“ปตท. ขายสมบัติชาติ” วาทกรรมน่าเบื่อของกลุ่มที่โจมตีพลังงาน
“ปตท. ขายสมบัติชาติ” วาทกรรมน่าเบื่อของกลุ่มที่โจมตีพลังงาน
เห็นอะไรจากภาพ ๆ นี้ …
คงจะด่วนสรุปเกินไป หากจะกล่าวว่าการที่ ปตท. สามารถสร้างรายได้นำส่งรัฐอันดับ 1 รัฐวิสาหกิจ และรายได้รวมตั้งแต่การแปรรูปถึง 8.8 แสนล้าน มาจากการแปรรูป ปตท. ในปี 2544 หรือที่กลุ่มที่โจมตีเรื่องพลังงาน ชอบสร้างวาทกรรมว่าเป็นการขายสมบัติชาติ แต่คงปฎิเสธไม่ได้การระดมทุนเพื่อสร้างสภาพคล่องในครั้งนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ปตท. สามารถยืนฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ และออกดอกออกผลคืนให้รัฐในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ได้อย่างในปัจจุบัน
แม้การแปรรูปครั้งนั้น จะผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ประเด็นการแปรรูป ก็ยังถูกโจมตีว่าเป็นการขายสมบัติชาติอยู่ในโซเชียลเป็นระยะ พร้อมความพยายามในทวงคืนให้ ปตท. กลับมาเป็นของรัฐ ทั้งจากกลุ่ม NGO พลังงาน หรือกลุ่มทางการเมืองที่ใช้เรื่องนี้เป็นนโยบายหาเสียง
มันไม่มีคำตอบที่ตายตัวหากจะถามว่า ปตท. อยู่ในมือใครจะมีประโยชน์ต่อประเทศมากกว่ากัน ฝ่ายหนึ่งอาจจะมองว่า การที่ ปตท. เป็นของรัฐก็ไม่ต่างกับการทำงานภายใต้คณะบริหาร นั่นก็คือ นักการเมือง ดังนั้นสู้ให้ ปตท. อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ดำเนินกิจการในนามบริษัทที่มีองค์กรต่าง ๆ คอยตรวจสอบน่าจะดีกว่า แต่อีกฝ่ายอาจมองว่าการที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั่นหมายความว่า ปตท. ย่อมต้องดำเนินกิจการเพื่อนแสวงหากำไร โดยอาจลืมนึกไปว่าตลอดระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมา พันธกิจในการจัดหาเสถียรภาพทางพลังงานก็ยังคงอยู่ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ประเทศไทยไม่เคยประสบปัญหาขาดแคลนด้านพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่ LPG
18 ปีที่ผ่านมามันไกลเกินกว่าที่เราจะมานั่งใช้ วาทกรรมเก่า ๆ ว่าเป็นการขายสมบัติชาติ หรือแม้แต่กี่การพยายามทวงให้หุ้นที่มีการแปรรูปไปกลับมาเป็นของรัฐแบบ 100% เพราะมันคงทำไม่ได้ในทางกฎหมาย และมันคงกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนจนมีผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศอย่างที่เวเนซูเอล่าประสพอยู่ แต่เรื่องเสถียรภาพทางพลังงาน และปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานต่างหากที่เป็นเรื่องสำคัญและเราต้องช่วยกันในเวลานี้
พูดถึงเรื่องเสถียรภาพทางพลังงานจะเห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศเรามีพลังงานใช้อย่างไม่ขาดแคลน ส่วนหนึ่งก็มาจากความคล่องตัวขององค์กรที่สามารถลงทุนในประเทศต่าง ๆ ทำให้เข้าถึงทรัพยากรในประเทศนั้นได้มากขึ้น รายได้ที่มาจากการลงทุนก็จ่ายเป็นภาษี จ่ายเป็นเงินปันผลสู้รัฐในการพัฒนาประเทศ ไม่ต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนจากรัฐเฉกเช่นแต่ก่อน การสร้างงานจากการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งก๊าซ น้ำมัน ปิโตรเคมี หรือแม้แต่กาแฟ กับสุดท้ายแล้วเรื่องราคาพลังงานที่ไม่ได้มาจากการแปรรูป แต่มาจากโครงสร้างราคาของภาครัฐที่กำหนดจากนโยบายทางพลังงานของภาครัฐเป็นหลัก ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานทดแทน คุณภาพน้ำมัน หรือแม้แต่พลังงานสะอาดต่างก็ต้องใช้งบประมาณในการผลักดันทังสิ้น เช่นการอุดหนุนราคา B20 ของทางภาครัฐ ที่นอกจากจะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม ยังเป็นการช่วยปัญหาปาล์มล้นตลาดให้กับพี่น้องชาวสวนปาล์มด้วย เห็นหรือไม่ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องทำและให้ความสำคัญมากกว่าการมานั่งเถียงกันอย่างไร้ประโยชน์เรื่องการขายสมบัติชาติ
ดังนั้นวาทกรรมเรื่องการขาย ปตท. ขายสมบัติชาติ คงไม่ต่างจากวาทกรรมปาหี่ของคนบางกลุ่มที่พยายามลากเรื่องอดีตมาพูดเพื่อนัยยะการเมืองของฝั่งตน โดยไม่เคยมองว่าประเทศได้ประโยชน์อะไรมากมายจากการแปรรูปครัง้นั้น และไม่ได้ให้ความสำคัญกับทิศทางของพลังงานในอนาคต