“ทำไมราคาน้ำมันแพง ทั้งที่ตลาดโลกก็ลดมาเยอะแล้ว” “แต่ก่อนตลาดโลก 60 น้ำมันไทย 30 ตอนนี้ตลาดโลก 20 น้ำมันไทยต้องเหลือ 10 บาทสิ” “สถานการณ์ตลาดโลกลดไปตั้งเยอะ ของไทยลดนิดเดียวเอง” … สารพัดคำบ่นของผู้ใช้น้ำมันที่มีต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่พบเห็นเป็นประจำในคอมเมนต์ปรับลดราคาน้ำมัน (ไม่นับพวกที่บ่นว่าน้ำมันถูก แต่ออกไปไหนไม่ได้) มันบอกอะไรเราได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาที่น้อยมาก เลยจะขออธิบายสั้นๆ ถึงเหตุผลที่เราไม่สามารถเอาราคาตลาดที่ประกาศกันโครมคราม ตอนรายงานข่าวเศรษฐกิจตอนเช้า มาเทียบกับราคาหน้าปั๊มไทยได้แบบบัญญัติไตรยางค์ (สมมติว่าทุกคนเข้าใจตรงกันว่าราคาตลาดในที่นี้ หมายถึงราคาตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ไม่ใช่ตลาดน้ำมันดิบอเมริกา (WTI) ที่หลายคนชอบเข้าใจผิดเอาราคาน้ำมันไทยไปเทียบ) ในโครงสร้างราคามีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่น โครงสร้างราคาน้ำมัน หรือราคาขายปลีกหน้าปั๊มที่เราใช้อยู่ มีหลายส่วนที่ประกอบกันกลายเป็นราคาขายปลีกหน้าปั๊ม ซึ่งมันมีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่นที่เราอ้างอิงราคาตลาด ทั้งนี้ในโครงสร้างราคายังประกอบไปด้วย – ภาษี … ทั้งภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีสรรพสามิต รัฐจะเป็นผู้กำหนดตายตัว ดังนั้นภาษีส่วนนี้จึงไม่ได้ขึ้นลงตามราคาตลาด เช่นเดียวกับภาษีเทศบาลที่จะเป็นไปตามสัดส่วนของภาษีสรรพสามิต โดยมีเพียงภาษีมูลค่าเพิ่มชนิดเดียวที่มีอัตราส่วนการเก็บเป็นร้อยละ 7 เทียบกับราคา และตัวเลขจะปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน – กองทุนน้ำมัน … […]
ในวันที่น้ำมันแพงอย่างต่อเนื่องทั่วโลกเช่นนี้ หากเราไม่สามารถหยุดหรือเลิกใช้น้ำมันได้ เพราะเนื่องจากราคาน้ำมันก็แพงขึ้นทุกวันที่สำคัญเราต้องใช้งานทุกวัน จนทำให้ประเทศเราเกิดการวิพากวิจารณ์ต่างๆ นาๆ ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ไทย น้ำมันแพงที่สุดในโลก แต่คุณเห็นด้วยหรือไม่ ว่ายังไงเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันได้อยู่ดีและที่สำคัญเราก็ต่างหาข้อเท็จจริงกันไม่ได้ด้วย ว่าทำไมราคาน้ำมันถึงแพงและสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นการประหยัดคงเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้เราได้ สบายใจสบายเงินในกระเป๋าในยุคน้ำมันแพงกันมากขึ้น การขับรถที่คุณใช้อยู่นั้นก็มีวิธีขับที่ช่วยประหยัดน้ำมัน ได้ง่ายๆ ดังนี้ 1. ขณะสตาร์ทรถไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ ไฟหน้ารถ และเครื่องเสียง จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น เปลืองน้ำมัน 10% 2. ไม่อุ่นเครื่องยนต์ก่อนขับเคลื่อนตัวรถ เพียงขับเคลื่อนรถเบาๆ 1-2 ก.ม. เครื่องยนต์จะอุ่นเอง ไม่จำเป็นต้องอุ่นเครื่องยนต์แล้วจอดอยู่กับที่ เพราะการติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ 2 นาที สิ้นเปลืองน้ำมัน 40 ซีซี. 3. ไม่เบิ้ล ไม่บิดเครื่องยนต์ การเบิ้ลเครื่องยนต์ ขณะเกียร์ว่าง 10 ครั้ง ส่งผลให้รถจักรยานยนต์ สิ้นเปลืองน้ำมัน 15 ซีซี., รถปิคอัพ รถตู้ รถแวน สิ้นเปลืองน้ำมัน 100 ซีซี. และรถบรรทุก สิ้นเปลืองน้ำมัน 300 ซีซี. 4. […]
ประเด็นปตท น้ำมันแพงถือได้ว่าเป็นประเด็นที่แรงไม่ตกเลยทีเดียว จนทำให้เกิดหลายกลุ่มกล่าวหาว่าปตท ขูดรีด คนไทย ทำไมราคาน้ำมันบ้านเราแพงกว่าราคาน้ำมันเพื่อนบ้าน ปตท. ถูกโจมตีอย่างหนัก โดยมีกลุ่มทวงคืน ปตท ได้นำภาพนี้ออกมาเผยแพร่ โดยประเด็นที่ต้องการแย้งก็ คือ ราคาขายปลีกน้ำมันนั้นจะมีโครงสร้างราคาเฉพาะของแต่ละประเทศ ทำให้ไม่สามารถเอาราคาขายปลีกมาเทียบกันทื่อๆ แบบนี้ได้ (และแน่นอนว่ามีพวกกะลาครอบหลายคนที่ “อ่านแต่ไม่ได้อ่าน” เข้ามาแถซ้ำซากเยอะแยะ) ทีนี้ผมก็เลยนึกสนุกขึ้นมาว่า เฮ้ย! ในภาพนั้นพูดถึงอเมริกา อเมริกานี่แม้จะผลิตน้ำมันได้มหาศาล แต่ก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเหมือนประเทศไทยเลยนะ งั้นลองเปรียบเทียบราคากันดูจริงๆ ดีไหม ว่าน้ำมันเราแพงเกินจริงๆ หรือเปล่า ปตท ขูดรีด คนไทยจริงมั้ย…. แรกสุดเราไม่อาจเอาราคาขายปลีกหน้าปั๊มมาเทียบกันได้ เพราะโครงสร้างภาษีและเงินเพิ่มอื่นๆไม่เท่ากัน ดังนั้นราคาที่ต้องเอามาใช้คือราคาน้ำมันสำเร็จหน้าโรงกลั่นที่ยังไม่ได้บวก เงินอื่นๆ เข้าไป ข้อมูลที่ผมจะใช้ก็คือ ราคาของน้ำมันเบนซิน 95 ซึ่งเป็นเกรดสูงสุดของไทย กับราคาน้ำมันเบนซิน Regular ซึ่งเป็นเกรดถูกสุดของอเมริกา (จริงๆ เค้ายังมี Mid-grade แล้วก็ Premium ซึ่งราคาสูงกว่าอีก แต่เนื่องจากหาโครงสร้างราคาได้แต่ของ Regular จึงขอ “ต่อให้” น้ำมันไทยสักเล็กน้อย) โดยจะใช้ราคาอ้างอิงวันที่ […]
ปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย พล ท. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าอินโดนีเซียอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศมากเกินไป จนกระทบต่อการขาดดุลงบประมาณและเศรษฐกิจของประเทศ โดยปีที่แล้วเพียงปีเดียว อินโดนีเซียใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสูงถึง 15% (ประมาณ 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือ 660,000 ล้านบาท) ไปในการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อลดเงินอุดหนุนราคาน้ำมันเริ่มตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เพื่อลดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปค แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มโอเปค เพราะไม่ได้มีฐานะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอีกต่อไป เนื่องจากผลิตน้ำมันได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย จากการขยายตัวของพลเมืองที่สูงเป็นอันดับสี่ของโลก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูง ตลอดจนนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานอย่างยาวนาน จนทำให้ราคาพลังงานต่ำจนเกินไป เกิดการบริโภคพลังงานอย่างฟุ่มเฟือย และไม่มีประสิทธิภาพ ข้อสำคัญราคาพลังงานที่ต่ำจนเกินไป ทำให้ประชาชนชาวอินโดนีเซียเสพย์ติดพลังงาน ดังนั้นทุกครั้งที่รัฐบาลพยายามจะลดการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมานาน ก็จะเกิดแรงต้านจากภาคประชาชน จนกระทั่งเกิดการจลาจล กลายเป็นปัญหาทางการเมือง จนบางครั้งถึงขนาดมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล อย่างเช่นในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โตเป็นต้น แม้แต่ในสมัยของรัฐบาลปัจจุบันเองก็เคยเจอกับปัญหาการก่อจลาจลจากการขึ้นราคาน้ำมัน(ลดการอุดหนุนราคา)มาแล้ว จนต้องลดราคาลงมาหลังจากขึ้นไปได้ไม่นาน จึงยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าเที่ยวนี้รัฐบาลจะทำไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เรื่องการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลกนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันมากในทุกประเทศ และดูจะเห็นตรงกันว่า ถ้าประเทศใดมีทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานเหลือเฟือ ชนิดที่ว่าใช้กันไปอีกร้อยปีก็ยังไม่หมด และเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงานสุทธิ (ส่งออกมากกว่านำเข้า) […]
ประเทศไทย น้ำมันแพงที่สุดในโลก ปตท โก่งราคาน้ำมัน ปตท กลโกลแปดขั้น และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่เราถกเถียงกันว่าทำไมต้องอ้างอิงราคา น้ำมันตลาดฯสิงคโปร์ด้วย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจคำว่าตลาดกลางคืออะไรครับ ทำไมต้องมีตลาดซื้อขายสินค้ากลางหรือต้องอ้างอิงราคาซื้อขายจากตลาดกลาง สินค้า อุปโภคบริโภค หรือ Commodities นั้น จะมีการแข่งขันสูง และความต้องการสูง เพราะเป็นสินค้าที่คนเราจำเป็นต้องกินต้องใช้กัน หรือเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายกันเป็นประจำ เช่น น้ำมัน สินค้าการเกษตร ข้าว อาหาร ผลไม้ ทองคำ แร่ หรือแม้แต่ หุ้น ก็ต้องมีตลาดกลางในการรองรับการซื้อขาย ราคาที่มาจากตลาดกลางนี้ จะเป็นราคาอ้างอิง หรือบรรทัดฐานในการซื้อขายสินค้าชนิดเดียวกันในภูมิภาคเดียวกันโดยปริยาย ตัวอย่างที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ ผมสมมติว่าทุกกรณีไม่มีค่าเดินทางและค่าขนส่งครับ ตัวอย่างที่ 1: หุ้น ผม ถือใบหุ้นบริษัท A อยู่แล้วมีนาย ก. ต้องการซื้อใบหุ้นนี้ต่อจากผม ผมต้องคิดราคาหุ้นตัวนี้เท่าไร? ผมแน่ใจว่าทุกคนมีคำตอบอยู่แล้ว ราคาที่ที่ทั้งผมและนาย ก. จะตกลงซื้อขายกันได้ ก็ต้องเป็นราคาที่อ้างอิงมาจาก “ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ที่เป็นตลาดการซื้อขายกลางที่มีนักลงทุนเข้ามาซื้อขายเป็นจำนวนมากเป็นการ สะท้อนถึงราคาหุ้นที่แท้จริงตามปัจจัยการลงทุน ณ ปัจจุบันนั่นเอง […]
ไทยส่งออกน้ำมันให้เพื่อนบ้านลิตรละ 24-25 บาท แล้วทำไมคนไทยต้องจ่ายลิตรละ 40 บาท คำถาม ทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง ไทยส่งออกเบนซิน-ดีเซลขายกัมพูชาและลาวลิตรละ 24-25 บาท แล้วทำไมคนไทยต้องจ่ายลิตรละ 40 บาท ความจริง ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ราคาส่งออกเป็นราคาที่ยังไม่รวมภาษี กองทุน และอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งผู้นำเข้าแต่ละประเทศมีนโยบายด้านภาษีและกองทุนต่างกัน การคำนวณราคาขายปลีกจึงต่างกัน ขณะที่ราคาที่จำหน่ายในประเทศที่นำมาเปรียบ เทียบนั้นเป็นราคาขายปลีกซึ่งรวมภาษีและกองทุนต่าง ๆ แล้ว ( ปัจจุบันภาษีและกองทุนที่เรียกเก็บของไทยอยู่ที่ประมาณ 14.80 บาทต่อลิตรสำหรับเบนซิน 91 และ 12 บาทต่อลิตรสำหรับแก๊สโซฮอล์ 95 และ 2.95 บาทต่อลิตรสำหรับน้ำมันดัเซล ณ ราคาวันที่ 19 เม.ย. 2555 ) ฉะนั้น เมื่อรวมภาษีและกองทุนที่แต่ละประเทศเรียกเก็บแล้ว ราคาน้ำมันที่กัมพูชาและลาวไม่ได้ถูกกว่าไทย โดยราคาเบนซินของกัมพูชาและลาวอยู่ที่ 43 บาท ขณะที่พม่าอยู่ที่ 33 บาทต่อลิตรเพราะเก็บภาษีต่ำกว่า ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ในการขนส่งและผลิต ประเทศไทยยังมีราคาต่ำกว่าเพื่อนบ้าน […]
ยังคงมีอีกหลายๆคงที่ยังตั้งข้อสงสัยว่าทำไมราคาน้ำมันเพื่อนบ้านถูกกว่าบ้านเรา เพราะเนื่องจากมาเลเซียขายเชื้อเพลิงถูกกว่าเรา แต่ก็ไม่มีใครไปหาเหตุผลมาบอกได้ว่ามาเลเซียเขาทำอย่างไร มีแต่คนที่ไม่หวังดีต่อประเทศเอาข้อเท็จจริงอันนี้มาโจมตีบริษัท บางบริษัทว่าเอาเปรียบประชาชน และรัฐบาลว่าเก็บภาษีขูดเลือดขูดเนื้อคนไทยราคาเชื้อเพลิงจึงแพงโดยไม่ดูสาเหตุอื่นประกอบเลย ดูแต่เรื่องราคา (อีกแล้ว) จะพาไปดูกันนะว่ามาเลเซียเขาเป็นอย่างไร และทำอะไรถึงทำให้ราคาเชื้อเพลิงถูกและสุดท้ายผู้อ่านก็ตัดสินกันเองละกันว่าอยากให้เมืองไทยเป็นแบบนั้นหรือไม่ หากคุณลองหาข้อมูลจากเวบไซต์ของปิโตรนาสแล้วศึกษาเองจะพบความเป็นจริงดังต่อไปนี้ 1. ปิโตรนาส ซึ่งเป็นของรัฐบาลมาเลเซีย กำไรมากกว่า ปตท อยู่อันดับสูงกว่าในเวทีโลกด้วยซ้ำ 2. งงไหมว่าทำไมเขาขายในประเทศถูก แต่รวยกว่าปตท??? เพราะปิโตรนาสเขาขุดก๊าซ/น้ำมันดิบขึ้นมา แล้วส่งออกน่ะสิ ส่งไปแถบ ญี่ปุ่น เกาหลี และอื่นๆ ขายได้แพงกว่าตั้ง 3-4 เท่าของราคาก๊าซในประเทศไทยนะ 3. อาจมีคนเถียงว่า ได้ยินว่าประเทศไทยเราก็ส่งออกหนิ น่าจะรวย… อย่าลืมว่าไทยเรานำเข้าน้ำมันดิบกว่า80% มากลั่นในประเทศแล้วได้น้ำมันสำเร็จรูป ถ้าเหลือเกินความต้องการในประเทศจึงส่งออก ไทยจึงได้แค่ค่าการกลั่น และปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกนั้นจิ๊บจ้อยมาก แต่ที่มาเลเขาส่งออกนั้น ไม่ได้เป็นกำไรจากค่าการกลั่น มันเป็นกำไรจากธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต ซึ่งรุ้ๆ กันว่า ธุรกิจนี้ High risk High Return (ใครยังไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างธุรกิจสำรวจ ขุดเจาะ และผลิต กับธุรกิจโรงกลั่น […]