ในช่วงเวลานี้ มีกลุ่มที่เราเรียกว่า กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย หรือ กลุ่มทวงคืน ปตท. นั้น ได้มีความพยายามสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจกันผิดๆว่า “ปตท ทรราชน้ำมันและเรายังมีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติมหาศาล สามารถผลิตได้มากกว่ากลุ่มประเทศ OPEC บางประเทศเสียอีก” โดยบอกเป็นนัยๆว่า กลุ่มประเทศ OPEC นั้นเป็นประเทศส่งออกปิโตรเลียมรายใหญ่ ประชาชนจึงคล้อยตามกันว่า จริงๆประเทศไทยนั้นมีปิโตรเลียมมหาศาลจริงๆ ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจกันให้ถ่องแท้ว่า ประเทศกลุ่ม OPEC ที่ว่านั้นคือใครกันแน่? OPEC ย่อมาจาก Organization of the Petroleum Exporting Countries ถ้าแปลตรงตัวก็แปลว่า องค์การประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม แต่โดยพฤตินัยแล้ว หมายถึงประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบนะครับ เพราะประเทศยักษ์ใหญ่แห่งก๊าซธรรมชาติอย่างรัสเซียที่มีปริมาณสำรองและการส่งออกก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลกนั้น ก็ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ OPEC นะครับ จึงต้องเรียกกลุ่ม OPEC ว่าเป็น “องค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก” โดยปริยาย ถ้ามีใครไปเปรียบเทียบการผลิตก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยหรือบอกว่า ปตท ทรราชน้ำมันกับพวกกลุ่มประเทศ OPEC อย่างเช่น เอกวาดอร์ คูเวต อังโกลา อิรัก หรือ ลิเบีย เป็นต้น แล้วบอกว่าเราผลิตมากกว่าเค้าอย่างนี้อย่างนั้น ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่มีปิโตรเลียมมหาศาล!!! อย่าไปหลงเชื่อนะครับ ว่าประเทศไทยมีปิโตรเลียมมหาศาลเทียบเท่าประเทศกลุ่ม OPEC เพราะประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศนำเข้าทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบนะครับ เนื่องจากเรามีการบริโภคที่มากกว่าที่ผลิตได้นั่นเอง และกลุ่มประเทศ OPEC เค้าไม่เน้นผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติ เค้าเน้นการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบครับ ผมจะเล่าประวัติศาสตร์อย่างย่อสุดๆของกลุ่มประเทศ OPEC ดังนี้นะครับ ประเทศกลุ่ม OPEC ได้ก่อตั้งจากการประชุมที่กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 11-14 กันยายน […]
“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” และ “กลุ่มทวงคืน ปตท” ยังมีประเด็นโจมตีรัฐบาลที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือนโยบายก๊าซแอลพีจี ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในประเทศไทยได้มาจาก 3 แหล่งคือโรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น)ได้จากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซของ ปตท และได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศสาเหตุหนึ่งของราคาน้ำมันแพงในประเทศไทยคือ การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้อุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจีเช่น ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556 น้ำมันเบนซินมีราคาขายปลีกลิตรละ 45.15 บาท เป็นเงินสมทบกองทุนฯ ถึง 9.70 บาทขณะที่น้ำมันดีเซลต้องจ่ายเข้ากองทุนฯ ลิตรละ 3.40 บาท แก๊ซโซฮอล95 E10 สมทบลิตรละ 3.50 บาทประมาณตัวเลขในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 มีเงินเข้าสมทบกองทุนฯ ทั้งสิ้น 254.58 ล้านบาท โดยได้จากน้ำมันดีเซลมากที่สุดคือ 192.20 ล้านบาทจากน้ำมันเบนซิน 18.62 ล้านบาท น้ำมันก๊าซโซฮอล95 E10 จำนวน 30.42 ล้านบาทและน้ำมันก๊าซโซฮอล91 E10 จำนวน 12.74 ล้านบาทรัฐบาลจัดเก็บเงินสมทบกองทุนฯสูงมากเพราะเหตุใด? ผลก็คือประเทศไทยจากที่เคยผลิตก๊าซแอลพีจีเหลือใช้และส่งออกได้ถึงวันละ […]
“กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” สร้างนิทานเรื่อง “ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน” และเรื่อง “สัญญาสัมปทานขายชาติ” ก็เพื่อลากไปสู่ประเด็นโจมตีหลักคือ ราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันเบนซิน ที่คนพวกนี้อ้างว่า มีราคาแพงในอันดับต้น ๆ ของโลก ในปี 2555 ประเทศไทยกลั่นน้ำมันดิบนำเข้าและน้ำมันดิบ (รวมคอนเดนเสท) ที่ผลิตในประเทศ ออกมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูป ประกอบด้วยผลผลิตหลัก เช่น ก๊าซแอลพีจี เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน เป็นต้น รวม 988,964 บาร์เรลต่อวัน แต่ในปีเดียวกัน ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นจำนวน 767,612 บาร์เรลต่อวัน จึงมีเหลือส่งออกไปต่างประเทศจำนวน 199,304 บาร์เรลต่อวัน นัยหนึ่ง ประเทศไทยบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณที่กลั่นได้ ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 จึงต้องส่งออก “กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย” โจมตีอีกว่า โรงกลั่นน้ำมันได้กำไรมหาศาลจากการที่ปตท ปล้นทรัพยากรไทยเอาไปขายน้ำมันสำเร็จรูปในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปี 2555 สูงถึง 270,000 ล้านบาท สูงกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวไทยที่ […]
เร็วๆนี้ได้อ่านบทความดีๆจาก http://pichitlk.blogspot.com/2013/03/blog-post_29.html#more ที่กล่าวถึงเรื่องพลังงานไทยในมุมมองที่ต่างออกไป จึงขอหยิบยกมากล่าวสักตอน ขบวนการ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีจุดประสงค์ที่แท้จริงทางการเมืองคือ อาศัยความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาน้ำมันแพง มาปลุกระดมความไม่พอใจ โดยพุ่งเป้าไปที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรัฐบาล โดยอ้างว่า เบื้องหลังการชำแหละ ปตท.ก็คือ “กลุ่มผลประโยชน์” ที่เข้ามาควบคุม ปตท.ด้วยการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน แล้วเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2544 คนพวกนี้จึงเรียกร้องให้ “ทวงคืน ปตท.” ซึ่งก็คือ ถอน ปตท.ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ยกเลิกหุ้น ปตท. และหวนคืนสู่การเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปดังเดิม นิยายพลังงานไทยที่คนพวกนี้ผูกเรื่องขึ้นมาโดยคร่าวๆ คือ ประเทศไทยเป็นเศรษฐีพลังงาน มีทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบปริมาณมหาศาล แต่คนไทยกลับต้องใช้น้ำมันราคาแพงเพราะมีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาฮุบทรัพยากร เริ่มตั้งแต่สมคบกับบริษัทขุดเจาะต่างชาติที่ได้สัมปทานแบ่งส่วนผลประโยชน์ให้รัฐไทยน้อยมาก แอบส่งออกน้ำมันดิบไทยไปขายในตลาดโลก แล้วนำเข้าน้ำมันดิบราคาแพงจากตะวันออกกลางเข้ามากลั่น บวกต้นทุนเทียมและตั้งราคาหน้าโรงกลั่นเพื่อกินกำไรส่วนต่าง จัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยมีราคาขายปลีกแพงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก! คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการปกปิดบิดเบือนข้อมูลโดยหน่วยราชการไทยที่เกี่ยวข้อง และหันไปอ้างแหล่งข้อมูลต่างประเทศที่ดูขลังน่าเชื่อถือแทน เช่น การสารสนเทศพลังงานของสหรัฐอเมริกา หรืออีไอเอ เป็นต้น อ้างไปถึงว่า เป็นข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐหรือซีไอเอก็มี ทั้งที่ถ้าลงมือตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ก็จะพบว่า ข้อมูลพลังงานไทยจากแหล่งข้อมูลต่างประเทศ เช่น […]
ในช่วงระยะสองปีมานี้ ขบวนการโจมตีรัฐบาลและบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ในประเด็นราคาน้ำมันแพง ได้ขยายตัวขึ้นจนเป็นประเด็นถกเถียงทั่วไปว่าพลังงานไทย พลังงานใครทำไมบ้านเราราคาน้ำมันถึงแพง ทำไมต้องอิงราคาตลาดสิงคโปร์จนเกิดเป็นเครือข่ายกลุ่ม “ทวงคืน ปตท” หรือ “ทวงคืนพลังงานไทย” มีผู้คนเข้าร่วมบนสื่อออนไลน์หลายพันคนแม้แต่คนเสื้อแดงส่วนหนึ่งก็ได้เข้าร่วมด้วย ขบวนการ “ทวงคืน” ดังกล่าว มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ริเริ่มโดยนักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภาเริ่มแรกมุ่งโจมตีนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยรักไทยโดยรวมและเน้นไปที่การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2544 ในเวลานั้น คนพวกนี้กล่าวหาว่า มีการแจกจ่ายหุ้นปตท.ในหมู่นักการเมืองพรรคไทยรักไทยและเครือญาติ ชูป้าย “ทวงคืนสมบัติชาติ” ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ในกรณีของ ปตท.ก็ได้ไปฟ้องเป็นคดีในศาลปกครอง ให้ยกเลิกการแปลงสภาพ ปตท.ซึ่งยืดเยื้อมาถึงปี 2550 เมื่อเกิดกรณีการจดทะเบียนมรดกโลกของปราสาทพระวิหารในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน กลุ่มสันติอโศก พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนักการเมืองสว.กลุ่มเผด็จการก็รวมตัวกันเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย”ฉวยใช้กรณีปราสาทพระวิหารปลุกกระแสคลั่งชาติเพื่อโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชนเรียกร้องให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ปี 2543 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา การเคลื่อนไหว “ทวงคืนแผ่นดินไทย” ได้ขยายประเด็นปราสาทพระวิหารไปสู่พื้นที่ทับซ้อนอื่นๆตลอดแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา แล้วเอามาผูกโยงกับประเด็นผลประโยชน์พลังงานโดยลากเส้นพรมแดนของพวกตนลงไปครอบคลุมแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเพื่อแสดงว่า การ “สูญเสียดินแดน” บนบกจะนำไปสู่การ “สูญเสียพื้นที่ทางทะเล” ให้แก่กัมพูชาด้วย […]
กระทู้ดีๆอีกหนึ่งกระทู้จากพันทิป http://pantip.com/topic/30724936 ได้บอกเล่าในเรื่องทำไมคนไทยใช้น้ำมันแพง โดยมีการนำหลักฐานจากเว็บพลังงานต่างๆที่เชื่อถือได้มาอ้างอิง ซึ่งจากข้อมูลข่าวสารล่าสุดในเพจทวงคืนพลังงานไทย เมื่อวันที่ 15 กค. ที่ผ่านมานั้น เขาบอกว่าน้ำมันดิบโลก WTI เมื่อปี 2008 (2551) มันราคาตั้ง 140 US$ ทำไมราคาน้ำมันสำเร็จรูปบ้านเราตอนนั้นมันยังถูกกว่าตอนนี้ ทั้งๆที่ปัจจุบัน (วันที่อ้างอิงคือ 12 กค. 2556) ไอ้ราคาน้ำมันดิบ WTI มันมันแค่ 106.25 US$ เอง ในอินโฟกราฟิกจะเห็นว่าเขาเอาราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายในบ้านเราช่วงเดือน มค-กพ 2551 มาแสดง งั้นเราไปตรวจสอบราคาน้ำมันดิบ WTI ในช่วงนั้นกันดีกว่า (ตรงกับ JAN-FEB 2008) http://www.eia.gov/dnav/pet/hist/LeafHandler.ashx?n=PET&s=RWTC&f=D มัน 140 US$ ตรงไหน จะเห็นว่าราคาเฉลี่ยมันวิ่งอยู่ในช่วง 9X.XX US$ เท่านั้นเอง นี่มั่วข้อที่หนึ่ง แล้วที่ราคาน้ำมันดิบ WTI มันขึ้นไปถึง 140 US$ มันมีจริงไหม ตอบเลยว่ามีจริงในปี […]
เรื่องราวและที่มาอธิบายได้ตามภาพนี้ ตามรายละเอียดไม่ได้มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซีย อดีตประเทศสมาชิกกลุ่ม OPEC มีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าว ซึ่งเป็นการหักดิบต่อความนิยมทางการเมืองของตัวเองเป็นอย่างยิ่ง กลับมีแต่การปลุกระดมให้คนไทยลุกฮือ บอกคนไทยมันโง่บ้าง ไทยเฉยบ้าง ทำไมไม่เอาอย่างชาวอินโดนีเซียกันบ้าง ผมว่าชาวทวงคืนนี่ชักจะเพี้ยนไปกันใหญ่แล้วล่ะก่อนอื่นคงต้องเท้าความกันสักหน่อยว่า (คงต้องแตะเรื่องสีเสื้อสักเล็กน้อยครับ) ต้นกำเนิดของการทวงคืน ปตทนี่มันเริ่มมาจากกลุ่มพันธมิตรนำโดยคนที่คุณก็รู้ว่าใคร (นึกถึงคนๆ นี้แล้ววลีนี้ก็ก้องอยู่ในหูผมครับ “ท้ากสิน…ออกไป๊” ทั้งๆ ที่เขาคนนั้นก็ออกไปตั้งนานละ แต่การเมืองกลุ่มก้อนนี้ก็ยังไปไม่พ้น “ท้ากสิน…ส้ากที” โอเคครับกลับมาที่เรื่องของเราดีกว่า) และเรื่องการทวงคืนท้ากสิน เอ๊ย!!! ทวงคืน ปตท นี่ก็เงียบหายไปช่วงหนึ่งในสมัยรัฐบาลขิงแก่ต่อด้วยรัฐบาลประชาธิปัตย์มันกลับมาหนักข้อขึ้นมาอีกครั้งก็ตอนเมื่อน่าจะต้นปีที่แล้วนี่ล่ะเมื่อมีผู้เชียวชาญพลังงานท่านหนึ่งตกจากตึกแกรมมี่มาจุติเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน” ร่วมกับ “สอวอหญิงท่านหนึ่ง” ที่ก็มีความเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลปัจจุบันพอสมควร ขณะที่ทางกลุ่มเสื้อแดงเองซึ่งค่อนข้างมีความหลากหลายทางอุดมการณ์ก็มีคนเสื้อแดงบางคนหันมาเล่นเรื่อง “ทวงคืน ปตท” กับเขาบ้างโดยไปๆ มาๆ คนซื้อแดงกลุ่มนี้ก็รวมตัวกับกลุ่มสอวอ&หม่อม แล้วสร้างวาทะกรรมว่า “เรื่องพลังงานเป็นเรื่องของส่วนรวมไม่มีสีเสื้อเข้ามาเกี่ยวข้อง” ไปออกเวทีร่วมกันในพื้นที่เหลืองบ้าง แดงบ้าง ปะปนกันไป เพื่อให้ข้อมูลจริง (ที่เอาไปพูดไม่หมด) เพื่อหามวลชนและพวกพ้อง อีกทางหนึ่งคราวนี้เราไปไกลสักหน่อยที่มาบตาพุด มีวิศวกรท่านหนึ่งไม่พอใจเรื่อง ปตท ไม่ตอกเสาเข็ม (ไม่รู้แกเป็นอะไรกับเสาเข็มมากมั๊ยอาจจะมีปมด้อยเรื่องเสาเข็มอะไรสักอย่าง) ออกมาสร้างเพจ “กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่นมาบตาพุด” สร้างไปสร้างมาแกเริ่มสนุก เลยสร้าง “ทวงคืนพลังงานไทย“ ต่อด้วย “Thai Energy Get Back” และล่าสุด “แหล่งน้ำมันในเมืองไทย” ด้วยการทำ Infographic จับแพะชนแกะอันลือลั่นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงาน เอาล่ะครับ 3 ย่อหน้าที่กล่าวมารวมถึงลูกเพจที่เชื่อข้อมูลของกลุ่มดังกล่าวสุดริ่มทิ่มประตูนั้น ผมขอเรียกรวมๆ ว่า “ชาวทวงคืน ปตท” แล้วกัน อย่างที่ผมบอกครับว่าชาวทวงคืนไม่มีการนำเสนอเหตุและผลที่รัฐบาลอินโดนีเซียมีความจำเป็นในการต้องออกนโยบายดังกล่าวเลยผมขออนุญาตลองวิเคราะห์ดูว่าเหตุใดรัฐบาลอินโดฯจึงยอมหักดิบทุบหม้อข้าวฐานเสียงตัวเองอย่างนั้น จากข้อมูลที่หาได้ในอินเตอร์เน็ตนี่ล่ะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://pantip.com/topic/30625508 Share This:
จากหัวข้อที่ตั้ง คือมีข้อสงสัยในจุดยืนของคนที่อยากจะทวงคืน ปตท ว่า คุณจะทวงคืนมาจากใคร? ก็ในเมื่อตอนนี้กระทรวงการคลัง (รัฐบาล) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด? แล้วถ้าสมมติว่าทวงคืนได้สำเร็จเสร็จทุกกระบวนการ ปตทจะตกไปอยู่ที่ใคร? เป็นส่วนกลางให้ประชาชนบริหารกันเองเหรอ? ที่บอกว่าทวงคืน ปตท นี่คือทวงคืน ปตท จากรัฐหรือว่าทวงคืน ปตท จาก ปตท? ที่ถามว่า ทำไมถึงต้องทวงคืนจากรัฐล่ะ ก็ตารางรายชื่อผู้ถือหุ้นก็มีแสดงอยู่ให้เห็นอยู่โต้งๆ ว่ากระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 51% แล้วถ้าจะบอกว่า ปตทนั่นแหละเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำมันแพง เรามาดูตารางโครงสร้างราคาน้ำมัน จาก http://www.iwebgas.com/oil/oil.html กัน ว่าที่แพง แพงเพราะอะไรบ้าง จากรูปตารางโครงสร้างน้ำมัน เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 56 จะเห็นได้ว่ามีการบวกเพิ่มเยอะแยะมาก และในกรอบสีแดงนั้น คือที่รัฐบาลบวกเพิ่มทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นภาษีสรรพสามิต กองทุนน้ำมัน กองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาษีเทศบาล VAT ราคาหน้าโรงกลั่นจริงๆ แค่ 17-25 บาท (เชื้อเพลิงที่ผลิตได้) หลายคนสงสัยอีกแหละ อ้าว! แล้วไอ้ราคาหน้าโรงกลั่นเนี่ยมาจากไหน ในเมื่อน้ำมันก็ขุดขึ้นมาจากในอ่าวไทย หรือในหลายๆแหล่งของประเทศไทย […]