จับเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ทำไมต้องขึ้นราคา LPG หลังจากที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นราคา LPG ภาคครัวเรือน 50 สตางค์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2556 แต่ “บริษัท ปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ซื้อ LPG ได้ในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้าน” นายไพรินทร์ชี้แจงว่า ก่อนที่จะพูดว่า ปตท. ขายให้ใครถูกหรือแพงต้องเข้าใจก่อน โครงสร้างราคาซื้อ-ขายก๊าซ LPG หลักๆ มี 3 ราคา ดังนี้ 1. ราคาขายหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ในช่วงกรกฎาคม-มิถุนายน 2556 ปตท. ขาย LPG เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงกิโลกรัมละ 10.20 บาท, ขายให้ภาคปิโตรเคมีใช้เป็นวัตถุดิบกิโลกรัมละ 17.30 บาท 2. ราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคจ่ายเงินซื้อ กรณีภาคครัวเรือนซื้อที่ราคา 18.10 บาท/กิโลกรัม ภาคขนส่งซื้อที่ราคา 21.40 บาท/กิโลกรัม 3. ภาคปิโตรเคมีซื้อ LPG […]
“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” และ “กลุ่มทวงคืน ปตท” ยังมีประเด็นโจมตีรัฐบาลที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือนโยบายก๊าซแอลพีจี ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในประเทศไทยได้มาจาก 3 แหล่งคือโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น)ได้จากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศสาเหตุหนึ่งของราคาน้ำมันแพงในประเทศไทยคือ การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีเช่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 น้ำมันเบนซินมีราคาขายปลีกลิตรละ 45.15 บาท เป็นเงินสมทบกองทุนฯ ถึง 9.70 บาทขณะที่น้ำมันดีเซลต้องจ่ายเข้ากองทุนฯ ลิตรละ 3.40 บาท แก๊ซโซฮอล95 E10 สมทบลิตรละ 3.50 บาทประมาณตัวเลขในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 มีเงินเข้าสมทบกองทุนฯ ทั้งสิ้น 254.58 ล้านบาท โดยได้จากน้ำมันดีเซลมากที่สุดคือ 192.20 ล้านบาทจากน้ำมันเบนซิน 18.62 ล้านบาท น้ำมันก๊าซโซฮอล95 E10 จำนวน 30.42 ล้านบาทและน้ำมันก๊าซโซฮอล91 E10 จำนวน 12.74 ล้านบาทรัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนฯสูงมากเพราะเหตุใด? ผลก็คือประเทศไทยจากที่เคยผลิตก๊าซแอลพีจีเหลือใช้และส่งออกได้ถึงวันละ […]
เรื่องของ LPG นั้น เป็นประเด็นที่ผู้ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา บ้างก็บอกว่าปตท. ขึ้นโรงแยกก๊าซฯ ช้า ผลิต LPG ไม่ทันใช้ บ้างก็ว่าภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี จนเป็นต้นเหตุทำให้มีใช้ไม่เพียงพอ บ้างก็ว่าให้ไปเก็บเงินที่นำเข้ามาจากพวกอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี LPG ส่วนคนใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ไม่ต้องจ่ายอะไร ฯลฯ ส่วนทางฝั่งผู้ผลิตและรัฐบาลก็พยายามจะขึ้นราคา และลดปริมาณการใช้ LPG ในรถยนต์ เช่น นโยบายที่ให้ Taxi เปลี่ยนมาใช้ NGV จึงทำให้เกิดประเด็นว่า LPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่???? เหล่านี้เป็นประเด็นที่หลายคนขาดความเข้าใจ และใช้หลักการที่ว่า “เราถูกเสมอ คนอื่นแหละผิด” มาโดยตลอด ก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรอยากขอให้ย้อนดูสักนิดว่าอะไรเป็นอะไร และสิ่งที่พูดกันนั้นมันมาจากความรู้สึกหรือความจริงต้องแยกให้ออก มิฉะนั้นแล้วบอกได้คำเดียวว่าประเทศชาติจะพัง!!!! คงเคยได้ยินกันว่า “หนึ่งนิ้ว ชี้ด่าคนอื่น สามนิ้วเนี่ยแหละที่ชี้ด่าตัวเองอยู่” สำหรับคนที่ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์แล้วออกมาโทษกลุ่มปิโตรเคมีว่าใช้เยอะมาแย่งประชาชนเนี่ย บอกได้เลยว่าหนึ่งนิ้วที่คุณใช้ชี้ด่าปิโตรเคมีเนี่ย จริงๆ แล้วคุณกำลังด่าตัวเองอยู่!!!! อยากให้ทุกคนลองมองตั้งแต่หัวจรดเท้า แล้วค่อยๆ มองออกไปรอบๆ ตัวเรา […]
ปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลน LPG!!!! สาเหตุจากปริมาณการใช้ LPG ของภาคครัวเรือน ภาคขนส่งภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการควบคุมราคา LPG ไว้ต่ำกว่าราคาตลาดโลกและต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นเป็นระยะเวลานานมากว่า 30 ปี เป็นภาระต่อกองทุนน้ำมันจำนวนนับหลายแสนล้านบาท แต่อย่างไรก็ตามหลายๆ คนก็ยังตั้งประเด็นสงสัยในเรื่องของLPG ชี้เอื้อกลุ่มปิโตรเคมีจริงหรือไม่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2523 ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้มีการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และก่อประโยชน์ได้มากกว่าการนำก๊าซธรรมชาติที่มีคุณค่าไปเผาเป็นเชื้อเพลิง โดยที่ราคาจำหน่ายก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบให้ภาคปิโตรเคมีเป็นไปตาม กลไกตลาด ไม่เคยได้รับการอุดหนุนหรือชดเชยจากภาครัฐนับตั้งแต่อดีต หลักการคำนวณราคาก๊าซฯ และค่าผ่านท่อนั้นได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและได้เผยแพร่เป็นประกาศโดย กพช. ใน Website สนพ. ตั้งแต่ 2544 รวมทั้งประกาศดังกล่าวได้แนบไว้ในหนังสือชี้ชวนขายหุ้นสามัญ ปตท เพื่อให้นักลงทุนทราบ ดังนั้นไม่มีการรวบรัดจัดทำคู่มือการคำนวณดังกล่าวตามที่กล่าวอ้าง โดยคู่มือเป็นเพียงการระบุให้ลดผลตอบแทนการลงทุนจาก 16% เป็น 12.5% ตามมติคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ค่าผ่านท่อใหม่ปรับลดลงเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งคู่มือมีการเผยแพร่ใน Website เช่นกัน ไม่มีการปิดบังแต่ประการใด ปัญหาราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) นับเป็นปัญหาที่รอการแก้ไขมานานของรัฐบาลชุดต่างๆ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ในปี 2534 รัฐบาลสมัยคุณอานันท์ ปันยารชุน ได้ประกาศยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันทุกชนิดให้ลอยตัวตามตลาดโลก […]