ไม่น่าเชื่อว่าในสถานการณ์ ณ วันที่ 14 เมษายน 63 ที่เขียนบทความนี้ ราคาน้ำมันจะถูกกว่าน้ำอัดลมบางยี่ห้อ ก็ยังมีคนบางกลุ่ม (ที่โจมตีเรื่องพลังงานเป็นประจำ) หรือนักการเมืองบางคน (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพื่อชิงพื้นที่ออกสื่อ) พยายามจุดกระแสโจมตีราคาน้ำมันไทยว่าแพง ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่ว่าน้ำมันจะลงเท่าไหร่ ก็จะออกมาโจมตีว่าให้ลงมากกว่านี้อยู่ดี โดยเป้าการโจมตีก็พุ่งตรงไปที่บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศอย่าง ปตท.(ถึงตอนนี้จะกลายเป็นบริษัทลูกอย่าง PTTOR (โออาร์) ทำหน้าที่ในการจำหน่ายน้ำมันแทน ปตท. ไปแล้วก็เถอะ) เพราะคิดกันเองว่า ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันในประเทศ โดย “ตลาด” ที่คนเหล่านี้ใช้อ้างอิงในการโจมตีคือ ตลาด WTI กับ Brent หรือแม้แต่เคยมีคนหัวหมอ ใช้น้ำมันดิบ Dubai ด้วยก็ตาม ซึ่งที่กล่าวมานั้นเป็น “ตลาดน้ำมันดิบ”!!! ก่อนจะไปดูว่าทำไมเราถึงไม่สามารถใช้ 3 ตลาดนี้ในการอ้างอิงราคาได้ เรามาทำความรู้จักของตลาดทั้ง 3 แห่งกันก่อน WTI Crude หรืออีกชื่อหนึ่งคือ West Texas Intermediate เป็น “ตลาดน้ำมันดิบ” ที่สำคัญของอเมริกา น้ำมันดิบ WTI เป็นน้ำมันประเภทเบาและหวาน […]
“ทำไมราคาน้ำมันแพง ทั้งที่ตลาดโลกก็ลดมาเยอะแล้ว” “แต่ก่อนตลาดโลก 60 น้ำมันไทย 30 ตอนนี้ตลาดโลก 20 น้ำมันไทยต้องเหลือ 10 บาทสิ” “สถานการณ์ตลาดโลกลดไปตั้งเยอะ ของไทยลดนิดเดียวเอง” … สารพัดคำบ่นของผู้ใช้น้ำมันที่มีต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่พบเห็นเป็นประจำในคอมเมนต์ปรับลดราคาน้ำมัน (ไม่นับพวกที่บ่นว่าน้ำมันถูก แต่ออกไปไหนไม่ได้) มันบอกอะไรเราได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคนทั่วไปที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาที่น้อยมาก เลยจะขออธิบายสั้นๆ ถึงเหตุผลที่เราไม่สามารถเอาราคาตลาดที่ประกาศกันโครมคราม ตอนรายงานข่าวเศรษฐกิจตอนเช้า มาเทียบกับราคาหน้าปั๊มไทยได้แบบบัญญัติไตรยางค์ (สมมติว่าทุกคนเข้าใจตรงกันว่าราคาตลาดในที่นี้ หมายถึงราคาตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ ไม่ใช่ตลาดน้ำมันดิบอเมริกา (WTI) ที่หลายคนชอบเข้าใจผิดเอาราคาน้ำมันไทยไปเทียบ) ในโครงสร้างราคามีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่น โครงสร้างราคาน้ำมัน หรือราคาขายปลีกหน้าปั๊มที่เราใช้อยู่ มีหลายส่วนที่ประกอบกันกลายเป็นราคาขายปลีกหน้าปั๊ม ซึ่งมันมีมากกว่าแค่ราคา ณ โรงกลั่นที่เราอ้างอิงราคาตลาด ทั้งนี้ในโครงสร้างราคายังประกอบไปด้วย – ภาษี … ทั้งภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล รวมไปถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีสรรพสามิต รัฐจะเป็นผู้กำหนดตายตัว ดังนั้นภาษีส่วนนี้จึงไม่ได้ขึ้นลงตามราคาตลาด เช่นเดียวกับภาษีเทศบาลที่จะเป็นไปตามสัดส่วนของภาษีสรรพสามิต โดยมีเพียงภาษีมูลค่าเพิ่มชนิดเดียวที่มีอัตราส่วนการเก็บเป็นร้อยละ 7 เทียบกับราคา และตัวเลขจะปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน – กองทุนน้ำมัน … […]
ช่วงนี้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทยปรับขึ้นๆ ลงๆ ถี่ๆ ติดกัน อาจทำให้คนใช้รถที่ต้องเติมน้ำมันรู้สึกว่า เหตุใดจึงต้องมีการปรับราคาน้ำมันถี่อะไรขนาดนั้น จากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่หาได้จากทาง สนพ. และ ปตท. จากภาพจะเห็นได้ว่า “ราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกของไทย เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดสิงคโปร์(MOPs)” อีกหนึ่งปัจจัยหลักของการปรับราคาน้ำมัน อีกปัจจัยสำคัญคือ ค่าการตลาดของผู้ขายน้ำมัน จะมีปรับราคาน้ำมันเช่นกัน โดยผู้ค้าน้ำมันทุกเจ้าในตลาด ย้ำว่าทุกเจ้าในตลาด ต้องมีต้นทุนที่ปรับตัวตามต้นทุนที่ซื้อมาขายต่อ โดยถามว่า หากไม่ปรับตัวตามจะส่งผลอย่างไรบ้าง อย่าลืมว่า ค่าการตลาดนั้น เป็นรายได้ของผู้ค้าก็จริง แต่ทั้งนี้ในนั้นประกอบไปด้วย รายจ่ายต่างๆ เช่น ค่าพนักงานเติมน้ำมัน ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าบำรุงระบบสาธารณูปโภค หากของไทยไม่ปรับตัว ผู้ขายจะอยู่ได้อย่างไร ในต่างประเทศ ค่าการตลาด (Marketing Margin, Distribution margin, distribution costs, marketing costs, and profits.. etc แล้วแต่จะเรียก) เป็นรายได้ของทางปั๊มที่เป็นค่าจิปาถะต่างๆ เพื่อให้ปั๊มสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และที่สำคัญ ต่างประเทศเกือบแทบทุกปั๊ม เป็นแบบ Self Service […]
จากสถานการณ์การปรับขึ้นราคาน้ำมันในประเทศที่มีการปรับขึ้นต่อเนื่องในช่วงนี้ (ส.ค.59) ทำให้ ปตท. ตกเป็นเป้าโจมตีของคนในโซเชียลบางกลุ่ม (อีกครั้ง) โดยมองว่า ปตท. มีส่วนสำคัญในการตั้งและปรับขึ้นราคาน้ำมันในประเทศ และการปรับราคาพลังงานทำให้ ปตท. มีกำไรสูงขึ้น เป็นการขูดรีดประชาชน โครงสร้างราคาน้ำมันแบ่งออกเป็น 4 ส่วนย่อย ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษีต่างๆ กองทุนน้ำมัน ค่าการตลาด โครงสร้างการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ได้แก่ ราคาหน้าโรงกลั่น เป็นราคาที่อ้างอิงจากตลาดราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ใกล้ที่สุด (ต้องคิดค่าขนส่งตามระยะจากตลาดกลางนั้นมาที่ประเทศ หากอ้างอิงตลาดที่อยู่ไกล ย่อมเสียค่าขนส่งมาก) ซึ่งในที่นี้คือตลาดน้ำมันสำเร็จรูปสิงคโปร์ เมื่อสิงคโปร์มีการปรับราคา ประเทศไทยก็จะมีการอ้างอิงและปรับตามไม่เกิน 3 วันทำการ ดังนั้นราคาหน้าโรงกลั่นจึงเป็นราคาอ้างอิงที่ไม่สามารถกำหนดเองได้ ภาษีต่างๆ ในส่วนของภาษีนั้น รัฐเป็นผู้กำหนดและดูแล จะเห็นว่าประเทศไทยเสียภาษีน้ำมันค่อนข้างสูง เนื่องจากประเทศไทยจัดประเภทของน้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ดังนั้นภาษีจึงเป็นนโยบายของรัฐ และปตท. ไม่มีสิทธิ์กำหนด กองทุนน้ำมัน เป็นหน้าที่ของ กบง. ในการกำหนดควบคุมการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน โดยจะเห็นว่าปัจจุบัน ราคาน้ำมันบางชนิด ยังมีการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันอยู่เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ เช่นน้ำมันตระกูลเอทานอล E20 และ E85 นอกจากนี้ กองทุนน้ำมันยังมีหน้าที่คอยเป็นกันชนยามที่ราคาน้ำมันเกิดการผันผวน […]
ราคาน้ำมัน ปตท. วันนี้ (บาท/ลิตร) บลู แก๊สโซลีน 29.56 เมื่อวานนี้ 29.06 +เพิ่มขึ้น 50 สตางค์ บลู แก๊สโซฮอล์ 91 22.18 เมื่อวานนี้ 21.68 +เพิ่มขึ้น 50 สตางค์ บลู แก๊สโซฮอล์ 95 22.60 เมื่อวานนี้ 22.10 +เพิ่มขึ้น 50 สตางค์ บลู แก๊สโซฮอล์ E20 20.04 เมื่อวานนี้ 19.54 +เพิ่มขึ้น 50 สตางค์ บลู แก๊สโซฮอล์ E85 17.19 เมื่อวานนี้ 16.89 +เพิ่มขึ้น 30 […]
จับเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ทำไมต้องขึ้นราคา LPG หลังจากที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือน 50 สตางค์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 แต่ “บริษัท ปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ซื้อ LPG ได้ในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้าน” นายไพรินทร์ชี้แจงว่า ก่อนที่จะพูดว่า ปตท. ขายให้ใครถูกหรือแพงต้องเข้าใจก่อน โครงสร้างราคาซื้อ-ขายก๊าซ LPG หลักๆ มี 3 ราคา ดังนี้ 1. ราคาขายหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงกรกฎาคม-มิถุนายน 2556 ปตท. ขาย LPG เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกิโลกรัมละ 10.20 บาท, ขายให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบกิโลกรัมละ 17.30 บาท 2. ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อ กรณีภาคครัวเรือนซื้อที่ราคา 18.10 บาท/กิโลกรัม ภาคขนส่งซื้อที่ราคา 21.40 บาท/กิโลกรัม 3. ภาคปิโตรเคมีซื้อ LPG […]