ช่วงนี้ผมเห็นราคาหุ้นของกลุ่มปตท.มีหลายตัวลงมาเยอะ ผมเลยทำการบ้านด้วยการหาข้อมูลเพื่อที่จะได้ลงทุนยาวๆบ้าง แต่พอหาข้อมูลในกูเกิลตามคำแนะนำของท่านนายกฯที่ว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่หาข้อมูลจะเสิร์ชในกูเกิลก็จะรู้เรื่องทั้งหมด พอผมเสิร์ชแล้วลองอ่านไล่ไปเรื่อยๆ เจอประเด็นที่เป็นจุดกำเนิดของเรื่องดราม่าของหุ้นปตท. ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2540 ที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในบ้านเรา แล้วมีการกู้ยืม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือเราที่เรียกว่า IMF (International Monetary Fund) แล้วในการกู้ยืมเขาก็กำหนดให้เอากิจการในมือรัฐบาลขายออกมาทอดตลาดแล้วให้ต่างชาติมาถือครองได้(เอาเปรียบชัดๆ) แล้วเงื่อนไขหนึ่งก็คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ IMF อ้างว่าเพื่อเป็นทุนนิยมและเพื่อการเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น แม้เจตนาดีอาจจะมีวัตถุประสงค์ลึกๆ แต่ก็เพื่อความเป็นสากลและเพื่อความอยู่รอดตอนนั้น จึงค่อยๆ ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทีละหน่วยงาน ปตท.เองก็ถูกแปรรูปซึ่งเริ่มกระบวนการตั้งแต่ปี 2542 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในขั้นต้น ก่อนที่จะแปรสภาพเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปลายปี 2544 โดยกระทรวงการคลังจะถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 เพื่อคงสภาพความเป็นเจ้าของ โดยก็ต้องออกกฎหมายเฉพาะขึ้นมาอีก(กรณีพิเศษมากมายเลยถูกโจมตีแต่ใส้ในเนื้อหาของแต่ละเรื่องนั้นก็เพื่อส่วนร่วมประเทศชาติและคนในชาติทั้งนั้นนะครับ) ซึ่งรัฐบาลที่เป็นคนเริ่มต้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจคือรัฐบาลสมัยคุณชวน หลีกภัยที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้วเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สมัย คุณทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลายๆ คนมองว่ายุคนั้นเป็นยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นและก็ด้วยตามแผนที่มีก็ต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกซึ่งก็ถูกคัดค้านต้านทานอย่างหนักจากคิวต่อไปอย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แต่เนื่องจากหลายๆ ฝ่ายมองว่าการไฟฟ้าคือความมั่นคงของชาติเพราะทุกครัวเรือนไทยต้องใช้ อีกทั้งยุคสมัยนั้นคุณทักษิณก็ได้ทำการขายหุ้นสื่อสารที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลในกลุ่มธุรกิจของตัวเองให้แก่เทมาเซ็ก ซึ่งเป็นของรัฐบาลสิงคโปร์จึงถูกโจมตีทางการเมืองและเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ทำให้มีการปฏิวัติตามมา อ่านถึงตรงนี้คงสงสัยใช้ไหมครับว่า แล้วคุณทักษิณไปเกี่ยวอะไรกับปตท.ล่ะ ก็เพราะตอนประท้วงนั้นแหละครับฝ่ายที่ต้องการสร้างมวลชนก็หยิบยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นมา สร้างวาทกรรมหลากหลาย ทั้งขายชาติ, […]
ย้อนกลับไปในอดีตในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้แปรสภาพเป็นบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน พร้อมที่จะดำเนินการจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ แต่เกิดปัญหาใหญ่ขึ้นมาเสียก่อน นั้นคือเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11 (ไนน์วันวัน) เป็นการการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐ ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามจากฝั่งตะวันออกกลางอัลกออิดะฮ์จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ โจรจี้เครื่องบินนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าวและไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำ (ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/วินาศกรรม_11_กันยายน) จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นตกทั่วโลก หุ้นไทยที่ตกต่ำสุดขีดหลังวิกฤติอยู่แล้ว และก็ทำท่าว่าจะกระเตื้องเพราะมีข่าว IPO ของหุ้นปตท. แต่ก็กลับตกลงไปอีก […]