มาเข้าใจกันก่อนว่า ฐานราก คืออะไร? ฐานราก คือ โครงสร้างทางวิศวกรรมที่รับน้ำหนักจากสิ่งปลูกสร้างต่างๆ แล้วถ่ายน้ำหนักนั้นลงสู่ชั้นดิน ซึ่งสามารถสร้างได้หลายแบบ ขึ้นกับลักษณะสิ่งปลูกสร้าง และลักษณะของดินบริเวณนั้น ทั้งนี้ ฐานรากโดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ ฐานรากแบบลึก : คือ ฐานรากเสาเข็ม จะใช้เมื่อเนื้อดินอ่อนเกินไปจนไม่สามารถรับน้ำหนักโครงสร้างได้ ซึ่งการออกแบบฐานรากประเภทนี้ จะใช้เมื่อชั้นดินคุณภาพดีอยู่ระดับความลึกที่ประมาณ 3-10 เมตร ฐานรากแบบตื้น : คือ ฐานรากแบบแผ่ จะใช้เมื่อเนื้อดินแน่นแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักบรรทุกได้ดี และมีการทรุดตัวไม่มากกว่าข้อกำหนดทางวิศวกรรม จึงไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็ม ซึ่งการออกแบบฐานรากประเภทนี้ จะใช้เมื่อชั้นดินคุณภาพดีอยู่ระดับ 2-3 เมตร ดังนั้น การที่ไม่ใช้เสาเข็ม ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีฐานราก แม้เสาเข็มเป็นฐานรากแบบลึก ที่อาจให้ความรู้สึกปลอดภัยมากกว่าก็ตาม…. แต่เราไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มในทุกกรณีเสมอไป เราเข้าใจกันไปเองว่า เวลาจะก่อสร้างสิ่งใด ต้องตอกเสาเข็มเสมอ มั่นใจได้อย่างไร ฐานรากแบบแผ่เหมาะกับโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 6 ? ดินแข็งแรง รากฐานแข็งแรง เริ่มจากดำเนินการสำรวจพื้นที่ในโครงการ โดยเก็บตัวอย่างดินตลอดความลึก 20-30 […]