ความจริงมั่วยกแผง ปตท ทรราชน้ำมัน สะท้อนเจตนานักทวงคืน
เครือข่ายนักทวงคืนรับลูกความมั่วกันยกแผง สะท้อนทั้งความรู้และเจตนาของคนจำพวกนี้ได้ดีมากทีเดียว
EIA ทำรายงานวิเคราะห์ทรัพยากร Shale Gas/Oil ของประเทศต่างๆออกมา หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ในรายงานระบุว่า ประเทศไทยมี “significant prospective shale gas and shale oil potential” นักทวงคืนไม่รู้ได้อ่านจบหรือเปล่าก็รีบไปปล่อยไก่ “ประเทศไทยเรามีทรัพยากรอร่ามอาบเอิบแล้วเจ้าข้าเอ๊ย ปตทมันปล้นชาติอีกแล้ว” เพจในเครือข่ายรวมถึงเพจหม่อมคนเก่งของเราก็รับลูกเอาไปขยายต่อว่าปตท ปล้นชาติกันเป็นเรื่องเป็นราว แอดมินอ่านแล้วก็ทั้งขำทั้งสมเพชทั้งสงสัย (อร่ามอาบเอิบ55555) สรุปว่าคนพวกนี้มีความรู้มากแค่ไหน หรือรู้แต่มีเจตนาบิดเบือนปลุกปั่นหลอกลวงสาวกของตัวเอง?
ประการแรก ทรัพยากรปิโตรเลียมที่ EIA นำเสนอคือ Shale Gas/Oil ซึ่งเป็นปิโตรเลียมที่ถูกกักอยู่ในชั้นหินดินดาน จะแตกต่างไปจากก๊าซ-น้ำมันที่ผลิตกันอยู่ทุกวันนี้ซึ่งเรียกว่า Conventional Resource
ประการที่สอง ถ้าได้อ่านในรายงานจริงๆจะพบว่า ข้อสรุปในรายงานเป็นการนำเสนอข้อมูลปริมาณปิโตรเลียมประเภทนี้ที่คาดว่าจะพบ (Prospective) โดยพิจารณาคาดการณ์จากข้อมูลทางธรณีวิทยาต่างๆ เช่น ความลึก ความหนา ลักษณะชั้นหิน ค่าความร้อน อายุของ และลักษณะทางธรณีวิทยาอื่นๆ จากนั้นจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปเทียบเคียง (analogy) กับแหล่งทรัพยากรที่พบในพื้นที่อื่นและมีการผลิตแล้ว จากนั้นจึงสรุปเป็นตัวเลขออกมาว่าในแหล่งหนึ่งๆ “น่าจะ” พบ Shale Gas/Oil เท่าไหร่ ดังนั้นต้องเข้าใจว่านี่เป็นการคาดการณ์ ไม่ใช่ตัวเลขที่แน่นอน ยังไม่มีการขุดสำรวจอย่างจริงจัง จึงไม่ใช่ตัวเลขที่พบจริง
ประการที่สาม ในรายงานนี้ก็ระบุไว้ชัดเจนว่า ปริมาณที่นำเสนอในที่นี้เป็นปริมาณที่คาดว่าจะผลิตได้ภายใต้เทคโนโลยีปัจจุบันเท่านั้น (technically recoverable resource) ไม่ได้บ่งถึงปริมาณที่จะผลิตได้คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ (economically recoverable resource) อย่าลืมว่าการผลิตปิโตรเลียมในบางแหล่งอาจมีต้นทุนสูงจนไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ตัวเลขที่ดูเหมือนมากนั้นถ้าสำรวจจริงๆก็ไม่แน่ว่าจะเป็นปริมาณที่คุ้มค่าจะขุดเจาะขึ้นมาหรือไม่ ดังนั้นปริมาณที่ถูกระบุในรายงานนี้จึงยังห่างไกลจากคำว่าปริมาณสำรองที่ประเทศไทยมีมากมายนัก
ประการที่สี่ ดังได้กล่าวแล้วว่า Shale Gas/Oil ต่างไปจากปิโตรเลียมที่ผลิตแบบ Conventional การผลิตปิโตรเลียมจากหิน Shale จะต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ร่วมกับ Horizontal Drilling ซึ่งเทคนิคนี้เพิ่งจะถูกพัฒนาให้มีความคุ้มค่าในการผลิตเชิงพาณิชย์ไม่กี่ปีมานี้ โดยมีเพียงแคนาดากับอเมริกาเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างในการผลิต Shale Gas ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้แต่อย่างใด และยังไม่มีการสำรวจและผลิตShale Gas/Oil เลย สรุปได้ว่าประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีในการผลิตปิโตรเลียมชนิดนี้ในเชิงพาณิชย์ (แล้วจะทำไงถ้าจะผลิตจริง ก็ต้องต้องให้สัมปทานแก่บ.ที่มีเทคโนโลยีไง)
ประการที่ห้า เทคนิคในการผลิต Shale Gas/Oil นั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่มาก ทำให้ในยุโรปก็ห้ามใช้เทคนิค Hydraulic Fracturing ในการผลิตไปแล้ว ดังนั้นการจะพูดถึงการผลิตปิโตรเลียมจากหิน Shale ในไทยก็ต้องคำนึงถึงจุดนี้ด้วย
จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า ตัวเลขปริมาณที่ว่า “อร่ามอาบเอิบ” นั้นเป็นเพียงประมาณการณ์ สำรวจกันแล้วจะพบจริงหรือไม่ก็ไม่มีใครรู้ และถึงพบแล้วจะคุ้มกับการต้นทุนที่ต้องเสียไปหรือไม่ก็ไม่มีใครรู้อีกเช่นกัน การที่เครือข่ายนักทวงคืนรวมไปถึงหม่อมคนเก่งออกมาดี๊ด๊ากับรายงานฉบับนี้จึงสะท้อนทั้งความไม่รู้ประสีประสาและเจตนาที่บิดเบือนของคนกลุ่มนี้ได้อย่างดี
ติดตามอ่านบทความดีๆได้ที่ https://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/