนโจมตี ว่าปตท โกงคนไทย  เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค เพียงเพราะคำว่าปตท กำไรแสนล้าน… อย่าลืม ว่า ประเทศไทยอยู่ในฐานะประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงาน หากเราไม่ยอมให้องค์กรพลังงานของประเทศ มีกำไรเพียงพอสำหรับการออกไปลงทุนแข่งขัน เพื่อแย่งชิง แหล่งพลังงานนอกประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนก็เตรียมรอซื้อพลังงานราคาแพงได้เลย เพราะแต่ละบริษัทต่างก็คำนึงถึงผลกำไรในสัดส่วนที่มากกว่าที่ปตท.เป็นอยู่ หรือว่าเราพอใจที่จะให้ปตท.กลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ขาดทุนและยังต้องขอรับงบประมาณจากรัฐมาอุดหนุน อย่างที่เป็นอยู่หลายแห่ง  …ประเด็นสำคัญ ที่ควรจะต้องสนใจคือ […]



  • โบลีเวียโมเดล กับ ทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตท

    โบลีเวียโมเดล กับ ทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตท

    (ซ้ายมือ) โปสเตอร์ชวนเชื่อในเหตุการณ์ Bolivian Gas War ในประเทศโบลีเวียในช่วงปี 2005 และ (ขวามือ) โลโก้กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย ท่ามกลางกระแส “ทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตท” ที่มีอยู่ในประเทศไทยในเวลานี้นั้นเกิดขึ้นจากคนกลุ่มๆ หนึ่งที่ต้องการให้แหล่งปิโตรเลียมและบริษัทพลังงานแห่ง ชาติ หรือ ปตท นั้น กลับคืนสู่รัฐ 100% และขอมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ดิน เพื่อให้รัฐได้ผลตอบแทนสูงๆ เพื่อเอามาสร้างระบบสาธารณูปโภค โรงเรียน โรงพยาบาล ต่างๆ นานาตามที่กล่าวอ้าง ฟังดูเผินๆ ก็เหมือนกับว่าทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตทนี้เป็นกลุ่มคนดี มีอุดมการณ์ที่ดี ทำเพื่อประชาชนและหน่วยงานพลังงานของรัฐ คือ กระทรวงพลังงานและ ปตท กลายเป็นปีศาจร้ายแต่ต้องถามใจเราเองก่อนว่า กลุ่มทวงคืน พลังงานไทย ทวงคืน ปตทเหล่านั้นมีเจตนาดีจริงหรือ ต้องการให้ความรู้และความเข้าใจเรื่องพลังงานแก่ประชาชนจริงๆ หรือเปล่า จุดเริ่มของเหล่านักทวงคืนพลังงานนั้นมาจาก Role Model ของพวกเค้าคือ ประธานาธิบดี เอโบ โมราเลส แห่งโบลีเวียนั่นเองที่ได้ประกาศว่า […]


  • พลังงานไทย ตอนที่3 ผลประโยชน์จากสัมปทานปิโตรเลียม

    พลังงานไทย ตอนที่3 ผลประโยชน์จากสัมปทานปิโตรเลียม

    “กลุ่มทวงคืน พลังงานไทย” นอกจากจะแต่งนิทานเรื่องประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงานแล้ว ยังตั้งข้อกล่าวหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่ครอบงำ ปตท ไปอยู่เบื้องหลังบริษัทสำรวจและผลิตต่างชาติให้สัมปทานผลิตปิโตรเลียมในเงื่อนไขที่บริษัทต่างชาติจึงทำให้ได้ผลตอบแทนมหาศาล ปตท กำไรแสนล้าน แต่แบ่งปันผลประโยชน์ให้กับรัฐไทยเป็นจำนวนน้อยนิด “กลุ่มทวงคืน พลังงานไทย” อ้างถึงค่าภาคหลวงที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ว่ามีอัตราเพียงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่ายกับภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมที่อัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ซึ่งคนพวกนี้อ้างว่า “ต่ำที่สุดในอาเซียน” และต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีทั้งค่าภาคหลวง ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากกำไรก่อนหักภาษีแล้วยังมีภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีก รวมเป็นประโยชน์ให้รัฐสูงถึงร้อยละ 80-90 ข้อเสนอของคนพวกนี้มีตั้งแต่ให้แก้กฎหมายเพิ่มสัดส่วนผลประโยชน์ให้รัฐได้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 80-90 ไปจนถึงยกเลิกสัมปทานบริษัทต่างชาติทั้งหมด แล้วให้บริษัท ปตท สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) สำรวจขุดเจาะและผลิตแต่เพียงรายเดียว ความจริงคือ ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยมีพัฒนาการมาสามขั้นตอน มีการแก้กฎหมายหลายครั้ง มีการปรับเปลี่ยนอัตราการแบ่งปันผลประโยชน์ไปตามยุคสมัยและประสบการณ์ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ระบบ Thailand I เริ่มตั้งแต่ พรบ.ปิโตรเลียมฉบับแรก พ.ศ.2514 กำหนดค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่าย และ พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีกร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ […]


  • น้ำมันที่โรงกลั่น(ไทย)…..จะตั้งราคาอย่างไร จึงจะเป็นธรรม

    น้ำมันที่โรงกลั่น(ไทย)…..จะตั้งราคาอย่างไร จึงจะเป็นธรรม

    หนึ่งในคำถามที่มีต่อโครงสร้างราคาน้ำมันในบ้านเรา นอกจากประเด็นการอิงราคาตลาดสิงคโปร์แล้ว ที่น่าสนใจก็ คือ การตั้งราคาของโรงกลั่น ประเด็นจะเริ่มต้นที่ว่า หากโครงสร้างราคาน้ำมันของประเทศไทยอิงราคาตลาดที่สิงคโปร์ (Simex) แล้วทำไมการกำหนดราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่นของประเทศไทยต้องบวกค่าขนส่งจากประเทศสิงคโปร์มายังประเทศไทยด้วย (คุณโสภณ สุภาพงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หนึ่งในกูรูด้านพลังงานของไทย บอกว่า ราคา ณ โรงกลั่นของไทยต้องต่ำกว่าราคาสิงคโปร์ (อันเนื่องมาจากการขนส่ง) 1-2 บาท /ลิตร และเป็นหัวหอกสำคัญในการตั้งประเด็นสาธารณะประเด็นนี้) ในเมื่อข้อเท็จจริงเราไม่ได้ขนย้าย-น้ำมันมาจากโรงกลั่นที่ประเทศสิงคโปร์ ประเด็นมีต่อไปอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันในไทยซึ่งมีอยู่ 7 โรงนั้น ปัจจุบันใครเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ได้สิทธิในการบริหารโรงกลั่นของไทย จากข้อมูลที่มีอยู่ ก็คือส่วนใหญ่จะเป็นของ “กลุ่มปตท.” ประกอบด้วย ไทยออยล์ /ไออาร์พีซี /สตาร์ / ระยอง / บางจาก รวมทั้งสิ้นคิดเป็น 83 % ของกำลังผลิต (กลั่น) ยกเว้นอีก 2 โรง เป็นของคนอื่น คือ เอสโซ่และอาร์พีซี ประเด็นทั้งสองรวมกันแล้วพุ่งเข้าใส่ ปตท.ว่า เป็นผู้ตั้งราคา ปตท ปล้นพลังงานไทย เป็นผู้ที่มีส่วนในการบิดเบือนราคา เป็นการสร้างภาวะซ้ำเติมให้กับประชาชนผู้บริโภคตาดำๆ […]


  • ความจริงที่ทุกคนไม่รู้ ในเรื่อง “ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง”

    ความจริงที่ทุกคนไม่รู้ ในเรื่อง “ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง”

    กระทู้ดีๆอีกหนึ่งกระทู้จากพันทิป http://pantip.com/topic/30724936 ได้บอกเล่าในเรื่องทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง โดยมีการนำหลักฐานจากเว็บพลังงานต่างๆที่เชื่อถือได้มาอ้างอิง ซึ่งจากข้อมูลข่าวสารล่าสุดในเพจทวงคืนพลังงานไทย เมื่อวันที่ 15 กค. ที่ผ่านมานั้น  เขาบอกว่าน้ำมันดิบโลก WTI เมื่อปี 2008 (2551) มันราคาตั้ง 140 US$ ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูปบ้านเราตอนนั้นมันยังถูกกว่าตอนนี้ ทั้งๆที่ปัจจุบัน (วันที่อ้างอิงคือ 12 กค. 2556) ไอ้ราคาน้ำมันดิบ WTI มันมันแค่ 106.25 US$ เอง ในอินโฟกราฟิกจะเห็นว่าเขาเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายในบ้านเราช่วงเดือน มค-กพ 2551 มาแสดง งั้นเราไปตรวจสอบราคาน้ำมันดิบ WTI ในช่วงนั้นกันดีกว่า (ตรงกับ JAN-FEB 2008) http://www.eia.gov/dnav/pet/hist/LeafHandler.ashx?n=PET&s=RWTC&f=D มัน 140 US$ ตรงไหน จะเห็นว่าราคาเฉลี่ยมันวิ่งอยู่ในช่วง 9X.XX US$ เท่านั้นเอง นี่มั่วข้อที่หนึ่ง แล้วที่ราคาน้ำมันดิบ WTI มันขึ้นไปถึง 140 US$ มันมีจริงไหม ตอบเลยว่ามีจริงในปี […]


  • เมื่อไรคนไทยจะเลิกใช้ “ความรู้สึก” แล้วหันมา “ทำความเข้าใจ”

    เมื่อไรคนไทยจะเลิกใช้ “ความรู้สึก” แล้วหันมา “ทำความเข้าใจ”

    เนื่องจากราคาน้ำมันในช่วงนี้ผันผวนแปรปรวนเป็นอย่างมาก และบังเอิญได้ไปเจอกระทู้นี้ในพันทิป http://pantip.com/topic/30335993 ซึ่งสอดคล้องกับปัญหาราคาน้ำมันในตอนนี้ จึงอยากจะนำมาอ้างอิงในที่นี้ เนื้อความจากกระทู้เรื่องราคาน้ำมันมีอยู่ว่า คือผมก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรหรอกนะที่คนนั้นคนนี้เขาจะใช้ความรู้สึกในเชิง “บ่น” แต่ผมหมั่นไส้ไอ้พวก “ด่า” ปตท กำไรแสนล้านมากกว่า ซึ่ง “ด่าเพราะไม่รู้” ยังพอรับได้ แต่ “ด่าทั้งที่มีคนอธิบายแล้วแต่โง่เองหรือไม่เปิดใจรับฟังนี่” มันน่าหยิกแก้มนัก อ้างอิงจากกระทู้ http://pantip.com/topic/30335188 ว่าเมื่อวานเกิดอะไรขึ้น ราคาเบนซินสิงคโปร์ ถึงได้ดิ่งเหวขนาดนี้?? คนไทยเลิกใช้ความรู้สึกแล้วมาดูข้อเท็จจริงมีข้อมูลประกอบกันสักที เอาข้อมูลมาให้แล้วแต่เข้าใจว่ายังย่อยให้ละเอียดไม่พอ คืออย่างนี้บ้านเรา ปรับราคาน้ำมันครั้งล่าสุดไกลหน่อยเมื่อ 22 มีนาคม 56 ปรับราคาครั้งใกล้ๆมาหน่อย 4 เมษายน 56 (ปรับขึ้น) ปรับราคาครั้งล่าสุด สุดๆไปเลย 5 เมษายน 56 (ปรับลง) ข้อมูลราคาน้ำมันย้อนหลัง: http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html คุณลองสังเกตราคาน้ำมันระหว่าง 22 มีนาคม – 3 เมษายนสิว่ามันขึ้นหรือลง ขึ้นใช่ไหม แล้วคุณเคยคิดกันบ้างไหมว่า ทำไมราคาบ้านเราไม่ปรับขึ้น? ก็เพราะผู้ค้าเขายอม absorb ส่วนต่างนั้นให้ และ/หรือเอาเงินกองทุนน้ำมันออกมาช่วย ยังไงเล่า จะเอากันอย่างนี้หรือครับ ปรับขึ้นปรับลงมันทุกวันเลยตามตลาดสิงคโปร์ไปเลย คุณไม่สงสารเด็กปั๊มมันมั่งเรอะ ไอ้ปั๊มที่เป็นป้ายไฟน่ะไม่เท่าไร แต่ไอ้ปั๊มที่ต้องปีนไปเปลี่ยนนี่สิ ได้ตกมาตายกันบ้างล่ะ จากเนื้อความข้างต้น ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ที่บางคนตราหน้า ปตท […]


  • ข้อเท็จจริง ปตท กำไรแสนล้านเพราะส่งออกน้ำมันเงินดีกว่าข้าว

    ข้อเท็จจริง ปตท กำไรแสนล้านเพราะส่งออกน้ำมันเงินดีกว่าข้าว

    •  เวลาเราพูดถึงน้ำมันเราต้องเข้าใจก่อนว่าน้ำมันแบ่งออกเป็นน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป •  ดังนั้นการส่งออกน้ำมันก็มาจาก 2 ส่วนเช่นกัน คือ การส่งออกในรูปของน้ำมันดิบ : ส่วนที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะกับโรงกลั่นไทย การส่งออกในรูปน้ำมันสำเร็จรูป : ส่วนที่ผลิตได้เกินกว่าความต้องการใช้ในประเทศแต่ต้องไม่ลืมว่าน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นวัตถุดิบคือน้ำมันดิบที่มาจากการนำเข้า  เพราะประเทศไทยเราผลิตได้ไม่พอกับความต้องการใช้  โดยในปี 2554 เราต้องนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 977,374 ล้านบาท •  แต่ข้าวเป็นผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกภายในประเทศ ซึ่งต่างจากน้ำมันดิบ •  ดังนั้นการเปรียบเทียบไม่ว่าจะเปรียบเทียบ “อะไร” ก็ควรจะเทียบจากฐานเดียวกัน เช่น จะเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกข้าวกับการมูลค่าส่งออกน้ำมัน ก็ควรจะเทียบจากสิ่งที่เราผลิตได้ภายในประเทศเหมือนกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า น้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการส่งออกข้าว และข้าวก็ยังคงเป็นสินค้าส่งออกหลักที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย โดยข้อมูลจาก สนพ. ในปี 2554 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกพลังงาน 3 แสนล้านบาท แต่ต้องนำเข้าถึง 1.2 ล้านล้านบาท ขาดดุลถึง 9 แสนล้านบาท แต่มูลค่าการส่งออกข้าว 2 แสนล้านบาท ได้มาจากความสามารถในการผลิตข้าวมากกว่าความต้องการใช้เพื่อบริโภคในประเทศ จึงมีเหลือส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศ •  และเช่นเดียวกัน การจะเปรียบเทียบมูลค่าส่งออกน้ำมันของไทยกับเอกวาดอร์ ก็ต้องเปรียบเทียบจากฐานเดียวกัน  จะไม่ว่าเลยถ้าจะเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออก […]