เงินเดือนผู้บริหาร ปตท.รู้แล้วจะอึ้ง
เงินเดือนผู้บริหาร ปตท.
น่าแปลกใจที่ในสถานการณ์ด้านพลังงานค่อนข้างมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ (ประชาชนหลายท่าน มักรู้สึกว่าแพงเกินไป โดยปราศจากความเข้าใจพื้นฐานโครงสร้างพลังงาน) แทนที่จะช่วยกันทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างราคาพลังงาน รวมถึงการรณรงค์ให้ประหยัดพลังงานเพื่อลดการนำเข้า แต่มีกลุ่มคนบ้างกลุ่ม อาศัยความรู้สึกทางสังคมที่เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในรายได้ ตั้งเป้าโจมตีว่าเงินเดือนผู้บริหารใน บ.พลังงาน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาพลังงานแพง
โดยข้อมูลที่หยิบยกมานั้น จะเป็นข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือรายงานประจำปี ซึ่งไม่ระบุเป็นรายบุคคล แต่เป็นรายจ่ายเงินเดือนรวม เนื่องจากเงินเดือนถือเป็นความลับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง จึงมักมีการนำตัวเลขรายได้ทั้งหมดมาหารค่าเฉลี่ยเป็นเงินเดือน ซึ่งอันที่จริงเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะในเงินก้อนนั้นๆ ยังรวมถึงโบนัส ค่าเบี้ยประชุมต่างๆ จึงทำให้ตัวเลขที่ยกมานั้น ดูเป็นตัวเลขเงินเดือนที่สูงมาก และมักนำไปเปรียบกับตำแหน่งระดับสูงๆ จากภาครัฐ เช่น นายกรัฐมนตรี ยิ่งสร้างความเข้าใจผิดในกลุ่มคนที่อาศัยโลกโซเชียล ที่ขาดสติในการบอกและแชร์ต่อความจริง
คำถามคือ เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. นั้น สูงตามที่กล่าวหาจริงหรือ คำตอบคือไม่ได้สูงดังคำกล่าวอ้าง เพราะตัวเลขดังกล่าวเป็นการรวมทั้งปี แถมยังเอาโบนัส และเบี้ยประชุมมารวมเข้าไป อย่างไรก็ตาม เงินเดือนผู้บริหาร ปตท. รวมไปถึง กลุ่มผู้บริหารในบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะบริษัทชั้นนำต่างๆ ได้มีการกำหนดรายละเอียดค่าตอบแทนเงินเดือนตามความสามารถและความรับผิดชอบ และไม่ใช่เพียงเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. เท่านั้น แต่ธุรกิจด้านอื่นๆ เช่น ธุรกิจการบิน โทรคมนาคม โรงพยาบาล การเงิน ความงาม ล้วนมีรายได้ระดับสูงทั้งสิ้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า สาเหตุใด เงินเดือนผู้บริหาร ปตท จึงได้มีเงินเดือนสูงตามที่กล่าวอ้างถึง อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่อยากรู้ว่าระบบเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. คิดอย่างไร เราได้นำข้อมูลมาเสนอให้ได้อ่านกันดังนี้
“ปตท. ได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล มีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนทำหน้าที่ทบทวน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาระความรับผิดชอบของกรรมการ สถานะทางการเงินของบริษัทและเปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจระดับเดียวกัน โดยกำหนดค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมและโบนัส อนึ่ง กรรมการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการเฉพาะเรื่องชุดอื่นๆ ก็ให้ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มตามความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ค่าตอบแทนกรรมการได้รับการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว ดังนี้
ค่าตอบแทนกรรมการ
• ค่าตอบแทนกรรมการ
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2557 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2557 มีมติอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการ แยกเป็นดังนี้
1. ค่าเบี้ยประชุม
1.1 เบี้ยประชุมคณะกรรมการ ปตท. ประกอบด้วย
• เบี้ยกรรมการรายเดือน เดือนละ 30,000 บาท (เท่ากับอัตราเดิม)
• เบี้ยประชุม เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม ครั้งละ 50,000 บาท (เท่ากับอัตราเดิม) โดยจำกัดการจ่ายเบี้ยประชุม ไม่เกินปีละ 15 ครั้ง
1.2 เบี้ยประชุมคณะกรรมการอื่น ที่คณะกรรมการ ปตท. แต่งตั้ง ได้แก่
1.2.1 คณะกรรมการตรวจสอบ
• เบี้ยกรรมการรายเดือน เดือนละ 15,000 บาท
• เบี้ยประชุมครั้งละ 15,000 บาท (เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม) และเลขานุการฯ ได้รับเบี้ยประชุมเดือนละ 7,500 บาท
1.2.2 สำหรับคณะกรรมการอื่น อีก 3 คณะ คือ คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี กำหนดเบี้ยประชุมครั้งละ 24,000 บาท (เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม)
1.2.3 สำหรับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์กร ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่เมื่อปี2556 และคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ที่อาจมีการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัทตามความจำเป็นและเหมาะสมในอนาคต กำหนดเบี้ยประชุม ครั้งละ 24,000 บาท เฉพาะกรรมการที่เข้าประชุม
1.3 ประธานกรรมการของทุกคณะฯ ให้ได้รับสูงกว่ากรรมการ ในอัตราร้อยละ 25
• เงินโบนัสกรรมการ ปตท. ประจำปี 2557
กำหนดค่าตอบแทนที่เป็นเงินโบนัสให้สะท้อนและเชื่อมโยงกับผลประกอบการหรือกำไรสุทธิของ ปตท. ในอัตราเท่ากับร้อยละ 0.05 ของกำไรสุทธิประจำปี 2557 แต่กำหนดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3,000,000 บาทต่อคนต่อปี (เท่ากับอัตราเดิม) และให้คำนวณจ่ายตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่งและประธานกรรมการ ปตท. ได้รับสูงกว่ากรรมการฯ ในอัตราร้อยละ 25
• ค่าตอบแทนผู้บริหาร
ค่าตอบแทนผู้บริหารเป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่กรรมการ ปตท. กำหนด ซึ่งเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของ ปตท. ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (Performance Agreement: PA) กำหนดโดยกระทรวงการคลังซึ่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารทุกระดับร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดและตั้งค่าเป้าหมาย (Key Performance Indicators: KPIs) ไว้แต่ละปี เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจและนำไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารทุกระดับ โดยคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณากำหนดค่าตอบแทนให้สะท้อนถึงผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ตลอดจนแนวปฏิบัติและมาตรฐานของกลุ่มธุรกิจชั้นนำประเภทเดียวกัน พร้อมทั้งนำเสนอหลักการและจำนวนค่าตอบแทนที่เหมาะสมต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและอนุมัติ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารของ ปตท. ตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) (เนื่องจาก ปตท. มีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 จึงมีผลให้จำนวนผู้บริหารตามคำจำกัดความของสำนักงาน ก.ล.ต. ก่อนการปรับโครงสร้าง คือ 1 มกราคม – 30 เมษายน 2557 มีจำนวน 10 ท่าน ในขณะที่ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป มีจำนวน 5 ท่าน) และไม่รวมผู้บริหารระดับสูงที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น ที่มาปฏิบัติงานที่ ปตท. ได้รับค่าตอบแทน จาก ปตท. ตามรายละเอียด ดังนี้
”สุดท้าย สำหรับใครที่ยังคงคิดว่าเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันแพง ลองพิจารณาตรรกะนี้กันสักนิด “คนไทยใช้น้ำมันวันละ 90 ล้านลิตร คิดเป็นสูตร 1 เดือน 90 x 30 เท่ากับ 2,700 ล้านลิตรต่อเดือน ดังนั้น ถ้าจะให้ราคาน้ำมันลดลง 0.01 บาทต่อลิตร ต้องใช้เงินจำนวน 27 ล้านบาท จากตัวข้างต้น ลองคิดง่ายๆ ถ้าเงินเดือนผู้บริหาร ปตท. กับ พนง. ไม่รับเงินเดือน จำนวน 27 ล้านบาทต่อเดือน เอาเงินส่วนนั้นมาลดค่าน้ำมัน ราคาจะลดลง 0.01 บาทต่อลิตร (แล้วเป็นการเอาเปรียบหรือไม่ที่ให้พวกเขาทำงานฟรี เพื่อให้เราได้ใช้น้ำมันถูกลง) ในทางกลับกันถ้าเพิ่มเงินเดือนผู้บริหาร ปตท อีก 27 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้นเพียง 0.01 บาทต่อลิตรเท่านั้น”
เครดิตข้อมูล : “รายงานประจำปี 2557 ปตท.”
น้องปอสาม www.facebook.com/nongposamm